สาธารณรัฐสโลวักที่ 1
สาธารณรัฐสโลวัก (ที่หนึ่ง) (สโลวัก: (Prvá) Slovenská republika) หรือที่รู้จักในชื่อ รัฐสโลวัก (สโลวัก: Slovenský štát) เป็นรัฐบริวารระบอบฟาสซิสต์ของนาซีเยอรมนีที่ได้รับการรับรองบางส่วน ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง ดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 ถึงวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1945 ดินแดนสโลวาเกียในเชโกสโลวาเกียได้ประกาศเอกราชด้วยการสนับสนุนจากเยอรมนี ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งวันก่อนการยึดครองโบฮีเมียและมอเรเวียของเยอรมนี สาธารณรัฐควบคุมอาณาเขตส่วนใหญ่ของประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน ยกเว้นทางตอนใต้ ซึ่งยกให้กับฮังการีใน ค.ศ. 1938 สาธารณรัฐถือเป็นรัฐเอกราชอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประวัติศาสตร์สโลวาเกีย โดยมีกรุงบราติสลาวาเป็นเมืองหลวง
สาธารณรัฐสโลวัก Slovenská republika (สโลวัก) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1939–1945 | |||||||||
สาธารณรัฐสโลวักใน ค.ศ. 1942 | |||||||||
สถานะ | รัฐบริวารของนาซีเยอรมนีและสมาชิกฝ่ายอักษะ[a] | ||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บราติสลาวา 48°09′N 17°07′E / 48.150°N 17.117°E | ||||||||
ภาษาทั่วไป | สโลวัก เยอรมัน | ||||||||
กลุ่มชาติพันธุ์ | |||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (ศาสนาประจำชาติ)[5] | ||||||||
เดมะนิม | ชาวสโลวัก | ||||||||
การปกครอง | รัฐบรรษัทพรรคการเมืองเดียวในระบอบฟาสซิสต์ศาสนจักร[6] ภายใต้เผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ | ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• ค.ศ. 1939–1945 | ยอเซ็ฟ ติซอ | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1939 | ยอเซ็ฟ ติซอ | ||||||||
• ค.ศ. 1939–1944 | วอยเต็ค ตูกา | ||||||||
• ค.ศ. 1944–1945 | ชเตฟัน ติซอ | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาแห่งชาติ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
14 มีนาคม ค.ศ. 1939 | |||||||||
23–31 มีนาคม ค.ศ. 1939 | |||||||||
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 | |||||||||
1–16 กันยายน ค.ศ. 1939 | |||||||||
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 | |||||||||
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 | |||||||||
22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 | |||||||||
29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 | |||||||||
4 เมษายน ค.ศ. 1945 | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
• รวม | 38,055[7] ตารางกิโลเมตร (14,693 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ประมาณ | 2,655,053[8] | ||||||||
สกุลเงิน | กอรูนาสโลวัก (Ks) | ||||||||
รูปแบบวันที่ | ว. ด. ปปปป | ||||||||
ขับรถด้าน | ขวา | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | สโลวาเกีย โปแลนด์ |
พรรคประชาชนสโลวักเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ปกครองประเทศ สาธารณรัฐสโลวักเป็นที่รับรู้โดยส่วนใหญ่จากการให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนี ซึ่งรวมถึงการส่งกองทหารไปในการบุกครองโปแลนด์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และในการบุกครองสหภาพโซเวียตเมื่อ ค.ศ. 1941 โดยใน ค.ศ. 1940 ประเทศได้เช้าร่วมฝ่ายอักษะจากการเป็นหนึ่งในผู้ลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี
ใน ค.ศ. 1942 ประเทศเนรเทศชาวยิว 58,000 คน (ประชากรสองในสามของชาวยิวในสโลวาเกีย) ไปยังโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง โดยจ่ายเงินให้เยอรมนี 500 ไรชส์มาร์ค ต่อคน หลังจากกิจกรรมต่อต้านนาซีของพลพรรคสโลวาเกียเพิ่มมากขึ้น เยอรมนีจึงเข้ายึดครองสโลวาเกีย ซึ่งก่อให้เกิดการก่อการกำเริบใน ค.ศ. 1944 สาธารณรัฐสโลวักยุบเลิกลงภายหลังการปลดปล่อยของโซเวียตใน ค.ศ. 1945 และดินแดนสโลวาเกียถูกรวมกลับเข้าไปในสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 3
