กีฬาสาธิตสามัคคี

(เปลี่ยนทางจาก สาธิตสามัคคี)

กีฬาสาธิตสามัคคี เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระหว่างโรงเรียนสาธิตในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยจะมีนักกีฬาจากโรงเรียนสมาชิกทั้ง 22 โรงเรียนเข้ามาแข่งขันในโรงเรียนเจ้าภาพในทุกปีการศึกษา กีฬาสาธิตสามัคคีถือเป็นหนึ่งกิจกรรมสำคัญในการกระชับมิตรระหว่างโรงเรียนสาธิตด้วยกัน และถือเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนสาธิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยตามจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมและชนิดกีฬาที่แข่งขัน

กีฬาสาธิตสามัคคี
Satit Samakkee
คำขวัญกีฬาสาธิต ผูกมิตรสัมพันธ์ สามัคคีกัน ร่วม "ฉัททันต์เกมส์" (พ.ศ. 2566)
ก่อตั้งพ.ศ. 2518 (49 ปี)
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุดกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46 "ฉัททันต์เกมส์"
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ครั้งต่อไปกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 47 "เจ้ารามเกมส์"
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วัตถุประสงค์การแข่งขันกีฬาหลายประเภทสำหรับโรงเรียนสาธิตในประเทศไทย
เว็บไซต์เว็บไซต์การแข่งขันครั้งที่ 46

ตลอดการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี มีโรงเรียนเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 13 โรงเรียน โดยมี 22 โรงเรียนเข้าร่วม สำหรับกีฬาสาธิตสามัคคีครั้งหลังสุดได้จัดขึ้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และการแข่งขันครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ แก้

กีฬาสาธิตสามัคคีมีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฝ่ายประถมและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ซึ่งได้แก่ อาจารย์สุกรี รอดโพธิ์ทอง, อาจารย์อุดร รัตนภักดิ์, อาจารย์ศรีประภา สาระคุณ (แม้นสงวน), และอาจารย์ สุภารัตน์ วรทอง ได้มีการหารือกันในแนวคิดที่จะจัดการแข่งขันว่ายน้ำระหว่างโรงเรียนผ่านจุดประสงค์ในการเสริมสร้างสุขภาพ ทักษะ และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน จึงได้ร่วมกันจัดการแข่งขันว่ายน้ำในระดับโรงเรียนเรียกในชื่อ ว่ายน้ำสาธิต–สามัคคี โดยมีอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนสาธิตทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อาจารย์รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ, ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตเกษตรศาสตร์, ผศ.คุณหญิง สมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน, และอาจารย์ละออ การุณยะวนิช อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตประสานมิตร ฝ่ายประถม ร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการถาวร ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี และจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันและคณะกรรมการจัดการแข่งขันจากคณาจารย์ของโรงเรียนเพื่อทำงานร่วมกัน โดยมีอาจารย์จากโรงเรียนเจ้าภาพเป็นประธาน

การแข่งขันครั้งแรกเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 ณ สระว่ายน้ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันจะมีเพียงสี่โรงเรียนเริ่มแรกที่ร่วมแข่งขันเท่านั้น จนกระทั่งในการแข่งขันครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2525 ที่ได้มีการเชิญโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้าร่วมการแข่งขันด้วย[1] ต่อมาในการแข่งขันครั้งที่ 10 ได้มีการเพิ่มชนิดกีฬาเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น "กีฬาสาธิตสามัคคี ให้มีการครอบคลุมกีฬาที่เพิ่มขึ้น คือ กรีฑา ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส ปิงปอง ตะกร้อ และแบดมินตัน เป็น 9 ชนิด[2]

การจัดการแข่งขัน แก้

สถานที่จัดการแข่งขัน แก้

นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 มีการจัดแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีดังนี้:

ครั้งที่ ปีแข่งขัน

(พ.ศ.)

