วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร
(เปลี่ยนทางจาก สามปลื้ม)

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดจักรวรรดิ เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดนางปลื้ม สร้างสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เรียก วัดสามปลื้ม สันนิษฐานว่าคงมาจากผู้หญิงสามนางร่วมกันสร้าง และอาจด้วยเพราะอยู่ใกล้กับสำเพ็ง หรือสามเพ็ง ทำนองเดียวกับวัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ที่อยู่ใกล้กัน เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ประมาณ พ.ศ. 2362 และได้ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า วัดจักรวรรดิราชาวาสเมื่อประมาณ พ.ศ. 2368 ภายในวัดมีศาลและรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาอยู่ด้วย โดยช่างปั้นได้ปั้นจากภาพเขียนรูปปั้นของเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) พระเจ้ากรุงกัมพูชาให้สร้างขึ้นที่เมืองอุดงมีชัย

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
แผนที่
ที่ตั้งถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญฺโญ) ป.ธ.๙
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ปัจจุบัน วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร หรือวัดเชิงเลน และเชิงสะพานพระปกเกล้าด้านมุ่งหน้าไปฝั่งธนบุรี

จระเข้ขนาดใหญ่ในบ่อเลี้ยงภายในวัด

ในวัดแห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกประการคือ มีบ่อเลี้ยงจระเข้ขนาดใหญ่ ซึ่งพระสงฆ์และเด็กวัดช่วยกันดูแล ทั้งนี้เนื่องจากราวปี พ.ศ. 2485 ที่บริเวณวัดที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยามีเรื่องราวของจระเข้กินคนตัวหนึ่งชื่อ "ไอ้บอดวัดสามปลื้ม" เนื่องจากมีตาข้างหนึ่งบอด แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าไอ้บอดวัดสามปลื้มนั้นตายลงเมื่อใด หากแต่ตำนานนี้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่มาของบ่อเลี้ยงจระเข้ภายในวัด[1] [2]

อ้างอิง แก้

  1. sihawatchara a (2015-11-08). "นึกเรื่องเก่า เล่าความหลัง กินของขม ชมเด็กสาว.๑๐ จระเข้ไอ้บอดวัดสามปลื้ม". sihawatchara.blogspot. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.
  2. ""ไอ้บอด"จระเข้แห่งวัดสามปลื้ม ไฮไลท์เทศกาลงานบุญ". ไบรต์ทีวี. 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′30″N 100°30′15″E / 13.741772°N 100.50426°E / 13.741772; 100.50426