สาราลา ตามาง

(เปลี่ยนทางจาก สาราลา ตามัง)

สาราลา ตามาง หรือ สาราลา โครขาลี อดีตพระสนมในสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ[1] พระมหากษัตริย์แห่งเนปาล ซึ่งครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1911–1950 (ครั้งแรก) และ ค.ศ. 1951–1955 (ครั้งที่สอง) โดยสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะเป็นพระปัยกาในสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งเนปาล และนางสาราลาเองก็ถือเป็นนางสนมคนสุดท้ายของสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะที่ยังมีชีวิตอยู่

สาราลา ตามาง
Sarala Tamang
เกิดสาราลา ตามาง
ราวปี พ.ศ. 2457?
ประเทศเนปาล
เสียชีวิตไม่มีข้อมูล
สัญชาติเนปาล
มีชื่อเสียงจากพระสนมในสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะที่ยังมีชีวิตอยู่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเนปาล
คู่สมรสสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ

ประวัติ แก้

นางสาราลา ตามาง เกิดในครอบครัวเชื้อสายชนเผ่าตามาง โดยเธอเข้ารับราชการเป็นพระสนมแก่พระมหากษัตริย์ตั้งแต่เธอยังเป็นสาวสะพรั่ง และเป็นที่ยอมรับกันว่าสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ มีพระสนมกว่า 100 คน ในช่วงปี ค.ศ. 1940[2] ต่อมาเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ เสด็จสวรรคต ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1955 นางสาราลาก็ยังพำนักอยู่ในเรือนเล็กสีขาวภายในพระราชวังนารายันหิติตลอดมา ซึ่งแท้จริงแล้วเธอสามารถอยู่ภายในพระราชวังได้ตามกฎหมาย เนื่องจากเธอเป็นพระสนมคนโปรดของอดีตกษัตริย์[2] นอกจากนี้เธออ้างว่าเธอมีชัยชนะด้านความรักเหนือพระมเหสีสองพระองค์ในรัชกาล คือ พระนางกันติ และพระนางไอศวารี[3]

ชีวิตหลังการสวรรคตของสวามี แก้

หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ เธอยังคงพำนักอยู่ในเรือนเล็กของพระราชวังตามเดิม แต่วิถีชีวิตในพระราชวังของเธอก็ไม่ได้มีความสุขเลย เนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์เนปาลไม่ยอมรับในตัวเธอ มีการมอบเสื้อผ้าพื้นๆให้เธอนุ่งห่ม และอาหารจำนวนเล็กน้อยให้เธอรับประทาน[2] โดยท้ายที่สุดเธอจึงออกมาจากพระราชวังและพำนักที่วัดซึ่งตั้งอยู่ภายในพระราชวังหนุมานโธกาที่อยู่ห่างไปไม่กี่กิโลเมตร

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเนปาล แก้

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเนปาล ได้มีการถอดถอนสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนวีรพิกรมศาหเทวะ ลงจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ยกเลิกระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยเป็นสาธารณรัฐ[4] พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ถูกลดพระอิสริยยศเป็นสามัญชน และให้เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์เนปาลให้ออกจากพระราชวังนารายันหิติ ซึ่งจะมีการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ[5] ทั้งนี้สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีโกมล ได้เสด็จออกจากพระราชวังนารายันหิติก่อนหน้าเส้นตาย 1 วัน และได้พำนักอยู่ในพระราชวังฤดูร้อนนาคารชุนะ (Nagarjuna) ซึ่งอยู่ชานเมือง ส่วนมกุฎราชกุมารแห่งเนปาลได้อาศัยอยู่ในพระตำหนักส่วนพระองค์กลางกรุงของสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรา แต่รัฐบาลเนปาลก็อนุญาตให้สมเด็จพระราชินีรัตนาในสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พำนักภายในพระราชวังนารายันหิติได้ โดยให้พำนักในพระตำหนักมเหนทรมันซิล ที่มีพื้นที่เพียง 30 เฮกตาร์[2] ส่วนนางสาราลาก็ได้ถูกเรียกตัวให้กลับไปพำนัก ณ เรือนหลังเล็กสีขาว ภายในพระราชวังนารายันหิติได้ เนื่องจากเหล่ารัฐมนตรีให้เหตุผลว่า "เธอไม่มีครอบครัวและไม่มีทรัพย์สมบัติ"[2] และเห็นว่าทั้งสองคนชราภาพมากแล้ว[3][6][7] นอกจากนี้เธอยังได้รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาลเดือนละ 50,000 รูปีเนปาล เพื่อใช้จ่ายด้านเสื้อผ้า, อาหาร และยา[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Koninklijke concubine blijft in paleis Kathmandu". DePers.nl. woensdag 11 juni 2008 17:12. สืบค้นเมื่อ 2010-09-6. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Secret royal concubine, 94, to remain at palace". Hannah Gardner, Foreign Correspondent. June 13. 2008 4:31AM UAE / June 13. 2008 12:31AM GMT. สืบค้นเมื่อ 2010-09-5. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "Nepal king's 90-yr-old concubine in royal distress". DePers.nl. 13 สิงหาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
  4. "Vote to abolish Nepal's monarchy". BBC News. 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  5. "Koninklijk paleis van Nepal wordt museum". DePers.nl. maandag 16 juni 2008 13:32. สืบค้นเมื่อ 2010-09-6. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. อดีตประมุขเนปาล ทิ้งวัง-เคลียร์ข่าวลืออดีต[ลิงก์เสีย]
  7. Former queen mother allowed to stay in palace Barun Roy on June 10, 2008