โรงเรียนเจ้าภาพ วันเริ่ม วันสิ้นสุด โรงเรียนที่เข้าร่วม ชนิดกีฬา หมายเหตุ อ้างอิง
1 2519 สาธิตจุฬาฯ ช่วงเดือนมกราคม 4 1 [3][4]
2 2521 สาธิตเกษตร 14 มกราคม 4 1 [3][4]
3 2522 สาธิตประสานมิตรและสาธิตปทุมวัน 20 มกราคม 4 1 [3][4]
4 2523 สาธิตจุฬาฯ 26 มกราคม 4 1 [3][4]
5 2524 สาธิตเกษตร 17 มกราคม 4 1 [3][4]
6 2525 สาธิตประสานมิตรและสาธิตปทุมวัน 16 มกราคม 6 1 [3][4]
7 2526 สาธิตจุฬาฯ 29 มกราคม 6 1 [3][4]
8 2527 สาธิตเกษตร 28 มกราคม 8 1 [3][4]
9 2528 สาธิตประสานมิตร 19 มกราคม 8 1 [3][4]
10 2529 สาธิตปทุมวัน 17 มกราคม 9 9 [3][4]
11 2530 สาธิตจุฬาฯ 23 มกราคม 24 มกราคม 9 8 [3][4]
12 2530 สาธิตเกษตร 8 สิงหาคม 26 กันยายน 9 8 ครั้งแรกและครั้งเดียวที่จัดแข่งขันสองช่วง ช่วงละ 1 วัน [3][4]
13 2531 สาธิตบูรพา 10 ตุลาคม 14 ตุลาคม 9 12 [3][4]
14 2532 สาธิตรามคำแหง 12 พฤศจิกายน 17 พฤศจิกายน 9 11 [3][4]
15 2533 สาธิตเชียงใหม่ 12 ตุลาคม 17 ตุลาคม 10 11 [3][4]
16 2534 สาธิตประสานมิตร 3 พฤศจิกายน 8 พฤศจิกายน 10 11 [3][4]
17 2535 สาธิตปทุมวัน 24 ตุลาคม 29 ตุลาคม 10 12 [3][4]
18 2536 สาธิตขอนแก่น 19 ตุลาคม 25 ตุลาคม 10 13 [3][4]
19 2537 สาธิตจุฬาฯ 15 ตุลาคม 20 ตุลาคม 9 13 [3][4]
20 2538 สาธิตบูรพา 20 ตุลาคม 26 ตุลาคม 9 13 [3][4]
21 2539 สาธิตเกษตร 21 ตุลาคม 26 ตุลาคม 10 13 [3][4]
22 2540 สาธิตศิลปากร 14 ตุลาคม 28 ตุลาคม 13 13 [3][4]
23 2541 สาธิตรามคำแหง 15 พฤศจิกายน 21 พฤศจิกายน 14 13 [3][4]
24 2542 สาธิตเชียงใหม่ 17 ตุลาคม 23 ตุลาคม 13 13 [3][4]
25 2543 สาธิตประสานมิตร 22 ตุลาคม 28 ตุลาคม 15 13 [3][4]
26 2544 สาธิตสงขลานครินทร์ 17 ตุลาคม 23 ตุลาคม 15 8 [3][4]
27 2545 สาธิตปทุมวัน 20 ตุลาคม 26 ตุลาคม 15 13 [3][4]
28 2546 สาธิตขอนแก่น 15 ตุลาคม 21 ตุลาคม 15 14 [3][4]
29 2547 สาธิตจุฬาฯ 17 ตุลาคม 23 ตุลาคม 15 15 [3][4]
30 2548 สาธิตกำแพงแสน 15 ตุลาคม 21 ตุลาคม 15 16 [3][4]
31 2549 สาธิตเกษตร 15 ตุลาคม 21 ตุลาคม 15 16 [3][4]
32 2550 สาธิตเชียงใหม่ 11 ตุลาคม 17 ตุลาคม 15 16 [3][4]
33 2551 สาธิตรามคำแหง 2 พฤศจิกายน 8 พฤศจิกายน 17 16 [3][4]
34 2552 สาธิตบูรพา 19 ตุลาคม 25 ตุลาคม 18 15 [3][4]
35 2553 สาธิตประสานมิตร 17 ตุลาคม 23 ตุลาคม 18 16 [3][4]
36 2554 สาธิตมหาสารคาม 16 ตุลาคม 22 ตุลาคม 18 16 [3][4]
37 2555 สาธิตปทุมวัน 21 ตุลาคม 27 ตุลาคม 19 16 [3][4]
38 2556 สาธิตศิลปากร 2 ตุลาคม 26 ตุลาคม 21 16 [5][3]
39 2557 สาธิตจุฬาฯ 21 ธันวาคม 27 ธันวาคม 21 16 [6]
40 2559 สาธิตขอนแก่น 6 มกราคม 13 มกราคม 21 16 [7]
41 2560 สาธิตเกษตร 6 มกราคม 12 มกราคม 21 17 [8]
42 2560 สาธิตกำแพงแสน 18 ธันวาคม 24 ธันวาคม 21 17 [9]
43 2561 สาธิตนเรศวร 3 ธันวาคม 9 ธันวาคม 21 17 [10]
44 2562 สาธิตประสานมิตร 22 ธันวาคม 28 ธันวาคม 21 17 [11]
45 2565 สาธิตบูรพา 3 พฤศจิกายน 9 พฤศจิกายน 22 17 การแข่งขันถูกเลื่อนเป็นเวลา 2 ปีจากการระบาดทั่วของโควิด-19 [12][13]
46 2566 สาธิตเชียงใหม่ 4 พฤศจิกายน 10 พฤศจิกายน 22 18 [14]
47 2567 สาธิตรามคำแหง 19 ธันวาคม 25 ธันวาคม รอประกาศ [15]

