สาธารณรัฐเซนารีกา

สาธารณรัฐเซนารีกา (อิตาลี: Repubblica di Senarica) เป็นอดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็กแห่งหนึ่งของยุโรป มีเอกราชช่วงปี ค.ศ. 1343 ถึง ค.ศ. 1775 ถือเป็นจุลรัฐในหุบเขาที่อยู่มารอดยาวนาน ก่อนถูกพระเจ้าแฟร์ดีนันโดที่ 4 แห่งซิซิลีทั้งสอง ทรงเข้ายึดครอง

สาธารณรัฐเซนารีกา

Repubblica di Senarica
1343–1775[1]
ธงชาติเซนารีกา
ธงชาติ
ของเซนารีกา
ตราแผ่นดิน
สถานะนครรัฐ
เมืองหลวงเซนารีกา
ภาษาทั่วไปอิตาลี
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองสาธารณรัฐ
ยุคประวัติศาสตร์ต้นสมัยใหม่
• ก่อตั้ง
11 มิถุนายน 1343
• สิ้นสุด
15 กรกฎาคม 1775[1]
พื้นที่
0.041 ตารางกิโลเมตร (0.016 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรเนเปิลส์
ราชอาณาจักรเนเปิลส์

ปัจจุบันพื้นที่ของสาธารณรัฐเซนารีกาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโกรญาเลโต (Crognaleto) จังหวัดเตราโม แคว้นอาบรุซโซ ประเทศอิตาลี

ประวัติ แก้

 
เซนารีกาในปัจจุบัน
 
โบสถ์ในเซนารีกากับธงอดีตประเทศเซนารีกา

สาธารณรัฐเซนารีกาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1343 เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถโจวันนาที่ 1 แห่งเนเปิล (Giovanna I di Napoli) ทรงยินยอมให้อิสรภาพแก่ราษฎรและกองกำลังกบฏแห่งมิลานภายใต้การควบคุมของลอร์ดลูกีโน วิสกอนตี (Luchino Visconti) ญาติของอัมโบรโจ วิสกอนตี (Ambrogio Visconti)

และจากความประทับใจในความมีสง่าราศีของดอเจ (Doge) แห่งสาธารณรัฐเวนิส รัฐบาลเซนารีกาจึงได้มีการใช้ระบอบการปกครองประเทศแบบรัฐบาลสาธารณรัฐ โดยจะมีการเลือกตั้งดอเจเป็นผู้นำแห่งรัฐ[2][3] ส่วนใหญ่ดอเจมักมาจากตระกูลชีชินเตาะ (Cicintò) ซึ่งมีถึง 15 คน นอกนั้นมาจากตระกูลอื่น ๆ เช่น เกียนโตเน (Ciantone) เดลลา วัลเล (Della Valle) เชชกาเรลลี (Ceccarelli) กันตุ (Cantù) แฟร์รีนี (Ferrini) และดาเลสโซ เอ ลาตีนี (D'Alessio e Latini)[4] นอกจากดอเจยังมีสมาชิกวุฒิสภามีเลขานุการในการปกครอง มีกองกำลังทหารขนาดน้อยในการปกป้องชนชั้นปกครอง นอกนั้นคอยสังเกตการณ์ชายแดน[5][6]

สาธารณรัฐนี้ถือว่าทุกคนมีเกียรติและไม่ต้องจ่ายภาษี[7][8] ประเทศมีพื้นที่เพียง 0.041 ตารางกิโลเมตร มีชุมชนขนาดเล็กและโอบล้อมด้วยป่าเขา และตั้งอยู่ในวงล้อมของราชอาณาจักรเนเปิลส์[5][6]

ตราประจำประเทศคือรูปสิงโตกับงูสีเงิน เบื้องหลังเป็นรูปโล่สีดำ มักปรากฏอยู่บนธงปีกนก (Gonfalon) ปัจจุบันยังพบเห็นตามโบสถ์ในเซนารีกา

ในสมัยแบร์นาดีโน ชีชินเตาะที่ 1 (Bernardino Cicintò I) ปกครองเซนารีกา พระเจ้าแฟร์ดีนันโดที่ 4 แห่งซิซิลีทั้งสอง (Ferdinando I delle Due Sicilie) ไม่ทรงปรารถนาจะให้ดินแดนนี้ดำรงอยู่เพื่อให้ผู้อาศัยนั้นเลี่ยงภาษี และส่งขุนนางเข้ายึดครองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1775 อันเป็นที่สิ้นสุดความเป็นเอกราชของเซนารีกามาแต่นั้น[9]

อ้างอิง แก้

  1. Guglielmo Magnifico, L'urlo di San Martino. La Repubblica di Senarica, Montesilvano, Grafica Silva, 2006, p. 506
  2. Guida Italia: Abruzzo Molise (4th ed.). Milan, Italy: Touring Club Italiano. 1979 [1926]. ISBN 9788836500178.
  3. Nicola Castagna, La Repubblica di Senarica, Firenze, Uffizio della Rassegna Nazionale, 1884, p. 15
  4. Nicola Castagna, La Repubblica di Senarica, Firenze, Uffizio della Rassegna Nazionale, 1884, p. 35
  5. 5.0 5.1 Nicola Castagna, La Repubblica di Senarica, Firenze, Uffizio della Rassegna Nazionale, 1884, p. 20
  6. 6.0 6.1 Guglielmo Magnifico, L'urlo di San Martino. La Repubblica di Senarica, Montesilvano, Grafica Silva, 2006, p. 128
  7. Piero Marcozzi, La più piccola Repubblica del mondo. La Repubblica di Senarica (fascicolo), Milano, Le vie d'Italia, 1904, p. 3
  8. Marie-Nicolas Bouillet, Dictionnaire universel d'histoire et de géographie, Paris, Hachette, 1878, p. 308
  9. Guglielmo Magnifico, L'urlo di San Martino. La Repubblica di Senarica, Montesilvano, Grafica Silva, 2006, p. 507

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เซนารีกา