สุขวิช รังสิตพล
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
ผู้เขียนหลักของบทความนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเรื่องบทความ |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สุขวิช รังสิตพล (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2478) เป็นนักการเมืองและนักปฏิรูปการศึกษาชาวไทย[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคความหวังใหม่และพรรคไทยรักไทย
สุขวิช รังสิตพล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (0 ปี 47 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (0 ปี 349 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 134 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (0 ปี 263 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | สัมพันธ์ ทองสมัคร |
ถัดไป | ชิงชัย มงคลธรรม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2478 |
พรรค | ความหวังใหม่ ไทยรักไทย |
คู่สมรส | ผิวผ่อง รังสิตพล |
ประวัติ
สุขวิช รังสิตพล เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของนาย สมบูรณ์ และนาง จินตนา รังสิตผล
ครอบครัว
เขาสมรสกับนาง ผิวผ่อง ณรงค์เดช มีบุตรธิดาทั้งหมด 3 คน ได้แก่[2]
- พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล
- ศาสตราจารย์หญิง แพทย์หญิง นาวาตรีหญิง ฐิติพร สุวัฒนะพงศ์เชฏ
- ดร. ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
การศึกษา
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 9)
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 32)
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์[3]
การทำงาน
- พ.ศ. 2500 - 2535 บริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2536 - 2537 ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2537 ประธานกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
- ประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานคร
งานการเมือง
เขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีพ.ศ. 2530 และ 2535 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีพ.ศ. 2534 และเป็นสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคความหวังใหม่ในปีพ.ศ. 2539 และสังกัดพรรคไทยรักไทยในปีพ.ศ. 2545 หลังการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย[4]
เขาเป็นผู้ดำเนินการแผนปฏิรูปการศึกษาไทยในปีพ.ศ. 2538[5] และเคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้แก่ รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย และรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ[6] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลนาย บรรหาร ศิลปอาชา และรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นอกจากนี้เขายังเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2538 – 2539
เขามีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีอื้อฉาวเรื่องการจัดซื้อคอมพิวเตอร์เกินราคาสำหรับโรงเรียน[7] แต่ถูกตัดสินให้พ้นผิดในคดีหมิ่นประมาทในเวลาต่อมา[8] เขายังถูกวิจารณ์ว่ายังคงคำสั่งห้ามนักศึกษารักร่วมเพศและข้ามเพศ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ว่าคนรักร่วมเพศไม่ต่างจากคนติดยาเสพติดที่ต้องการรักษา และไม่ต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่เด็ก[9]
หลังจากรัฐประหารในปีพ.ศ. 2549 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[10]
ปัจจุบัน เขาได้ละเว้นจากการเมืองและได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
อ้างอิง
- ↑ คุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล วิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนที่เรียนของเด็กไทย 4.35 ล้านคน เมื่อปี 2538
- ↑ เปิดเซฟ อธิบดีณัฐพล ลูกชายสุขวิช รังสิตพล รวยอู้ฟู่กว่า 4.73 พันล้าน
- ↑ ศิษย์เก่าสิงห์แดง
- ↑ "การยุบพรรคซบไทยรักไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-06. สืบค้นเมื่อ 2005-03-06.
- ↑ อดีต ส.ส.ปชป. เตรียมลงอิสระชิงผู้ว่าฯ กทม. หวังให้บทเรียน ปชป. “สูญพันธุ์”
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ Tom Wingfield (2002). Edmund Terence Gomez (บ.ก.). Democratization and economic crisis in Thailand. Political Business in East Asia. Routledge. p. 269.
- ↑ "All Quiet on Western Front". Bangkok Post. 28 February 2002.
- ↑ Rosalind C. Morris (1997). Phillip Brian Harper (บ.ก.). Educating Desire: Thailand, Transnationalism, Transgression. Queer Transexions of Race, Nation, and Gender. Duke University Press. pp. 53–79, at p. 54.
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๓๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