สีเงิน (มุทราศาสตร์)

(เปลี่ยนทางจาก สีเงิน (อิสริยาภรณ์))

สีเงิน (อังกฤษ: Argent) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีเงินหรือบางครั้งก็เรียกว่าสีขาว ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่า “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “เงิน” ก็จะเป็นบริเวณที่ทิ้งว่างไม่มีลวดลาย หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “ar.” ของคำว่า “Argent”

“Argent” สีเงินทางซ้าย หรือ ว่าง
“Argent” สีเงินทางซ้าย หรือ ว่าง
ตราของเมือง Santiago do Cacém ที่แสดงความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงิน
ตราของเมือง Santiago do Cacém ที่แสดงความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงิน

คำว่า “Argent” มาจากภาษาลาติน ว่า “argentum” ที่มาจากภาษากรีก “Αργυρος” ที่แปลว่า “เงิน” หรือ “โลหะสีขาว”

ในการสร้างตราอาร์มในสมัยโบราณบริเวณที่ระบุว่าเป็นสีเงินอาจจะทำด้วยแผ่นเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินที่ใช้ก็มีปฏิกิริยากับอากาศและเปลี่ยนเป็นสีที่คร่ำลง ฉะนั้นบางครั้งจึงเป็นการยากที่จะตีความหมายของตราในสมัยโบราณที่มีส่วนที่เป็นสีดำว่าเป็นสีดำ (sable) หรือเป็นสีเงิน

สีเงิน และ สีขาว แก้

อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1909 ให้ความเห็นอย่างยืดยาวในหัวข้อนี้ว่ามีกรณีที่สีขาวเป็นผิวตราที่ต่างจากสีเงินแต่ใช้กันน้อยครั้งมาก โดยมีข้อสนับสนุนจาก "white แถบคาดs" (Label) ที่ใช้ในตราอาร์มของพระราชวงศ์อังกฤษ แต่ก็มีผู้โต้ว่าข้อที่บรรยายอยู่ในข่าย "white labels proper" ฉะนั้นสีขาวจึงไม่ใช่ “ผิวตรา” ตามกฎมุทราศาสตร์[1] เก็บถาวร 2003-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สีขาวดูเหมือนจะเห็นกันว่าเป็นผิวตราที่ต่างจากสีเงินในเครื่องอิสริยาภรณ์โปรตุเกสเช่นในตราของเทศบาลเมือง Santiago do Cacém] ในโปรตุเกส ที่แสดงความแตกต่างของเสื้อผ้าสีขาวของมัวร์และสีของม้าของอัศวินที่เป็นสีขาวกับสีเงินของปราสาทที่อยู่เหนือโล่ และในสีของ Logistical and Administrative Command ของกองทหารอากาศของโปรตุเกส

ผิวตราสีเงินเป็นสัญลักษณ์ของ:

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้