สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ (อีเฟีย) เป็นองค์กรนอกภาครัฐไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งขึ้นที่เมืองลอนดอน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 โดยสมาคมนักประดิษฐ์เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ [2]
ประเภท | สาธารณะ |
---|---|
ก่อตั้ง | ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (11 กรกฎาคม 1968 ) |
ผู้ก่อตั้ง |
เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์") |
สำนักงานใหญ่ | , Switzerland |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
สมาชิก | 95 ประเทศและเขตดินแดน [1] |
เว็บไซต์ | www |
IFIA เป็นเพียงองค์กรเดียวที่รวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์ทั่วโลก และเป็นโฆษกเฉพาะให้เหล่านักประดิษฐ์
การขึ้นทะเบียนแก้ไข
อีเฟียได้รับการขึ้นทะเบียนในฐานะผู้ดำเนินการสำคัญ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สาธารณรัฐและรัฐเจนีวาInternational Geneva ซึ่งเป็นการรวมตัวพิเศษเฉพาะขององค์กรระหว่างประเทศ คณะผู้แทนถาวร เอ็นจีโอ และสำนักวิชาต่าง ๆ ได้ยอมรับให้IFIA เป็นหนึ่งในหุ้นส่วนสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา [3]
ประวัติของอีเฟียแก้ไข
อีเฟียเป็นองค์กรนอกภาครัฐระดับโลกของสมาคมและองค์กรนักประดิษฐ์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 เป้าหมายหลักคือการผนึกสัมพันธ์และสนับสนุนนักประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ และแสดงความสนใจที่มีร่วมกัน ภารกิจขององค์กรคือการเผยแพร่วัฒนธรรมการประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อปกป้องสิทธิของนักประดิษฐ์และส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์และการประกอบธุรกิจ IFIA ก่อตั้งขึ้นที่เมืองลอนดอน ด้วยความร่วมมือของเหล่าตัวแทนประเทศทางยุโรปทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรสหประชาชาติโดยตรง และมีการร่วมมือกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโพ) องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูนิโด) สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (อีโพ) และ สมาพันธ์ยุโรปเพื่อนวัตกรรม ( European Alliance for Innovation ; EAI)
กิจกรรมหลักของอีเฟียแก้ไข
- พัฒนาสถานภาพของนักประดิษฐ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรนักประดิษฐ์
- รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์ การประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อเผยแพร่ทั่วโลก
- พินิจพิเคราะห์กฎหมายภายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศสม่ำเสมอ เพื่อปฏิรูปใหม่ ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแวดวงนวัตกรรมและตามการพิจารณาสิทธิของนักประดิษฐ์
- ปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ IFIA
- สร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประดิษฐ์และนวัตกรรม เกื้อหนุนโครงงานของนักประดิษฐ์ให้มีการพัฒนาไปเป็นธุรกิจ และเพิ่มคุณค่าของนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์
เพื่อให้ตระหนักถึงกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น IFIA ได้จัดและสนับสนุนงานต่าง ๆ ได้แก่
- ตีพิมพ์หนังสืออ้างอิง คู่มือ แบบสำรวจ และรายงานการค้นคว้า
- จัดงานประชุม สัมมนา งานประชุมเชิงปฏิบัติการ งานประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และปาฐกถา
- การแข่งขันและมอบรางวัลให้กับนักประดิษฐ์
- งานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์
- ให้การสนับสนุนในการสร้างสมาคมนักประดิษฐ์
- ให้คำปรึกษา
- สร้างเครือข่ายนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมการประดิษฐ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
อีเฟียคืออะไรแก้ไข
สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ (อีเฟีย) มีสมาชิกกว่า 100 รัฐจาก 5 ทวีป วัตถุประสงค์หลักคือการสนับสนุนนักประดิษฐ์ ปกป้องสิทธิ และเชื่อมความสัมพันธ์ระดับนานาชาติอย่างเท่าเทียมกัน จากกิจกรรมแรกเริ่ม เป้าหมายหลักของอีเฟียคือการเผยแพร่วัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อสวัสดิภาพสังคม ส่งเสริมสถานภาพนักประดิษฐ์ และเป็นสัญลักษณ์ความสนใจร่วมกันของเหล่านักประดิษฐ์นานาชาติ บริการที่อีเฟียให้กับสมาชิก ได้แก่ การจัดนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความร่วมมือขององค์กรนานาชาติดังนั้นผู้จัดนิทรรศการและนักประดิษฐ์จะได้รับโอกาสอันดีเลิศในการแสดงสิ่งประดิษฐ์ของตน ได้รับข้อเสนอตกลงทางธุรกิจกับนักลงทุนและสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ อีเฟียยังจัดงานประชุมใหญ่ที่สมาชิกทุกคนสามารถเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดในเรื่องการประดิษฐ์ได้ แหล่งเงินทุนของอีเฟียได้มาจากค่าธรรมเนียมสมาชิก เงินบริจาค เงินจากผู้สนับสนุน เงินอุดหนุนสาธารณะ หรือจากแหล่งอื่น ๆ ที่ได้รับอำนาจตามกฎหมาย (ดูตามระเบียบข้อบังคับของอีเฟีย) เงินทุนจะได้รับการจัดสรรและใช้จ่ายตามเป้าหมายทางสังคมของสมาพันธ์ และกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่จะทำให้สมาพันธ์บรรลุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งขึ้น
