สิบสองจุไทย, สิบสองจุไท หรือ สิบสองเจ้าไท (เวียดนาม: Mười hai xứ Thái; ลาว: ສິບສອງຈຸໄຕ หรือ ສິບສອງເຈົ້າໄຕ; จีน: 泰族十二州; ไทดำ: ꪵꪠ꪿ꪙꪒꪲꪙꪼꪕ "สหพันธรัฐไท"[1]) เป็นสมาพันธรัฐของชาวไทดำ, ไทขาว และไทแดงในเขตภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามในปัจจุบันที่สืบต้นกำเนิดไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[2]

สหพันธรัฐไท

สิบสองจุไทย
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17–ค.ศ. 1954
ธงชาติสหพันธรัฐไท
ธงชาติ
ตรา

(1889–1945)
สหพันธรัฐไทตอนปลายใน ค.ศ. 1950
สหพันธรัฐไทตอนปลายใน ค.ศ. 1950
สถานะรัฐในอารักขาฝรั่งเศส ส่วนหนึ่งของตังเกี๋ย, อินโดจีนของฝรั่งเศส (1889–1948)
สหพันธรัฐปกครองตนเองในสหภาพฝรั่งเศส (1948–50)
ที่ดินหลวงของจักรพรรดิเวียดนาม (1950–54)
เมืองหลวงไม่มี (ก่อน ค.ศ. 1948)
Lai Châu (1948–54)
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส, เวียดนาม, กลุ่มภาษาไท
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่
• ก่อตั้ง
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1954
สกุลเงินFrench Indochinese piastre
ก่อนหน้า
ถัดไป
Ngưu Hống
เวียดนามเหนือ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, ประเทศเวียดนาม

บริเวณนี้กลายเป็นเขตปกครองตนเองในรัฐในอารักขาตังเกี๋ยของฝรั่งเศส และจากนั้นใน ค.ศ. 1889 ก็เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1948 ช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง บริเวณนี้เปลี่ยนรูปเป็นสหพันธรัฐไท (ฝรั่งเศส: Fédération Thaï) ที่ยอมรับเป็นเขตปกครองตนเองของสหภาพฝรั่งเศส[3] ใน ค.ศ. 1950 บริเวณนี้กลายเป็นที่ดินหลวงของจักรวรรดิบ๋าว ดั่ยแห่งเวียดนาม โดยไม่รวมเข้ากับรัฐเวียดนาม[4][5] บริเวณนี้ถูกยุบหลังมีการลงนามในการประชุมเจนีวาเมื่อ ค.ศ. 1954

ชื่อ แก้

คำว่า สิบสอง เป็นคำในกลุ่มภาษาไทสำหรับเลขสิบสอง เช่นเลขสิบสองของไทย (12, ๑๒, สิบสอง) ตัวเลขสิบสองยังพบในสถานที่อย่างสิบสองปันนา (เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา) ในประเทศจีน ส่วน เจ้า หมายถึงดินแดน (คล้ายกับอักษรจีน-เวียดนามว่า และไม่ควรสับสนกับคำที่มีเสียงคล้ายกันในภาษาไทย (เจ้า)) และไต๋ (ไท, จีน )[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. p. 324 of Baccam, D., Baccam F., Baccam H., & Fippinger, D. (1989). Tai Dam-English, English-Tai Dam Vocabulary Book. Summer Institute of Linguistics.
  2. Jean Michaud (2000). "A Historical Panorama of the Montagnards in Northern Vietnam under French Rule". ใน Michaud, Jean (บ.ก.). Turbulent Times and Enduring Peoples: Mountain Minorities in the South-East Asian Massif. Curzon Press. pp. 53–54. ISBN 0-7007-1180-5. In the north-western highlands ... the loose federation of Sip Song Chau Tai, the Twelve Tai Cantons, had been formalized around it [Muang Lay (Lai Châu)] since at least the 17th century.
  3. Jean Michaud (2000). "A Historical Panorama of the Montagnards in Northern Vietnam under French Rule". ใน Michaud, Jean (บ.ก.). Turbulent Times and Enduring Peoples: Mountain Minorities in the South-East Asian Massif. Curzon Press. p. 67. ISBN 0-7007-1180-5. An accord was finally promulgated in July 1948, creating an independent Tai Federation in the Union française, a Federation grouping together the provinces of Lai Chau, Phong Tho and Son La.
  4. Virginia Thompson; Richard Adloff (1955). Minority Problems in Southeast Asia. Stanford University Press. p. 216.
  5. Andrew Hardy (2003). State Visions, Migrant Decisions: Population Movements since the End of the Vietnam War. Postwar Vietnam: Dynamics of a Transforming Society. Rowman & Littlefield. p. 134.
  6. 臨溪路 Issue 70, editor 鹿憶鹿 2006 Page 84 "西雙版納(傣文意為十二州國)未成為台灣報導的旅遊名勝前,在我們心目中仍相當陌生,出發前的心情是恐懼多於好奇。"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tai Autonomous Territory