ประเทศสโลวาเกียในปัจจุบันไม่ได้ถือว่าตนเองเป็นรัฐสืบทอดของสาธารณรัฐสโลวักนี้ แต่เป็นการสืบทอดจากสหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวัก อย่างไรก็ดี นักชาตินิยมบางส่วนได้เฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชในวันที่ 14 มีนาคม
หมายเหตุ
แก้- ↑ มีหลายมุมมองแตกต่างกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสโลวาเกียกับเยอรมนี โดยอิชต์วาน แดอาก (István Deák) ระบุว่า "แม้จะมีการกล่าวถีงของนักประวัติศาสตร์บางส่วน [สโลวาเกีย] ก็ไม่ได้มีบทบาทเป็นรัฐหุ่นเชิด หากแต่เป็นพันธมิตรทางทหารชาติแรกของเยอรมนีที่พูดภาษาสลาฟ แต่ก็ไม่ใช่ชาติสุดท้าย"[1] ทัทยานา เทินสเมเยอร์ (Tatjana Tönsmeyer) ผู้ที่แย้งว่าแนวคิดรัฐหุ่นเชิดเป็นเรื่องเกินจริงสำหรับการกล่าวถึงอิทธิพลของเยอรมนี และเป็นการมองข้ามการปกครองตนเองของสโลวาเกีย ได้บันทึกไว้ว่า ทางการสโลวาเกียมักหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการที่เยอรมนีผลักดัน เมื่อมาตรการดังกล่าวไม่ตรงกับความต้องการของสโลวาเกีย เช่นเดียวกับบาร์บารา ฮุทเซิลมันน์ (Barbara Hutzelmann) นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่กล่าวว่า "แม้ประเทศจะไม่ได้เป็นเอกราช แต่ในความหมายที่สมบูรณ์ของคํานั้น ก็คงจะง่ายเกินไปที่จะมองรัฐในการคุ้มกันของเยอรมนี (Schutzstaat) แห่งนี้ว่าเป็น 'ระบอบหุ่นเชิด'"[2] อย่างไรก็ตาม อิวัน กาเมเน็ตซ์ (Ivan Kamenec) ได้เน้นย้ำถึงอิทธิพลของเยอรมนีต่อการเมืองภายในและระหว่างประเทศของสโลวาเกีย และอธิบายว่าเป็น "รัฐบริวารของเยอรมนี"[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Deák 2015, pp. 35–36.
- ↑ Hutzelmann 2016, p. 168.
- ↑ Kamenec 2011a, pp. 180–182.
- ↑ "Slovensko v rokoch 1938 – 1945". Museum of the Slovak National Uprising. May 1, 2024.
- ↑ Doe, Norman (4 August 2011). Law and Religion in Europe: A Comparative Introduction. OUP Oxford. ISBN 978-0-19-960401-2 – โดยทาง Google Books.
- ↑
Badie, Bertrand; Berg-Schlosser, Dirk; Morlino, Leonardo, บ.ก. (7 September 2011). International Encyclopedia of Political Science. SAGE Publications (ตีพิมพ์ 2011). ISBN 9781483305394. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
... fascist Italy ... developed a state structure known as the corporate state with the ruling party acting as a mediator between 'corporations' making up the body of the nation. Similar designs were quite popular elsewhere in the 1930s. The most prominent examples were Estado Novo in Portugal (1933–1974) and Brazil (1937–1945), the Austrian Standestaat (1934–1938), and authoritarian experiments in Estonia, Romania, and some other countries of East and East-Central Europe,
- ↑ "Slovensko v rokoch 1938 – 1945". Museum of the Slovak National Uprising. May 1, 2024.
- ↑ "Slovensko v rokoch 1938 – 1945". Museum of the Slovak National Uprising. May 1, 2024.
- เอกสาร
- Deák, István (2015) [2013]. Europe on Trial: The Story of Collaboration, Resistance, and Retribution during World War II (ภาษาอังกฤษ). London: Routledge. ISBN 978-0-8133-4790-5.
- Hutzelmann, Barbara (2016). "Slovak Society and the Jews: Attitudes and Patterns of Behaviour". ใน Bajohr, Frank; Löw, Andrea (บ.ก.). The Holocaust and European Societies: Social Processes and Social Dynamics (ภาษาอังกฤษ). London: Springer. pp. 167–185. ISBN 978-1-137-56984-4.
- Kamenec, Ivan (2011). "The Slovak state, 1939–1945". ใน Teich, Mikuláš; Kováč, Dušan; Brown, Martin D. (บ.ก.). Slovakia in History (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 175–192. doi:10.1017/CBO9780511780141. ISBN 978-1-139-49494-6.