พิธีสำคัญ แก้

 
พิธีเปิดกีฬาสาธิตสามัคคีครั้งที่ 32 "จ๊างน้อยเกมส์"

พิธีเปิด แก้

ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง เจ้าภาพจัดแข่งขันจะต้องจัดการแสดงเปิดงาน โดยจะมีการแสดงโชว์เชียร์จากโรงเรียนเจ้าภาพและโรงเรียนอื่น ๆ (ถ้ามี) และการแสดงเปิดงานจากเจ้าภาพ โดยอาจมีหลายชุดได้ จากนั้นจะมีการเคลื่อนขบวนพาเหรดนักกีฬาของแต่ละสถาบันเข้าสู่สนาม ประธานคณะอำนวยการจัดการแข่งขันจึงจะกล่าวเปิดงาน เชิญธงการแข่งขันขึ้นสู่ยอดเสา และจะมีการแสดงอัญเชิญคบเพลิงและจุดไฟเป็นอันเสร็จพิธี[16][17] ทั้งนี้พิธีเปิดในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับเจ้าภาพในการจัดพิธี

พิธีปิด แก้

หลังจากการแข่งขันรายการสุดท้ายเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้ร่วมงานจะเข้าชมการแสดงปิดการแข่งขันคล้ายกับการแสดงเปิดงาน จากนั้นจะมีการเคลื่อนขบวนพาเหรดนักกีฬาของแต่ละสถาบันเข้าสู่สนาม และจะมอบรางวัลชนะเลิศรวมในแต่ละหมวดกีฬา และจะทำการมอบถ้วยเกียรติยศและธงการแข่งขันให้แก่เจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งต่อไป ประธานคณะอำนวยการกล่าวปิดการแข่งขันเป็นอันเสร็จพิธี[16][18] เช่นเดียวกัยพิธีเปิด พิธีปิดในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับเจ้าภาพในการจัดพิธี

ในช่วงแรกที่ยังเป็นการแข่งขันว่ายน้ำสาธิต–สามัคคี เจ้าภาพครั้งปัจจุบันจะทำการมอบถ้วยเกียรติยศให้เจ้าภาพครั้งต่อไปพร้อมธงการแข่งขันว่ายน้ำ “สาธิต – สามัคคี” สีฟ้าหม่น[1][2]

