ฉบับร่าง:สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ ศรีคำ002 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 46 วันก่อน (ล้างแคช) |
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (อังกฤษ: Energy Policy and Planning Office) หรือ สนพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจในการศึกษาวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนนั้น ๆ ทั้งยังต้องติดตามความเคลื่อนไหว แนวโน้มและประเมินผลกระทบของสถานการณ์พลังงานเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อไป[1]
Energy Policy and Planning Office | |
![]() ตราโลกุตระ ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2529 |
สำนักงานก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
บุคลากร | 137 คน (พ.ศ. 2565)[2] |
งบประมาณต่อปี | 181,031,900 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | กระทรวงพลังงาน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
ประวัติ
แก้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยนโยบายการบริหารพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2529 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ในชื่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4]
ต่อมามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2532 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ให้ยกฐานะสำนักงาน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดสำนักเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536 ทำให้สำนักงานยกฐานะเป็น หน่วยงานระดับกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูประบบราชการ และได้จัดตั้งกระทรวงพลังงาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อกำกับดูแลบริหารกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพลังงานของชาติ จึงได้โอนย้าย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาสังกัดกระทรวงพลังงาน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จนถึงปัจจุบัน[5]
คณะกรรมการ
แก้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีคณะกรรมการซึ่งเป็นกลไกในการบริหารงานด้านพลังงานของประเทศ อยู่ 3 คณะ คือ[6]
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
แก้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[7]
คณะกรรมการนโยบายนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[8]
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
แก้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนา และมาตรการทางด้านพลังงาน เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านพลังงานของหน่วยงาน รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย จัดตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545[9]
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[10]
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่งปัจจุบัน | ตำแหน่งในคณะกรรมการ | |
---|---|---|---|---|
ตำแหน่งหลัก | ||||
1 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | ประธานกรรมการ | |
2 | ชยธรรม์ พรหมศร | ปลัดกระทรวงคมนาคม | กรรมการ | |
3 | จตุพร บุรุษพัฒน์ | ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
4 | ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ | ปลัดกระทรวงพลังงาน | ||
5 | วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ | ปลัดกระทรวงพาณิชย์ | ||
6 | ณัฐพล รังสิตพล | ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | ||
7 | ปกรณ์ นิลประพันธ์ | เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | ||
8 | ดนุชา พิชยนันท์ | เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | ||
9 | พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ | เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | ||
10 | พรชัย ฐีระเวช | ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง | ||
11 | วัฒนพงษ์ คุโรวาท | ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการและเลขานุการ | |
12 | ไม่ทราบ | ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
แก้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หรือ กทอ. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ พิจารณาจัดสรรเงินทุนของกองทุนเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2535[11]
คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้[12]
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่งปัจจุบัน | ตำแหน่งในคณะกรรมการ | |
---|---|---|---|---|
ตำแหน่งหลัก | ||||
1 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | ประธานกรรมการ | |
2 | ลวรณ แสงสนิท | ปลัดกระทรวงการคลัง | กรรมการโดยตำแหน่ง | |
3 | ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ | ปลัดกระทรวงพลังงาน | ||
5 | ดนุชา พิชยนันท์ | เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | ||
6 | วันชัย พนมชัย | เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | ||
7 | แพตริเซีย มงคลวานิช | อธิบดีกรมบัญชีกลาง | ||
8 | นันทิกา ทังสุพานิช | อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ||
9 | พงษ์นรา เย็นยิ่ง | อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง | ||
10 | พรยศ กลั่นกรอง | อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม | ||
11 | เกรียงไกร เธียรนุกุล | ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | ||
12 | ธเนศ วีระศรี | นายกสภาวิศวกร | ||
13 | ประภากร วทานยกุล | นายกสภาสถาปนิก | ||
14 | สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน | รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | |
15 | บุญส่ง เกิดกลาง | |||
16 | ณอคุณ สิทธิพงศ์ | |||
17 | ฉวีวรรณ สินธวณรงค์ | |||
18 | อธึก อัศวานันท์ | |||
19 | สุเวทย์ ธีรวชิรกุล | |||
20 | บุนยรัชต์ กิติยานันท์ | |||
21 | วัฒนพงษ์ คุโรวาท | ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | กรรมการและเลขานุการ |
อำนาจหน้าที่
แก้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะการกำหนดนโยบาย และแผนเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ รวมทั้งมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้ อย่างมั่นคง ยั่งยืน เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านพลังงาน วิเคราะห์แนวโน้ม และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผน การบริหารและการพัฒนาพลังงานของประเทศ และเผยแพร่สถิติที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน[13]
หน่วยงานภายใน
แก้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน แบ่งหน่วยงานออกเป็น 8 หน่วยงาน คือ[14]
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองนโยบายปิโตรเลียม
- กองนโยบายไฟฟ้า
- กองนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
- กองยุทธศาสตร์และแปนงาน
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๘๙), เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๕, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ กระทรวงพลังงาน, รายงานประจำปี 2565 กระทรวงพลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, ความเป็นมาเกี่ยวกับ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, ประวัติความเป็นมา, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, รายงานประจำปี 2566 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙ ก หน้า ๑, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช)., สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ โพสต์ทูเดย์, อำนาจกบง., สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2545
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, เกี่ยวกับกองทุน, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ สำนักนโยบายและแผนพลังงาน, โครงสร้างองค์กร, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567