สะพานมาร์โก โปโล

(เปลี่ยนทางจาก สะพานหลูโกว)

สะพานมาร์โก โปโล หรือ สะพานหลูโกว (อังกฤษ: Marco Polo Bridge, Lugou Bridge; จีนตัวย่อ: 卢沟桥; จีนตัวเต็ม: 盧溝橋; พินอิน: Lúgōu Qiáo)[1] เป็นสะพานหินโค้งเชื่อมต่อที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงปักกิ่ง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง (永定河; ปัจจุบันแม่น้ำแห่งนี้ได้เหือดแห้งไปหมดแล้ว[2]) ตั้งในเขตเฟิงไถ (丰台区) ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เริ่มสร้างในสมัยจักรพรรดิจินซีจง ในยุคราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1189) ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยราชวงศ์หมิง หลังได้รับความเสียหายจากอุทกภัยก็มีการบูรณะใหม่อีกครั้งในสมัยจักรพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1698) โดยที่มาของชื่อ มาจากมาร์โก โปโล นักเดินทางชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 13 ที่ได้เดินทางมายังประเทศจีนในขณะนั้น และได้พรรณาถึงความงามของสะพานแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

สะพานหลูโกว
盧溝橋
พิกัด39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306
ที่ตั้งเขตเฟิงไถ ปักกิ่ง
ชื่ออื่นสะพานมาร์โก โปโล
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว266.5 เมตร
ความกว้าง9.3 เมตร
จำนวนช่วง11
จำนวนตอม่อ10
ประวัติ
วันสร้างเสร็จค.ศ. 1698
ที่ตั้ง
แผนที่
สะพานมาร์โก โปโล
อักษรจีนตัวเต็ม盧溝橋
อักษรจีนตัวย่อ卢沟桥
ความหมายตามตัวอักษรสะพานคูน้ำหลู
ภาพสะพานมาร์โก โปโลในอดีต

สะพานมาร์โก โปโลมีความยาว 266.5 เมตร กว้าง 7.5 เมตร ประกอบด้วยตอม่อหิน 11 ต้น และช่องโค้งใต้สะพาน 11 ช่อง ตัวสะพานทั้งหมดทำด้วยแท่งหิน โดยใช้ตะขอเงินเชื่อมต่อในจุดที่สำคัญ นับว่าเป็นสะพานหินโบราณที่ยาวที่ในพื้นที่ภาคเหนือของจีน บนราวสะพานจะมีการแกะสลักหินเป็นลวดลายที่วิจิตรงดงาม และสิงโตหินแกะสลักที่ขึงขังอยู่เต็มราวสะพาน นับได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างโบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปะอย่างยิ่ง [1]

ในด้านประวัติศาสตร์ สะพานมาร์โก โปโลยังเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 8 ปี โดยเริ่มต้นจากปืนที่ทหารแห่งกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีนยิงใส่ทหารแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า "เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล" (盧溝橋事變)[3][4]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Damian Harper and Daniel McCrohan. Lonely Planet China. Lonely Planet, 2007. ISBN 978-1740599153. p. 176.
  2. Li, Lillian M. (2007). Fighting Famine in North China: State, Market, and Environmental Decline, 1690s-1990s. Stanford University Press. pp. 41–43. ISBN 0-8047-5304-0.
  3. 中国历史常识 Common Knowledge about Chinese History pp 185 ISBN 962-8746-47-2
  4. Japanese War History library (Senshi-sousyo)No.86 [Sino-incident army operations 1 until 1938 Jan.] Page138

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306