สัมพันธ์ แป้นพัฒน์
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ (เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 สมัย
สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2488 อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ประวัติ แก้ไข
สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2488[1] เป็นบุตรของนายเพียน กับนางหลี แป้นพัฒน์ [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต และ นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จาก Temple University ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการโรงแรม จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
งานการเมือง แก้ไข
สัมพันธ์ เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2526[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกัน รวม 2 ครั้ง
สัมพันธ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 19 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง [4] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาเช่นเดิม ลำดับที่ 11[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ อาจารย์ สัมพันธ์ แป้นพัฒน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา
- ↑ เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๐