สิว
สิว เป็นโรคผิวหนังระยะยาวที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายกับน้ำมันจากผิวหนังอุดรูขุมขน[10] อาการทั่วไปได้แก่สิวหัวดำและสิวหัวขาว ตุ่มหนอง ผิวมัน และอาจทำให้เกิดแผลเป็น[1][2][11] โดยหลักสิวมักเกิดขึ้นมากในผิวที่มีจำนวนต่อมไขมันมาก ซึ่งบริเวณเหล่านี้รวมถึงใบหน้า ส่วนบนของหน้าอก และหลัง[12] นอกเหนือจากการทำให้เกิดแผลเป็น ผลกระทบหลักคือทางด้านจิตใจ เช่น ก่อให้เกิดความกังวล ลดความเชื่อมั่นในตนเองลง และในกรณีที่รุนแรงมาก จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือการฆ่าตัวตาย[3][4]
สิว | |
---|---|
ชื่ออื่น | Acne vulgaris |
สิวของชายอายุ 14 ปีในวัยเจริญพันธุ์ | |
สาขาวิชา | ตจวิทยา |
อาการ | สิวอุดตัน, ตุ่มหนอง, ผิวมัน, แผลเป็น[1][2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ความวิตกกังวล, ความภูมิใจแห่งตนลดลง, ซึมเศร้า, คิดฆ่าตัวตาย[3][4] |
การตั้งต้น | วัยเริ่มเจริญพันธุ์[5] |
ปัจจัยเสี่ยง | พันธุศาสตร์[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Folliculitis, rosacea, hidradenitis suppurativa, miliaria[6] |
การรักษา | เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต, ใช้ยา, ทางการแพทย์[7][8] |
ยา | กรดอะซีลาอิก, เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์, กรดซาลิไซลิก, ยาปฏิชีวนะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด, co-cyprindiol, retinoids, ไอโซเทรติโนอิน[8] |
ความชุก | 633 ล้านคน (2015)[9] |
ความไวต่อการเกิดสิวเกิดจากกรรมพันธุ์เป็นหลักมีถึง 80% ของกรณีทั้งหมด[2] ปัจจัยต่อการไดเอทและการสูบบุหรี่ยังไม่เป็นที่กระจ่าง และทั้งความสะอาดหรือการกระทบแสงแดดก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้[2][13][14] ฮอร์โมนชื่อว่าแอนโดรเจนน่าจะมีส่วนในกลไกการเกิดสิวของทั้งสองเพศ โดยมันจะเพิ่มการผลิตซีบัม[5] ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือการเติบโตของแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ซึ่งปรากฏในผิงหนังมากเกินไป[15]
การรักษามีอยู่หลายหลายหนทาง เช่นการเปลี่ยนวิถีชีวิต, การให้ยา และขั้นตอนทางการแพทย์ การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างน้ำตาลน้อยลงอาจช่วยได้[7] ยาสำหรับรักษาสิว ได้แก่ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ ยาปฏิชีวนะ (ทั้งยาทาหรือยาเม็ด), เรตินอยด์, ยาต้านแอนติเซบอริค, ยาต้านแอนโดรเจน, การปรับฮอร์โมน, กรดซาลิไซลิค, กรดอัลฟาไฮดรอกซี, กรดอะซีลาอิค, นิโคตินอะไมด์ และสบู่ที่มีส่วนผสมของคีราโตไลติค[16] การรักษาในลำดับแรกและเชิงรุก คือ สนับสนุนให้ลดผลกระทบระยะยาวจากการรักษาให้กับคนไข้[17]
ใน ค.ศ. 2015 มีผู้ได้รับผลประทบจากสิวทั่วโลกประมาณ 633 ล้านคน ทำให้เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปมากเป็นอันดับ 8 ของโลก[9][18] สิวเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น มีผลกระทบประมาณ 80-90% ของวัยรุ่นในโลกตะวันตก[19][20][21] สังคมชนบทบางแห่งรายงานอัตราพบสิวน้อยกว่าพื้นที่อุตสาหกรรม[21][22] เด็กและผู้ใหญ่อาจได้รับสิวทั้งก่อนและหลังวัยเริ่มเจริญพันธุ์[23] ถึงกระนั้นแล้วก็ยังมีบางคนที่อายุมากกว่านั้น ยังเป็นสิวอยู่[2]
สาเหตุ
แก้สาเหตุของสิว มีหลายสาเหตุ เป็นที่ถกเถียงกันว่า สิวเกิดจากอะไร สาเหตุหลัก ๆ แบ่งได้ 2 ปัจจัยดังนี้
- ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยที่เกิดจากร่างกายเราเอง เช่น ฮอร์โมน, กรรมพันธุ์, โรคเรื้อรัง และ ผิวพรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตั้งแต่กำเนิด
- ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากนอกร่างกายของเรา เช่น ยา, เครื่องสำอาง, สภาพแวดล้อม, สังคม, แสงแดดและอุณหภูมิ ความสะอาด และอาหาร ซึ่งเราสามารถป้องกันได้
ชนิดของสิว
แก้สิวมี 2 ชนิดหลักได้แก่
- สิวที่ไม่มีการอักเสบ คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน เช่น สิวหัวปิด (สิวหัวขาว) และ สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ)
- สิวที่มีการอักเสบ คือ สิวที่มีการอุดตันของรูขุมขน และมีการอักเสบร่วมด้วย ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นตามหลังสิวหัวปิดที่ไม่ได้รับการรักษา ร่วมกับมีการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณรูขุมขน เช่น สิวที่เป็นตุ่มแดง (สิวอักเสบ) สิวที่มีหนอง (สิวตุ่มหนอง) สิวอักเสบขนาดใหญ่ (สิวหัวช้าง) และสิวที่มีการทำลายของผิวข้างในจนเป็นโพรงคล้ายซีสต์
กระบวนการเกิดสิว
แก้สิวมักเกิดบริเวณ Seborrhic area ซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นมี Pilosebaceous unit ชนิด Sebaceous follicle,เป็น follicleที่ประกอบไปด้วย small villus hair และ large multiacina sebaceous gland เมื่อมีการกระตุ้นSebaceous glandมากเกินพอดีจะสร้างไขมัน (Sebum) มามากขึ้น ไขมันนี้ประกอบด้วย triglyceride, ester, ไข และสารอื่น ๆ หากไขมันถูกผลิตมากจะระบายออกทางรูขุมขนไม่ทัน และค้างใน follicle, ไขมันจะกระตุ้นให้ Keratinocyte สร้างเคราทินมามากขึ้น และจับตัวกันแน่นผิดปรกติเกิดเป็นสิวอุดตัน (Comidone)
ต่อมาการอุดตันนั้นทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนในรูขุมขน แบคทีเรีย P.acne จะเจริญเติบโตได้ดีและย่อยสลายไขมันเป็นสารที่มีความสามารถrecruitเม็ดเลือด ขาวมาที่บริเวณนั้นและก่อให้เกิดการอักเสบตามมา จึงเกิดเป็นสิวอักเสบ พออายุ 40 ขึ้นไป สิวจะไม่ขึ้นอีกต่อไป
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Vary JC (November 2015). "Selected Disorders of Skin Appendages--Acne, Alopecia, Hyperhidrosis". The Medical Clinics of North America (Review). 99 (6): 1195–211. doi:10.1016/j.mcna.2015.07.003. PMID 26476248.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bhate K, Williams HC (March 2013). "Epidemiology of acne vulgaris". The British Journal of Dermatology (Review). 168 (3): 474–85. doi:10.1111/bjd.12149. PMID 23210645. S2CID 24002879.
- ↑ 3.0 3.1 Barnes LE, Levender MM, Fleischer AB, Feldman SR (April 2012). "Quality of life measures for acne patients". Dermatologic Clinics (Review). 30 (2): 293–300, ix. doi:10.1016/j.det.2011.11.001. PMID 22284143.
- ↑ 4.0 4.1 Goodman, Greg (July 2006). "Acne and acne scarring - the case for active and early intervention". Australian Family Physician. 35 (7): 503–504. PMID 16820822.
- ↑ 5.0 5.1 James WD (April 2005). "Clinical practice. Acne". The New England Journal of Medicine (Review). 352 (14): 1463–72. doi:10.1056/NEJMcp033487. PMID 15814882.
