สีไวโอเลต (อังกฤษ: violet) เป็นสีของแสงอยู่ที่แถบสุดท้ายของสเปกตรัมที่มองเห็นได้ มีความยาวคลื่น 380–420 นาโนเมตร[1] สั้นกว่าสีคราม (indigo) ชื่อของสีมาจากดอกไวโอเลต[2][3] และใช้แทนชื่อสีเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1370[4]

ไวโอเลต
 
สเปกตรัม
ความยาวคลื่น380–435 nm
ความถี่790–690 THz
About these coordinates     รหัสสี
Hex triplet#8000FF
sRGBB  (rgb)(128, 0, 255)
CMYKH   (c, m, y, k)(50, 100, 0, 0)
HSV       (h, s, v)(270°, 100%, 100%)
Sourceระบบสี RGB และ CMYK
B: อยู่ในช่วง [0–255] (ไบต์)
H: อยู่ในช่วง [0–100] (ร้อย)

สีไวโอเลตเป็นสีที่อยู่นอกเหนือขอบเขต (gamut) ของปริภูมิสี RGB จึงไม่สามารถผสมในจอคอมพิวเตอร์ออกมาให้ตรงได้ แต่สามารถประมาณได้ว่าอยู่ระหว่างสีน้ำเงินกับสีมาเจนตา ตัวอย่างของวัตถุที่มีสีไวโอเลตเช่น หลอดไฟแบล็กไลต์

ในความหมายที่สอง สีไวโอเลตอาจหมายถึงสีที่เกิดจากการผสมของแสงสีแดงกับแสงสีน้ำเงิน ในกรณีนี้จะให้ผลเป็นสีที่ไม่อยู่ในสเปกตรัมคือสีม่วง ซึ่งสามารถแสดงผลในจอคอมพิวเตอร์ได้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Georgia State University Department of Physics and Astronomy. "Spectral Colors". HyperPhysics site. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
  2. "violet, n.1". OED Online. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  3. "Violet". Webster's Third New International Dictionary, Unabridged. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  4. Maerz and Paul. A Dictionary of Color. New York: 1930, McGraw-Hill. Page 207.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Violet