สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี

สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี (อังกฤษ: Right to a healthy environment) หรือสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนเป็นสิทธิมนุษยชนที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนเพื่อปกป้องระบบนิเวศที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์[1][2][3] สิทธินี้เชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่นสิทธิมนุษยชนในน้ำและการสุขาภิบาล (human right to water and sanitation), สิทธิในอาหาร (right to food) และสิทธิในสุขภาพ[4] สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นแนวทางการปกป้องคุณภาพของสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่างจากทฤษฎีทางกฎหมายที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับสิทธิของธรรมชาติ (rights of nature) ซึ่งพยายามขยายแนวคิดเรื่องสิทธิจากสิทธิของมนุษย์หรือนิติบุคคลไปสู่สิทธิของธรรมชาติ[5]

สิทธินี้บังคับหรือผูกมัดให้รัฐควบคุมและบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะคุ้มครองและให้ความยุติธรรมต่อชุมชนที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม[6] สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นสิทธิที่สำคัญในการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายสำหรับการฟ้องร้องคดีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change litigation) และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมประเด็นอื่น[7][8]

สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นส่วนสำคัญในแนวทางของประชาคมนานาชาติต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (human rights and climate change) มีความตกลงระหว่างประเทศที่สนับสนุนสิทธินี้ซึ่งรวมไปถึงปฏิญญาการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment), ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) และไม่นานมานี้คือข้อตกลงโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม (Global Pact for the Environment)[1] กว่า 150 รัฐในสหประชาชาติยอมรับสิทธินี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยทางนิติบัญญัติ, การฟ้องร้องคดี, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายสนธิสัญญาหรืออำนาจทางกฎหมายอื่น ๆ[4] กฎบัตรแอฟริกันว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และประชาชน (African Charter on Human and Peoples' Rights), อนุสัญญาอเมริกันว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (American Convention on Human Rights) และความตกลงเอสกาซู (Escazu Agreement) ล้วนรวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย[9][10] ขอบข่ายด้านสิทธิมนุษยชนอื่นเช่นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กกล่าวถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องเพราะมีความเกี่ยวข้องกับจุดสนใจของขอบข่ายซึ่งในที่นี้คือสิทธิเด็ก (Children's rights)[9]

ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ (United Nations special rapporteur) ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม จอห์น เอช. น็อกซ์ (John H. Knox) (ค.ศ. 2012–2018) และ เดวิด อาร์. บอยด์ (David R. Boyd) (ค.ศ. 2018–) ได้แนะนำวิธีการทำให้สิทธิเหล่านี้เป็นทางการอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศ[11] โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการระดับสหประชาชาติต่าง ๆ รวมไปถึงสมาคมกฎหมายระดับท้องถิ่นด้วยเช่นเนติบัณฑิตยสภาเมืองนิวยอร์ก (New York City Bar Association) ในปี ค.ศ. 2020[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Case for a Right to a Healthy Environment". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  2. "The Time is Now for the UN to Formally Recognize the Right to a Healthy and Sustainable Environment". Center for International Environmental Law (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  3. Knox, John H. (2020-10-13). "Constructing the Human Right to a Healthy Environment". Annual Review of Law and Social Science (ภาษาอังกฤษ). 16 (1): 79–95. doi:10.1146/annurev-lawsocsci-031720-074856. ISSN 1550-3585. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  4. 4.0 4.1 "OHCHR | Good practices on the right to a healthy environment". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  5. Halpern, Gator. "Rights to Nature vs Rights of Nature" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  6. Boyle, Alan (2012-08-01). "Human Rights and the Environment: Where Next?". European Journal of International Law (ภาษาอังกฤษ). 23 (3): 613–642. doi:10.1093/ejil/chs054. ISSN 0938-5428.
  7. Atapattu, Sumudu (2018), Knox, John H.; Pejan, Ramin (บ.ก.), "The Right to a Healthy Environment and Climate Change: Mismatch or Harmony?", The Human Right to a Healthy Environment, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 252–268, ISBN 978-1-108-42119-5, สืบค้นเมื่อ 2021-02-10
  8. Varvastian, Sam (2019-04-10). "The Human Right to a Clean and Healthy Environment in Climate Change Litigation" (ภาษาอังกฤษ). Rochester, NY. SSRN 3369481. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. 9.0 9.1 Shelton, Dinah (2002). Human Rights, Health & Environmental Protection: Linkages in Law & Practice. Health and Human Rights Working Paper Series No 1. World Health Organization.
  10. "Regional Agreement on Access to Information, Public Participation and Justice in Environmental Matters in Latin America and the Caribbean" (PDF). CEPAL. 4 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
  11. "OHCHR | Right to a healthy and sustainable environment". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  12. "Human Right to a Healthy Environment: UN Formal Recognition". nycbar.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.