- ↑ Kahan S (2008). In a Page: Medicine (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 412. ISBN 9780781770354. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 7.0 7.1 Mahmood SN, Bowe WP (April 2014). "[Diet and acne update: carbohydrates emerge as the main culprit]". Journal of Drugs in Dermatology (Review). 13 (4): 428–35. PMID 24719062.
- ↑ 8.0 8.1 Titus, Stephen; Hodge, Joshua (15 October 2012). "Diagnosis and Treatment of Acne". American Family Physician. 86 (8): 734–740. PMID 23062156.
- ↑ 9.0 9.1 GBD 2015 Disease Injury Incidence Prevalence Collaborators (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
{{cite journal}}
:|author1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Aslam I, Fleischer A, Feldman S (March 2015). "Emerging drugs for the treatment of acne". Expert Opinion on Emerging Drugs (Review). 20 (1): 91–101. doi:10.1517/14728214.2015.990373. ISSN 1472-8214. PMID 25474485. S2CID 12685388.(ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Tuchayi SM, Makrantonaki E, Ganceviciene R, Dessinioti C, Feldman SR, Zouboulis CC (September 2015). "Acne vulgaris". Nature Reviews. Disease Primers. 1: 15033. doi:10.1038/nrdp.2015.33. PMID 27227877. S2CID 44167421.
- ↑ "Frequently Asked Questions: Acne" (PDF). U.S. Department of Health and Human Services, Office of Public Health and Science, Office on Women's Health. July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2009.
- ↑ Knutsen-Larson S, Dawson AL, Dunnick CA, Dellavalle RP (January 2012). "Acne vulgaris: pathogenesis, treatment, and needs assessment". Dermatologic Clinics (Review). 30 (1): 99–106, viii–ix. doi:10.1016/j.det.2011.09.001. PMID 22117871.
- ↑ Schnopp C, Mempel M (August 2011). "Acne vulgaris in children and adolescents". Minerva Pediatrica (Review). 63 (4): 293–304. PMID 21909065.
- ↑ Zaenglein AL (October 2018). "Acne Vulgaris". The New England Journal of Medicine (Review). 379 (14): 1343–1352. doi:10.1056/NEJMcp1702493. PMID 30281982. S2CID 52914179.
- ↑ Ramos-e-Silva M, Carneiro SC (March 2009). "Acne vulgaris: review and guidelines". Dermatology Nursing (Review). 21 (2): 63–8, quiz 69. PMID 19507372.
- ↑ Goodman, Greg (2006). "Acne and acne scarring - the case for active and early intervention". Australian family physician. 35 (7): 503–4. PMID 16820822.
- ↑ Hay RJ, Johns NE, Williams HC, Bolliger IW, Dellavalle RP, Margolis DJ, และคณะ (June 2014). "The global burden of skin disease in 2010: an analysis of the prevalence and impact of skin conditions". The Journal of Investigative Dermatology. 134 (6): 1527–1534. doi:10.1038/jid.2013.446. PMID 24166134.
- ↑ Taylor M, Gonzalez M, Porter R (May–June 2011). "Pathways to inflammation: acne pathophysiology". European Journal of Dermatology (Review). 21 (3): 323–33. doi:10.1684/ejd.2011.1357. PMID 21609898.
- ↑ Dawson AL, Dellavalle RP (May 2013). "Acne vulgaris". BMJ (Review). 346 (5): 30–33. doi:10.1136/bmj.f2634. JSTOR 23494950. PMID 23657180. S2CID 5331094.
- ↑ 21.0 21.1 Goldberg DJ, Berlin AL (October 2011). Acne and Rosacea: Epidemiology, Diagnosis and Treatment. London: Manson Pub. p. 8. ISBN 978-1-84076-150-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2016.
- ↑ Spencer EH, Ferdowsian HR, Barnard ND (April 2009). "Diet and acne: a review of the evidence". International Journal of Dermatology (Review). 48 (4): 339–47. doi:10.1111/j.1365-4632.2009.04002.x. PMID 19335417. S2CID 16534829.
- ↑ Admani S, Barrio VR (November 2013). "Evaluation and treatment of acne from infancy to preadolescence". Dermatologic Therapy (Review). 26 (6): 462–6. doi:10.1111/dth.12108. PMID 24552409. S2CID 30549586.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Acne Support. Expert, impartial advice on acne by the BAD.
- "Acne". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |