สวนหว่างซือ (อังกฤษ: Master of the Nets Garden; จีนตัวย่อ: 网师园; จีนตัวเต็ม: 網師園; พินอิน: Wǎngshī Yuán) ในเมืองซูโจว (Suzhou) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณทรงคุณค่าที่สุดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 11 ถนนไต้เฉิงเฉี่ยว ในเขตกูซู (เดิมเรียก เขตชางหลาง) (沧浪区带城桥路阔家头巷11号) และได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสวนโบราณเมืองซูโจวแห่งอื่นๆ ด้วย การออกแบบสวนแสดงถึงทักษะชั้นสูงของนักออกแบบซึ่งสามารถผสมผสานศิลปะ ธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกันอย่างงดงามและเป็นหนึ่งเดียวได้ สวนหว่างซือได้รับการชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ศึกษาการออกแบบในด้านมิติ ความชัดลึก ความแตกต่างหรือตัดกัน และการหยิบยืมมุมมอง (borrowed scenery)

สวนโบราณเมืองซูโจว *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศจีน
ภูมิภาค **เอเชีย
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v
อ้างอิง813
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1997 (คณะกรรมการสมัยที่ เอเชีย)
เพิ่มเติม2000
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประวัติ แก้

สวนหว่างซือถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1140 มีชื่อว่า โถงหนึ่งหมื่นเล่ม (อังกฤษ: Ten Thousand Volume Hall; จีนตัวย่อ: 万卷堂) โดย สือเจิ้งจี้ (Shi Zhengzhi; 史正志) ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเสนาบดี สมัยการปกครองของราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งตรงกับตำแหน่ง "ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการพลเรือน (the Deputy Civil Service Minster)" ในปัจจุบัน[1] ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตอันเรียบง่ายและสันโดษของชาวประมงที่อยู่ในงานเขียนของปรัชญาจีน หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง สวนหว่างซือก็ผ่านการเป็นเจ้าของจากผู้คนจำนวนมาก และในปี ค.ศ. 1785 ซึ่งเป็นช่วงที่ตกต่ำ สวนแห่งนี้ก็ได้รับการบูรณะใหม่โดยซ่ง จงหยวน (Song Zongyuan; 宋宗元) ข้าราชการเกษียณอายุสมัยราชวงศ์ชิง [1] เขาได้ปรับปรุงการออกแบบสวนใหม่อย่างมาก และยังเพิ่มจำนวนอาคารภายในสวนอีกหลายแห่ง แต่ยังคงจิตวิญญาณของสวนแห่งนี้ไว้ โดยเขามักเรียกตัวเองว่าเป็นชาวประมง และเปลี่ยนชื่อสวนเป็น "สวนเจ้าของอวน (Master of the Nets Garden)" ที่มีความเกี่ยวโยงถึงชีวิตที่เรียบง่ายของชาวประมง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1795 ได้เปลี่ยนเจ้าของเป็น ชูหย่วนคุน (Qu Yuancun; 瞿远村) นักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์และวรรณคดี เขาได้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนอาคาร เพิ่มต้นไม้ และจ้ดวางหินใหม่ ในช่วงเวลานี้สวนหว่างซือได้รับฉายาว่า สวนชู (Qu's Garden) และยังได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์เป็นครั้งแรก เมื่อเจ้าของเปลี่ยนเป็น หลี่หงยี่ (Li Hongyi; 李鸿裔) ข้าราชการในองค์พระจักรพรรดิและนักเขียนอักษรวิจิตรในปี ค.ศ. 1868 [1] เขาได้จารึกหินกว่าครึ่งที่อยู่ในสวนแห่งนี้ ต่อมามีการเปลี่ยนมือเจ้าของเป็นเหอซัวฉาง (He Chang; 和收藏) ในปี ค.ศ. 1940 ผู้ซึ่งบูรณะปรับปรุงสวนใหม่และยังเลี่ยนชื่อสวนกลับมาเป็นชื่อ "สวนหว่างซือ (Master of Nets Garden)" อีกครั้ง[1] ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในพินัยกรรมระบุให้ทายาทบริจาคสวนแห่งนี้ให้แก่ทางการ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1958 เหอเจอหุย (He Zehui) ลูกสาวของเขาจึงได้ส่งมอบสวนนี้ให้แก่เมืองซูโจว

ช่วงศตวรรษที่ 18 สวนหว่างซือได้รับการยอมรับในความมีชื่อเสียงด้านดอกโบตั๋น (peonies) เฉียนต้าซิน (Qian Daxin) ระบุไว้ในจดหมายเหตุสวนหว่างซือ (Notes on the Master of Nets Garden) ของเขาว่า "เป็นการผสมผสานอันรื่นรมย์ของหมู่บ้านและเมือง (A good integration of the delights of the village and town)"[1] นักวิจารณ์สมัยใหม่ เฉินฉงซู (Chen Congzhou) ก็ได้กล่าวถึงสวนนี้ไว้ในหนังสือสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียง (Famous Classical Gardens of China) ว่าเป็นสวนที่ดีที่สุดของศิลปะสวนจีนโบราณ [1]

การออกแบบ แก้

พื้นที่สวนทั้งหมดประมาณ 5,400 ตารางเมตร ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นส่วนตะวันออกและตะวันตก[2] สวนตะวันออกประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย ในขณะที่บริเวณสวนจะอยู่ทางฝั่งตะวันดก

สวนตะวันออกที่เป็นส่วนที่พักอาศับ ประกอบด้วยโถงต่างๆ เรียงรายตามลำดับถึง 4 โถง รวมถึงสวน 4 แห่ง ส่วนสวนตะวันตกประกอบด้วยอาคารต่างๆ ล้อมรอบสระเมฆสีกุหลาบ (Rosy Cloud Pool) ขนาดพื้นที่ 334 ตารางเมตร ประดับด้วบหินและต้นไม้ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ความงามให้แก่สวนหว่างซือ และสร้างมุมมองที่เป็นตัวแทนของหลายๆ ฤดู มีศาลาแปดหลี่ยมริมมสระน้ำ องค์ประกอบที่โดดเด่นสองส่วนคือ ต้นสนไซปรัสโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (Barrier of Cloud grotto) และสนที่มีอายุหลายร้อยปี พื้นที่ทางทืศใต้ของสระน้ำเคยถูกใช้เป็นที่สังสรรค์พบปะ ส่วนพื้นที่ทางทิศเหนือของสระน้ำเคยถูกใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ อาคารต่างๆ โดยรอบสระน้ำถูกจัดวางให้อยู่ใกล้กับน้ำมาก โดยอาคารขนาดเล็กจะตั้งอยู่บนโขดหินหรือยื่นลงไปในน้ำ ส่วนอาคารขนาดใหญ่จะมีสวนเล็กๆ กั้นระหว่างอาคารและสระน้ำ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 World Cultural Heritage, 2004
  2. Suzhou, 2009

บรรณานุกรม แก้

  • Suzhou China (2009), The Master-of-Nets Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-26, สืบค้นเมื่อ 2009 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Terebess Hungary LLC. (2009), The Master-of-Nets Garden, สืบค้นเมื่อ 2009 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

31°18′01.20″N 120°37′47.60″E / 31.3003333°N 120.6298889°E / 31.3003333; 120.6298889