อัตลักษณ์การแข่งขัน แก้

เพลงประจำการแข่งขัน แก้

ในช่วงแรก มีการสร้างเพลงมาร์ชประจำการกีฬาสาธิตสามัคคี ในชื่อ มาร์ชสาธิตสามัคคี ซึ่งได้มีอาจารย์ระลึก สัทธาพงศ์ (ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น) เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง โดยมีต้นแบบทำนองมาจากเพลงพื้นบ้านอเมริกัน I’ve been working on the rail road และมีคุณพิมพ์ปฏิภา พึ่งธรรมจิตต์ เรียบเรียงเสียงประสาน[19] เพลงมาร์ชเริ่มใช้ในการแข่งขันครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2521 ณ สระว่ายน้ำจุฬาภรณวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิตเกษตรเป็นเจ้าภาพ ในครั้งนั้นได้เชิญคุณนิทัศน์ ละอองศรี, คุณศรีสุดา เริงใจ และนักร้องวงจิตราทัศน์ มาขับร้องหมู่และบรรเลง

ปัจจุบันในการแข่งขันแต่ละครั้ง โรงเรียนเจ้าภาพจะสร้างสรรค์เพลงประจำการแข่งขันครั้งนั้น ๆ ควบคู่กับเพลงมาร์ชสาธิตสามัคคี ซึ่งเริ่มครั้งแรกในการแข่งขันครั้งที่ 39 กับเพลงดอกแก้วเกมส์[20] โดยตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 44 จะมีการทำมิวสิกวิดีโอประกอบเพลงนั้น ๆ

สัญลักษณ์การแข่งขัน แก้

ในช่วงที่ยังเป็นการแข่งขันว่ายน้ำสาธิตสามัคคี จะมีสัญลักษณ์ปรากฏอยู่บนธงการแข่งขันว่ายน้ำ “สาธิต – สามัคคี” สีฟ้าหม่นทั้งสองด้าน โดยในด้านที่ 1 จะมีรูปสัญลักษณ์กีฬาว่ายน้ำกับตรามหาวิทยาลัยต้นสังกัดของโรงเรียนสาธิต ผู้ร่วมริเริ่มจัดการแข่งขันเรียงลำดับสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสื่อถึงประวัติของการแข่งขันฯ ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในวงกลมสองวงซ้อนกัน ในด้านที่ 2 ประดับด้วย “พระวชิระ” ตราประจำทบวงมหาวิทยาลัย กับห้าห่วงสัมพันธ์[2]

ปัจจุบันในการแข่งขันแต่ละครั้ง โรงเรียนเจ้าภาพจะออกแบบสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันและสัญลักษณ์นำโชคประจำการแข่งขันครั้งนั้น ๆ เองด้วย โดยมักจะมีสองตัวละครที่สื่อถึงธรรมชาติ ความเป็นมา ประวัติ หรือวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ

เหรียญรางวัล แก้

กีฬาสาธิตสามัคคีจะแบ่งเหรียญรางวัลออกเป็น 3 ระดับตามมาตรฐานของกีฬาโอลิมปิก ได้แก่ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ซึ่งจะมอบให้ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับที่สองตามลำดับ[21] ในปัจจุบันเจ้าภาพจะออกแบบและจัดทำเหรียญรางวัลใหม่ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามการแข่งขันในแต่ละครั้ง

โรงเรียนที่เข้าร่วม แก้

ในการแข่งขันครั้งล่าสุด มีโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 22 โรงเรียน ดังนี้:[12][22]

โรงเรียนสาธิตที่เข้าร่วมแข่งขัน
  1. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  2. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  3. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  5. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
  6. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
  7. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  8. โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
  9. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
  10. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
  11. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)
  12. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
  13. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
  14. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)
  15. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
  16. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
  17. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
  18. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  19. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา)
  20. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา)
  21. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายประถมศึกษา)
  22. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)

กีฬาที่จัดแข่งขัน แก้

ตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันสาธิตสามัคคี ปรากฏว่ามีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 18 ชนิด ดังตารางต่อไปนี้:[2]

