สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก
สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก (โปรตุเกส: República Popular de Moçambique) คืออดีตรัฐสังคมนิยมของโมซัมบิก ภายหลังสิ้นสุดสงครามประกาศเอกราช โดยปกครองประเทศแบบสังคมนิยม ระหว่าง ค.ศ. 1975 ถึง ค.ศ. 1990.
สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก República Popular de Moçambique | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1975–1990 | |||||||||
เมืองหลวง | มาปูโต | ||||||||
ภาษาสวาฮีลี, ภาษามาคูวา, ภาษาเซนา | |||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาโปรตุเกส | ||||||||
การปกครอง | รัฐสังคมนิยมพรรคการเมืองเดียว ลัทธิมากซ์–เลนิน | ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• 1975–1986 | ซาโมรา มาเชล | ||||||||
• 1986 | โปลิตบูโร | ||||||||
• 1986–1990 | โยอาควิม ชิสซาโน | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• 1986–1990 | Mário da Graça | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||
• ก่อตั้ง | 25 มิถุนายน 1975 | ||||||||
• สิ้นสุด | 1 ธันวาคม 1990 | ||||||||
สกุลเงิน | เอสคูโด (MZE) (1975–1980) เมติคัล (MZM) (1980–1990) | ||||||||
รหัสโทรศัพท์ | 258 | ||||||||
|
ภายหลังสิ้นสุดการปกครองอาณานิคมแอฟริกาตะวันออกของโปรตุเกสเมื่อ ค.ศ. 1975 สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิกก่อตั้งโดย แนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยโมซัมบิก ("เฟรลีมู" : "FRELIMO") นำโดย ประธานาธิบดี ซาโมรา มาเชล, ในช่วงระยะสั้นๆก่อนการประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกส ในสมัยอึชตาดูโนวู (สาธารณรัฐที่ 2). เฟรลีมูจัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดสังคมนิยมลัทธิมากซ์–เลนินแบบพรรคการเมืองเดียว ในรูปแบบของรัฐบาลลัทธิอำนาจนิยม ใช้นโยบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรง (radical social change) ปกครองประเทศแบบสังคมนิยม โดยยึดทรัพย์สินเอกชนทั้งหมดเป็นของรัฐ และ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สาธารณรัฐประชาชนแองโกลา และ สหภาพโซเวียต การเมืองภายในของโมซัมบิกได้รับผลกระทบจากสงครามเย็นอย่างมาก โดยได้รับคำแนะนำจากสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (คอมิคอน).[1][2][3][4] เฟรลีมู ได้ถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งในสงครามกลางเมือง เมื่อ ค.ศ. 1977 โดยมีประเทศเสรีประชาธิปไตย (ชาติมหาอำนาจตะวันตก) เป็นผู้ก่อสงคราม ผ่านทางโรดีเซีย และ สหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงิน พร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ สนับสนุนกลุ่ม Mozambique National Resistance ("เรนามู" : "Renamo") ในการทำลายสาธารณูปโภคพื้นฐาน สะพาน ทางรถไฟ โรงเรียน สถานพยาบาล รวมถึงการเข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ปลายทศวรรษที่ 1980.[5]
สหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1990 ต่อมาได้มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพกรุงโรมระหว่าง เฟรลีมู และ เรนามู ในปี ค.ศ. 1994 ได้มีการจัดเลือกตั้งในรูปแบบรัฐพรรคการเมืองหลายพรรค และ เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากลัทธิมากซ์เป็นเศรษฐกิจการตลาดแบบเสรีทุนนิยม.
การขึ้นสู่อำนาจ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตำรวจลับ
แก้เฟรลีมูได้จัดตั้งองค์กรตำรวจลับ เรียกว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยประชาชนแห่งชาติ (โปรตุเกส: Servicion Segurança Nacional Popular, SNASP) มีหน้าที่สอดส่องดูแลความมั่นคง สืบหาบุคคลที่เป็นหรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อรัฐ รวมถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง "ทุกกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐบาล และ การปฏิวัติสังคมนิยม" โดยได้รับการฝึกศึกษาจาก กระทรวงรักษาความปลอดภัย ("Stasi") ของเยอรมนีตะวันออก มีหน้าที่ข่าวกรอง, กำลังกึ่งทหาร (กำลังพลสำรอง). ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็นได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ ยกสถานะเป็น หน่วยรักษาความปลอดภัย และ สารสนเทศชาติ (Serviço de Informações e Segurança do Estado, SISE) เมื่อ ค.ศ. 1991.
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Angola: Communist nations
- ↑ The New Communist Third World By Peter John de la Fosse Wiles
- ↑ Soviet Union-Mozambique
- ↑ THE COUNCIL FOR MUTUAL ECONOMIC ASSISTANCE
- ↑ D4 Mozambique
บรรณานุกรม
แก้- Priestland, David (2009). The Red Flag: a History of Communism. New York: Grove Press. ISBN 9780802145123.
แหล่งข้อมูลอืน
แก้แม่แบบ:การล่มสลายของคอมมิวนิสต์