สิ่งที่อีเฟียปฏิบัติแก้ไข
อีเฟียรวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์ ศูนย์นวัตกรรม มหาวิทยาลัย มูลนิธิ สโมสร และบริษัทต่าง ๆ ให้มาร่วมกันเผยแพร่วัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ นอกจากนั้น นักประดิษฐ์ยังได้รับข้อมูล การประสานงาน และโอกาสอันดีเยี่ยมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและขยายเครือข่าย สมาชิกอีเฟียจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระหว่างประเทศ งานประชุม งานเสวนาต่าง ๆ เพื่อจัดงานระหว่างประเทศภายใต้การดูแลของอีเฟีย เพื่อเชื่อมโยงสถิติระหว่างประเทศในแวดวงธุรกิจ โรงเรียนและวิทยาลัย เพื่อรับประโยชน์จากเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (เครือข่าย ยุโรป เอเชีย อาหรับ แอฟริกา อเมริกา ละตินอเมริกา เยาวชนและสตรี) และศูนย์การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการ สร้างนโยบาย การแก้ต่าง และการนำเสนอนวัตกรรม และเพื่อใช้ตราโลโก้และตัวย่ออีเฟียในเว็บไซต์ โบรชัวร์ และแค็ตตาล็อกของสมาชิก อีกทั้งอีเฟียยังเผยแพร่ข่าวและกิจกรรมของสมาชิกผ่านทางเว็บไซต์ทางการ นิตยสารและจดหมายข่าวอิเล็คทรอนิกส์ ให้รางวัลแก่ผู้จัดกิจกรรม ผู้สนับสนุน และตัวแทนระดับประเทศและระหว่างประเทศ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและงานสัมมนาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการทำธุรกิจและสิทธิบัตร แสดงตราโลโก้ของสมาชิกและรายละเอียดการติดต่อในฐานข้อมูลและเว็บไซต์ทางการ ตีพิมพ์หนังสืออ้างอิง คู่มือ แบบสำรวจ และรายงานการค้นคว้า และสนับสนุนการสร้างสมาคมนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์ และเครือข่ายระดับภูมิภาคจากหลากหลายประเทศ
กิจกรรมแรกเริ่มของอีเฟียแก้ไข
ในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนาอีเฟีย สมาคมต่าง ๆ จากประเทศแถบสแกนดิเนเวีย รวมทั้งเยอรมนี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจกรรมภายในอีเฟีย กิจกรรมแรกเริ่มอีเฟียยังได้รับเกียรติให้ทำงานร่วมกันกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโพ) อีเฟียยังได้โอกาสในการขยายกิจกรรมและรวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์จากหลากหลายประเทศ ส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนา ระหว่างช่วงแรกเริ่มของการก่อตั้งอีเฟีย ปัญหาสำคัญของระเบียบวาระอีเฟียคือความกลมกลืนของกฎหมายสิทธิบัตรในประเทศภายใต้ระบบ PCT ปัญหาเกี่ยวกับ “ระยะผ่อนผัน” สำหรับสิทธิบัตรและปัญหาเกี่ยวกับใบรับรองการประดิษฐ์คิดค้น ประมาณปี พ.ศ. 2518 ปัญหาหลักคือการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาและการให้บริการนักประดิษฐ์ ประมาณปี พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นเรื่องการขยายองค์กรอีเฟีย รวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ มีการจัดสัมมนาหลายครั้งเพื่อถกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่และนักประดิษฐ์หญิง ระเบียบข้อบังคับอีเฟียด้รับการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547
ผู้ร่วมมือกับอีเฟียแก้ไข
วัตถุประสงค์ของอีเฟียคือการยกระดับสถานภาพของนักประดิษฐ์ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสมาคมนักประดิษฐ์ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อีเฟียได้รับตำแหน่งเป็น
- ผู้สังเกตการณ์ที่องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก
- ผู้สังเกตการณ์ (กลุ่มพิเศษ – เทคโนโลยี) ที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
- สมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาในการควบคุมของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป
- สมาชิกของสาขาเอ็นจีโอที่มุ่งเน้นภายในสหประชาชาติเพื่อองค์กรนอกภาครัฐ ในฐานะที่ปรึกษาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
- หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของสมาพันธ์ยุโรปเพื่อนวัตกรรม
ประธานอีเฟีย (2557-2561)แก้ไข
- ด๊อกเตอร์ อาลีเรซา เรสทีจาร์ (Alireza RASTEGAR,Dr.Sc.)