กีฬา ปีที่แข่งขัน (พ.ศ.)
  ว่ายน้ำ ตั้งแต่ 2519
  กรีฑา ตั้งแต่ 2529
  ฟุตบอล ตั้งแต่ 2529
  บาสเกตบอล ตั้งแต่ 2529
  วอลเลย์บอล ตั้งแต่ 2529
  เทนนิส 2529-2543, ตั้งแต่ 2545
  เทเบิลเทนนิส ตั้งแต่ 2529
  เซปักตะกร้อ 2529, ตั้งแต่ 2531
  แบดมินตัน 2530-2543, ตั้งแต่ 2545
  แฮนด์บอล 2531, 2535-2543, ตั้งแต่ 2545
  หมากกระดาน 2531-2543, ตั้งแต่ 2545
  เปตอง ตั้งแต่ 2531
  กอล์ฟ 2536-2543, ตั้งแต่ 2545
  ซอฟต์บอล ตั้งแต่ 2546
  ฮอกกี 2547-2551, ตั้งแต่ 2553
  ลีลาศ ตั้งแต่ 2548 [a]
  ฟุตซอล ตั้งแต่ 2560 [a]
  เทคบอล ตั้งแต่ 2566

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 กีฬาลีลาศและฟุตซอลเคยเป็นกีฬาเพื่อการสาธิตในการแข่งขันครั้งก่อนหน้า คือในครั้งที่ 29 (พ.ศ. 2547) และครั้งที่ 40 (พ.ศ. 2559) ตามลำดับ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประวัติการแข่งขัน – พิบูลบำเพ็ญเกมส์" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-31. สืบค้นเมื่อ 2023-10-31.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 เว็บมาสเตอร์ (2023-03-16). "ประวัติการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 3.24 3.25 3.26 3.27 3.28 3.29 3.30 3.31 3.32 3.33 3.34 3.35 3.36 3.37 "สาธิตสามัคคี". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 4.31 4.32 4.33 4.34 4.35 4.36 Mammedov, Dadaş (2021-08-16). "สาธิตสามัคคี". www.wiki3.th-th.nina.az.
  5. "ขjาวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 38)" (PDF). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 26 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ ๓๙ "จามจุรีเกมส์"". โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 29 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 40 กัลปพฤกษ์เกมส์". rs.kpg40.kku.ac.th.
  8. "พิธีเปิดกีฬา"สาธิตสามัคคี ครั้งที่ 41 ยิ่งใหญ่". คมชัดลึกออนไลน์. 2017-01-06.
  9. "การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี "อินทนิลเกมส์" ครั้งที 42". prathom.swu.ac.th.
  10. "NUD Channel". NUD Channel.
  11. "ประสานมิตรเกมส์ - การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 44". psmg.spsm.ac.th.
  12. 12.0 12.1 "พิบูลบำเพ็ญเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-30. สืบค้นเมื่อ 29 October 2023.
  13. "22 สถาบันพร้อมลุย กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 45 "พิบูลบำเพ็ญเกมส์" | Goal.com ภาษาไทย". www.goal.com. 2022-10-08.
  14. เว็บมาสเตอร์. "ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.
  15. "ข่าวประชาสัมพันธ์ DSRU.News" (PDF). โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม). สืบค้นเมื่อ 10 November 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 "กำหนดกำรพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 43 "เสลาเกมส์"" (PDF). โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อ 31 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. เว็บมาสเตอร์ (2023-10-24). "กำหนดการพิธีเปิด การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีครั้งที่ 46 "ฉัททันต์เกมส์" วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.
  18. เว็บมาสเตอร์ (2023-10-24). "กำหนดการพิธีปิด การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีครั้งที่ 46 "ฉัททันต์เกมส์" วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.
  19. อาทรไผท, อัษฎา. "เปิดหู | มัลติเวิร์สทางดนตรี ตอน มาร์ชสาธิตสามัคคี กับเพลงคู่ขนาน I've Been Working on the Railroad". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "รวมเพลงสาธิตสามัคคีทั่วประเทศ - YouTube". www.youtube.com.
  21. เว็บมาสเตอร์ (2023-07-14). "เหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.
  22. เว็บมาสเตอร์ (2023-03-29). "สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี". ฉัททันต์เกมส์ กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46.

บรรณานุกรม แก้

  • มนเฑียร อยู่เย็น. (2549) พัฒนาการการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี /. มหาวิทยาลัยรามคำแหง,:ม.ป.ท.