ชนิดใกล้สูญพันธุ์

สายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี พ.ศ. 2541 ที่มีสัตว์และพืชในกลุ่มนี้เพียง 1102 และ 1197 ชนิดตามลำดับ [1]

หลายชาติมีกฎหมายสำหรับปกป้องสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยการเข้าแทรกแซงของมนุษย์เพื่อการอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น การห้ามการล่า การจำกัดการพัฒนาพื้นที่ หรือการจัดสร้างป่าสงวน

สถานะการอนุรักษ์ แก้

สถานะการอนุรักษ์ของสปีชีส์หนึ่งๆ คือตัวชี้วัดที่แสดงถึงความเป็นไปได้ที่สปีชีส์นั้นๆ จะสูญพันธุ์ ตัวแปรจำนวนมากอย่างจำนวนประชากรที่เหลือ อัตราการเพิ่มหรือลดของประชากรในอนาคต โอกาสความสำเร็จในการผสมพันธุ์ ภัยคุกคาม และอื่นๆ[2] ถูกนำไปใช้เพื่อประเมินถึงสถานะของสปีชีส์นั้นๆ บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติคือบัญชีที่รวมรวมและประเมินสถานะการอนุรักษ์ของสปีชีส์ทั่วโลกที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด[3]

มีการประเมินว่ามากกว่าร้อยละ 40 ของสปีชีส์ที่ยังมีอยู่ในโลกมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคต[4] 199 ประเทศทั่วโลกได้ลงนามในข้อตกลงที่จะสร้างแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อปกป้องสปีชีส์ที่ถูกคุกคามและมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ แก้

 
เสือโคร่งไซบีเรียเป็นหนึ่งในสปีชีส์ย่อยของวงศ์เสือ ในปัจจุบันมี 3 สปีชีส์ย่อยของวงศ์เสือที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติหมายถึงหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามและอาจหมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติด้วย โดยวลี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์' อยู่ระหว่าง สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ กับสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์

สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจำแนกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ดังตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ แก้

ก่อนการเกิดภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากมนุษย์ สปีชีส์ต่างๆจะได้รับปัจจัยคุกคามจากภายในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นการล่าที่มากเกินไป หรือการที่ที่อยู่อาศัยถูกทำลาย แต่หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลให้ภาวะโลกร้อนเกิดเร็วขึ้น เริ่มเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของสปีชีส์ต่างๆ ไนเจล สตอร์คได้อธิบายไว้ว่าสาเหตุหลักของการที่สิ่งมีชีวิตต่างๆ สูญพันธุ์นั้นคือการเปลี่นแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ไม่ใช่การตัดไม้ทำลายป่า สตอร์คอ้างว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ สืบพันธุ์ได้ยากขึ้น[5]

การอนุรักษ์ แก้

การบังคับผสมพันธุ์ แก้

การบังคับผสมพันธุ์คือกระบวนการผสมพันธุ์สปีชีส์ที่หายากหรือถูกคุกคามในสภาวะที่มนุษย์ควบคุมได้ จุดประสงค์หลักของการบังคับนี้คือเพื่อป้องกันสปีชีส์นั้นสูญพันธุ์ โดยทำเพื่อให้จำนวนประชากรมีเสถียรภาพและไม่มีความเสี่ยงในการหายไป [6]

เทคนิคดังกล่าวถูกใช้และประสบสำเร็จมานานพอสมควรในสปีชีส์มากมาย ทว่าในบางสปีชีส์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เคลื่อนที่ไปมาง่ายอย่างนกและปลา มักประสบปัญหาในการบังคับผสม นอกจากนี้หากสปีชีส์นั้นมีประชากรน้อยเกินไป การผสมไปมาอาจทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดภูมิคุ้มกันต่อโรคได้

แหล่งอ้างอิง แก้

  1. "IUCN Red List version 2012.2: Table 2: Changes in numbers of species in the threatened categories (CR, EN, VU) from 1996 to 2012 (IUCN Red List version 2012.2) for the major taxonomic groups on the Red List" (PDF). IUCN. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  2. "NatureServe Conservation Status". NatureServe. April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
  3. "Red List Overview". IUCN. February 2011. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
  4. "Threatened Species". Conservation and Wildlife. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
  5. Stork, Nigel (Feb 2010). "Re-assessing Current Extinction Rates" (2). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "Captive Breeding Populations - National Zoo| FONZ". Nationalzoo.si.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้