ประธานกิตติมศักดิ์ อิเฟีย (2547 - ไม่กำหนดระยะเวลา)แก้ไข
- ด๊อกเตอร์ ฟารัก มอซซา (Farag MOUSSA,Dr.Sc.) จากสวิสเซอร์แลนด์ (พ.ศ. 2547 - ไม่กำหนดระยะเวลา)
ผู้บริหาร IFIA (พ.ศ. 2557 – 2559)แก้ไข
- ฮุสเซน (Husein HUJIC) จากบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา
- ศาสตราจารย์ มิคเอล (Michał SZOTA) จากโปแลนด์
- เลนนาร์ท (Lennart NILSON) จากสวีเดน
อดีตประธาน IFIAแก้ไข
รายนามประธานอีเฟีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2511
- A.W.RICHARDSON,Dr.Sc. เกาะบริเตนใหญ่ พ.ศ. 2511 - 2514
- Harald A.R.ROMANUS จากสวีเดน พ.ศ. 2514 - 2517
- FreidrichBURMESTER,Dr.Sc. จากเยอรมนี พ.ศ. 2517 - 2520
- Leif NORDSTRAND จากนอร์เวย์ พ.ศ. 2520 - 2525
- L.L.WARE,Dr.Se. จากสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2525 - 2527
- Torfin ROSENVINGE JOHNSEN จากนอร์เวย์ พ.ศ. 2527 - 2528
- Bo Goran WALLIN จากสวีเดน พ.ศ. 2528 - 2530
- Clarence P.FLEDMANN จากสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2530 - 2533
- FaragMOUSSA,Dr.Sc. จากสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2530 - 2549
- AndrásVEDRES,Dr.Sc. จากฮังการี พ.ศ. 2549 – 2553 - 2557
สมาชิกแก้ไข
ตามระเบียบข้อบังคับอีเฟีย “สมาชิกของสมาพันธ์เป็นทั้งสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงสมาชิกที่ไม่มีสิทธิออกเสียง และสมาชิกกิตติมศักดิ์” กล่าวคือ สมาชิกอีเฟียสามารถเป็นสมาคม สถาบัน มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในแวดวงการประดิษฐ์และนวัตกรรม สมาชิกอีเฟียมาจาก 95 ประเทศได้แก่
ตารางสมาชิกแก้ไข
ลำดับ | ประเทศ | ลำดับ | ประเทศ | ลำดับ | ประเทศ |
---|---|---|---|---|---|
1 | อาร์เจนตินา | 39 | ไอร์แลนด์ | 77 | สโลวาเกีย |
2 | อัฟกานิสถาน | 40 | อิรัก | 78 | สโลเวเนีย |
3 | ออสเตรีย | 41 | ญี่ปุ่น | 79 | สเปน |
4 | ออสเตรเลีย | 42 | คาซัคสถาน | 80 | ศรีลังกา |
5 | บาห์เรน | 43 | เคนยา | 81 | อัฟริกาใต้ |
6 | บังคลาเทศ | 44 | สาธารณรัฐเกาหลี | 82 | ซูดาน |
7 | เบนิน | 45 | คูเวต | 83 | แทนซาเนีย |
8 | โบลิเวีย | 46 | ลัตเวีย | 84 | ตูนีเซีย |
9 | บอสเนียและเฮอเซโกวินา | 47 | เลบานอน | 85 | ตุรกี |
10 | บราซิล | 48 | ลิเบีย | 86 | ไทย |
11 | บัลกาเรีย | 49 | มาเก๊า | 87 | โตโก |
12 | บุรุนดี | 50 | มาซิโดเนีย | 88 | สหรัฐอาหรับเอมิเรต |
13 | คาเมรูน | 51 | มาเลเซีย | 89 | สหราชอาณาจักร |
14 | แคนาดา | 52 | มาลี | 90 | อุรุกวัย |
15 | จีน | 53 | มอริเตเนีย | 91 | สหรัฐอเมริกา |
16 | ชาด | 54 | มองโกเลีย | 92 | เวียดนาม |
17 | คองโก | 55 | โมรอคโค | 93 | เยเมน |
18 | สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | 56 | เนปาล | 94 | ซิมบับเว |
