สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Lacertidae หรือ สางห่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Takydromus ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า ταχυδρόμος (takhudromos), "วิ่งเร็ว"[1][2] และ ταχύς (takhus), "เร็ว"[3] + δρόμος (dromos), "สนามแข่ง, แข่งขัน"[4]

สกุลสางห่า
Takydromus tachydromoides
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: วงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว
วงศ์ย่อย: Lacertinae
สกุล: สางห่า (สกุล)
Daudin, 1802

มีลักษณะทั่วไปมีลำตัวเรียวยาวและเพรียวผอม มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหางที่มีความยาวมากกว่าความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกจรดรูทวาร 2–5 เท่า สามารถปล่อยหางให้หลุดจากลำตัวได้เพื่อหลบหลีกศัตรูตามธรรมชาติ โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหางทุกปล้อง มีเล็บนิ้วตีนทุกเล็บยาวและงุ้มลงด้านล่าง

เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นดินหรือไม่ก็ไม้พุ่มหรือต้นไม้เตี้ย ๆ มีความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวมาก จึงมักไม่พบเห็นตัวง่าย ๆ กระจายพันธุ์ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว[5]

ชนิด แก้

สกุลสางห่าที่อยู่ในวงศ์ย่อย Lacertinae เผ่า Lacertini แบ่งออกเป็นดังนี้:[6]

อ้างอิง แก้

  1. Takydromus เก็บถาวร 2011-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, A Guide to the lizards of Borneo
  2. ταχυδρόμος, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  3. ταχύς, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  4. δρόμος, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  5. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-016-0.
  6. แม่แบบ:EMBL genus www.reptile-database.org.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Daudin FM (1802). Histoire Naturelle, Générale et Particulière des Reptiles; Ouvrage faisant suite à l'Histoire Naturelle générale et particulière, composée par Leclerc Buffon; et rédigée par C.S. Sonnini, membre de plusieurs sociétés savantes. Tome troisième [Volume 3]. Paris: F. Dufart. 452 pp. (Takydromus, new genus, pp. 251–252). (in French).
  • Lin S-M, Chen CA, Lue K-Y (2002). Molecular Phylogeny and Biogeography of the Grass Lizard Genus Takydromus (Reptilia: Lacertidae) of East Asia. Molecular Phylogenetics and Evolution 22 (2): 276–288. Erratum, 26 (2): 333.
  • Smith MA (1935). The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma. Reptilia and Amphibia. Vol. II.—Sauria. London: Secretary of State for India in Council. (Taylor and Francis, printers). xiii + 440 pp. + Plate I + 2 maps. (Genus Takydromus, p. 365).