สะพานหก
บทความนี้หมายถึงสะพานหกในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในความหมายอื่น ดูที่: สะพานยก
สะพานหก | |
---|---|
ข้าม | คลองคูเมืองเดิม |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานเจริญศรี 34 |
ท้ายน้ำ | สะพานช้างโรงสี |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | เปิด-ปิดได้ |
วัสดุ | คอนกรีต |
ทางเดิน | 1 (สะพานคนเดิน) |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานหก |
ขึ้นเมื่อ | 11 กันยายน พ.ศ. 2540 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000053 |
ที่ตั้ง | |
สะพานหก เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม ตั้งอยู่ในแขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะซึ่งนำแบบมาจากสะพานในประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเนื่องถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะพิเศษคือสามารถยกหรือหกให้เรือผ่านได้ โดยมีสะพานลักษณะเช่นนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มากด้วยกันถึง 8 แห่ง ทั้งในฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ
- ข้ามคลองที่หน้ากระทรวงมหาดไทย
- ข้ามคลองที่หลังกระทรวงกลาโหม
- ข้ามคลองริมวังพระองค์เจ้าสาย
- ข้ามคลองบางกอกใหญ่
- ข้ามคลองวัดอนงคาราม
- ข้ามคลองวัดพิชัยญาติ
- ข้ามคลองสระปทุม
- ข้ามคลองมอญ
แต่ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
สะพานหกที่เชื่อมระหว่างถนนอัษฎางค์กับถนนราชินีมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ สวนสราญรมย์, อนุสาวรีย์หมูและสะพานปีกุน, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, สะพานมอญ, สะพานช้างโรงสี, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม
สะพานหกเดิมเป็นสะพานไม้และได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาในช่วงฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525 ทางรัฐบาลได้ดำเนินการสร้างสะพานหกใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามขึ้นมาใหม่ โดยปรับจากโครงสร้างไม้ปลายตุ้มเหล็กมาเป็นสะพานคอนกรีตสำหรับเดินข้าม แต่ให้คงลักษณะเหมือนอย่างโบราณเพื่อเป็นอนุสรณ์ของกรุงรัตนโกสินทร์[1][2] ในขณะที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสะพานหกหลังกระทรวงกลาโหมเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2540[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สะพานหก (The Hoke Bridge)". ศูนย์ข้อมูล เกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
- ↑ ป้าไม่อยู่ปู่เข้าเวบ (2009-07-26). "/***\_พาไปดูสะพานหก ..... ที่สมัยก่อนมี6สะพาน แต่...ไม่ใช่สะพานพระราม6". โอเคเนชั่น. สืบค้นเมื่อ 2017-01-27.
- ↑ "ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดที่ดินโบราณสถาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (พิเศษ 3 ง): 7. 13 มกราคม 2541.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานหก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′08″N 100°29′46″E / 13.752350°N 100.496111°E
สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานเจริญศรี 34 |
สะพานหก |
ท้ายน้ำ สะพานช้างโรงสี |