19 | โกตดิวัวร์ | 57 | เนเธอร์แลนด์ | 95 | ยูเครน |
20 | โครเอเชีย | 58 | ไนเจอร์ | ||
21 | คิวบา | 59 | ไนจีเรีย | ||
22 | ไซปรัส | 60 | นอร์เวย์ | ||
23 | สาธารณรัฐเชค | 61 | ปากีสถาน | ||
24 | เดนมาร์ก | 62 | เปรู | ||
25 | สาธารณรัฐโดมินิกัน | 63 | ปาเลสไตน์ | ||
26 | อียิปต์ | 64 | ฟิลลิปปินส์ | ||
27 | เอลซาวาดอร์ | 65 | โปแลนด์ | ||
28 | เอสโตเนีย | 66 | กาตาร์ | ||
29 | ฟินแลนด์ | 67 | โรมาเนีย | ||
30 | ฝรั่งเศส | 68 | รัสเซีย | ||
31 | จอร์เจีย | 69 | ซาอุดิอารเบีย | ||
32 | เยอรมนี | 70 | เซเนกัล | ||
33 | ฮังการี | 71 | เซอร์เบีย | ||
34 | ฮ่องกง | 72 | สิงคโปร์ | ||
35 | ไอซ์แลนด์ | 73 | สวีเดน | ||
36 | อินโดนีเซีย | 74 | สวิตเซอร์แลนด์ | ||
37 | อินเดีย | 75 | ซีเรีย | ||
38 | อิหร่าน | 76 | ไต้หวัน |
ความเป็นผู้นำแก้ไข
- สมัชชา: คณะกรรมการสูงสุดของสมาพันธ์ ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกที่มีความตื่นตัวสูงสุด
- ประธานสมาพันธ์คือผู้อำนวยการบริหาร เลือกตั้งโดยสมัชชา มีอำนาจในตำแหน่ง 4 ปี
- คณะผู้บริหารระดับสูงคือผู้วางนโยบายและผู้บริหารงาน เลือกตั้งโดยสมัชชา มีอำนาจในตำแหน่ง 2 ปี
- ผู้อำนวยการและที่ปรึกษาประธานคือผู้ช่วยและผู้ร่วมงานใกล้ชิดของประธาน ได้รับการแต่งตั้งโดยประธาน มีอำนาจในตำแหน่ง 2 ปี
คณะผู้บริหารระดับสูงของอีเฟียแก้ไข
สมาชิกคณะผู้บริหารระดับสูงของ IFIA พ.ศ. 2557 - 2559
ลำดับ | ประเทศ | ประธาน |
---|---|---|
1 | บอสเนียและเฮอเซโกวินา | Mladan KARIC,M.Sc. |
2 | บราซิล | Marcelo VIVACQUA,Dr.Sc. |
3 | จีน | Zengpei XUAN,Dr.Sc. |
4 | โครเอเชีย | Zoran BARISIC,M.Sc. |
5 | เดนมาร์ก | Mrs. Vivi AEKJAER |
6 | เยอรมนี | Winfried STURM |
7 | ไอซ์แลนด์ | Mrs. Elinora Inga SIGURDARDOTTIR |
8 | อินเดีย | Aynampudi SUBBARAO,Dr.Sc. |
9 | อิหร่าน | Hossein VAEZI |
10 | อิรัก | Hazim Jabbar Al-DARAJI,Prof. |
11 | สาธารณรัฐเกาหลี | Shin KYOUNG-HO |
12 | ไนเจอร์ | Idrissa Hassane SOULAY,Dr.SC. |
13 | ไนจีเรีย | Joel Shaka MOMODU |
14 | ฟิลิปปินส์ | Billy MALANG,Dr.Sc. |
15 | โปแลนด์ | Ms,Agnieszka MIKOLAJSKA, Dr.Sc.Student |
16 | โปรตุเกส | Fernando LOPES |
17 | รัสเซีย | Vladimir PETRIASOV |
18 | สโลเวเนีย | Ms.Ana HAFNER, Dr.Sc. |
19 | สวีเดน | Cenneth LINDKVIST |
Referencesแก้ไข
- ↑ "IFIA Members". IFIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-18.
- ↑ United Nations Office, Geneva (2001). International Geneva Yearbook 2001-2002: Organization and Activities of International Institutions in Geneva. United Nations Publications. p. 439. ISBN 92-1-000139-7.
- ↑ http://www.geneve-int.ch/international-federation-inventors-association-ifia-0