สวนหลิว (อังกฤษ: Lingering Garden; จีนตัวย่อ: 留园; จีนตัวเต็ม: 留園; พินอิน: Liú Yuán) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียง อยู่ทางด้านตะวันตกของเมืองซูโจว ตั้งอยู่เลขที่ 338 ถนนหลิวหยวน (留园路338号) เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี ค.ศ. 1997 สวนหลิวยังมีมรดกโลกทางด้านศิลปะ (UNESCO Intangible World Heritage Arts) อีก 2 ชิ้นคือ ผิงถาน (อังกฤษ: Pingtan; จีนตัวย่อ:评弹) และกู่ฉิน (อังกฤษ: Guqin; จีนตัวย่อ: 古琴) ด้วย

Classical Gardens of Suzhou *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Auspicious Cloud Capped Peak
ประเทศ China
ภูมิภาค **Asia-Pacific
ประเภทCultural
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v
อ้างอิง813
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st)
เพิ่มเติม2000
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประวัติ แก้

สวนหลิวตั้งอยู่ด้านนอกของประตูชางเหมิน (แปลว่า ประตูสวรรค์ หรือประตูพระราชวัง; อังกฤษ: Changmen gate; จีนตัวย่อ: 阊门) ของเมืองซูโจว ในปี ค.ศ. 1593 สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ (อังกฤษ: Wanli; จีนตัวย่อ: 万历) แห่งราชวงศ์หมิง สูไท่ฉรือ (อังกฤษ: Xu Taishi; จีนตัวย่อ: 徐泰时) ข้าราชการผู้ซึ่งเคยถูกกล่าวโทษและภายหลังพ้นจากความผิด ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการก่อสร้าง โดยมีช่างหินชื่อ โจวชื่อเฉิง (อังกฤษ: Zhou Shicheng; จีนตัวย่อ:周时臣) เป็นผู้ออกแบบและสร้างสวนแห่งนี้ ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกว่า สวนตะวันออก (อังกฤษ: the East Garden; จีนตัวย่อ:东园) ต่อมาเมื่อผู้ปกครองมณฑลอู๋และมณฑลฉางโจวได้กล่าวยกย่องความสวยงามและการออกแบบหิน Shi Ping Peak ที่สร้างเลียนแบบเขาเทียนไท่ (อังกฤษ: Tiantai Mountain; จีนตัวย่อ: 天台山) สวนตะวันออกจึงกลายเป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น[1]

ในปี ค.ศ. 1798 เจ้าของสวนชื่อ หลิวซู (Liu Su) ได้ปรับปรุงสวนใหม่และให้ชื่อสวนว่า "Cold Green Village" ตามบทกวีที่มีใจความว่า "สีเย็นสะอาดตาของต้นใผ่และแสงสีเขียวสดใสของพื้นน้ำ (clean cold colour of bamboo, limpid green light of water)" นอกจากนั้นเขายังได้เพิ่มต้นไพน์และต้นไผ่เข้าไปในการตกแต่งสวนเพื่อให้ได้ทัศนียภาพดังคำกวีนี้ หลังจานนั้นไม่นาน สวนตะวันออกนี้ก็ถูกเรียกชื่อว่า "สวนหลิว (Liu Yuan)" ตามชื่อสกุลของเจ้าของสวนผู้นี้เอง

ในปี ค.ศ. 1823 สวนแห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชมได้ ทำให้สวนหลิวกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา[1]

ในช่วงกบฏไท่ผิง สวนหลิวก็ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกับสวนโบราณอื่นๆ ในเมืองซูโจว เจ้าของสวนในสมัยนั้น คือ เชิ่งกัง (Sheng Kang) ซึ่งเป็นข้าราชการผู้ดูแลการคลัง (a provincial treasurer) ของมณฑลหูเป่ย์ (Hubei) จึงได้บูรณะสวนขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1873 และใช้เวลาในการบูรณะครั้งนี้นานถึง 3 ปี จึงเสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1876 หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อสวนเป็น "สวนหลิว (ใช้อักษรจีนที่แตกต่างกัน คือ 留园, Liu Yuan)"[2] ซึ่งชื่อนี้เป็นคำพ้องเสียงกับชื่อเดิมของสวนที่ตั้งตามชื่อเจ้าของเดิม และมีความหมายโดยนัยว่า การพักผ่อน ความไม่รีบร้อน ในช่วงเวลานี้เองที่หินหยุนถิง (Auspicious Cloud Capped Peak) ได้ย้ายมาตั้ง ณ ตำแหน่งปัจจุบันภายในสวน[1] หลังจากนั้นสวนนี้ก็เป็นมรดกตกทอดถึงเชิ่งซวนไหว๋ (อังกฤษ: Sheng Xuanhuai; จีนตัวย่อ: 盛宣怀) ผู้เป็นลูกชาย ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1911 เขาได้ย้ายออกไป ทำให้สวนหลิวอยู่ในสภาพทรุดโทรมลงหลังจากนั้นมา

ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War) สวนหลิวก็ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายยิ่งกว่าเดิมเนื่องจากภาวะของสงคราม และยังถูกใช้เป็นสถานที่เพาะพันธุ์ม้าศึกอีกด้วย ต่อมาเมือมีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (the People's Republic of China) เมืองซูโจวได้เข้าครอบครองสวนพร้อมบูรณะใหม่อีกครั้ง และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ประชาชนเข้าชมได้ในปี ค.ศ. 1954[2] ในปี ค.ศ.1997 สวนหลัวก็ได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองซูโจวมาจนถึงปัจจุบัน

การออกแบบ แก้

สวนหลิวมีการพื้นที่ทั้งหมด 23,310 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ สวนทางเข้าหรือด้านเหนือ (Entry Garden หรือ North Garden) สวนส่วนกลาง (Central Garden) สวนตะวันออก (East Garden) และสวนตะวันตก (West Garden)[3] ภายในสวนมีทั้งเนินเขา สระน้ำ ที่พักอาศัย และสวนหิน

สวนส่วนกลางเป็นส่วนที่มีอายุเก่แก่ที่สุดของสวนนี้ มีกลุ่มอาคารเป็นองค์ประกอบหลักในสวนซึ่งกินพื้นที่ถึงหนึ่งในสามของพื้นที่สวนทั้งหมด มีเอกลักษณ์ของสวนคือ ทางเดินที่คลุมด้วยหลังคายาว 700 เมตรที่เชื่อมต่อบริเวณต่างๆ เข้าด้วยกัน[3]

ส่วนทางด้านสวนตะวันออกจะมีการลักษณะการจัดวางตำแหน่งล้อมรอบหินหยุนถิง "Auspicious Cloud Capped Peak" สูง 6.5 เมตร ที่ได้มาจากทะเลสาบไท่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเป็นศูนย์กลาง ซึ่งอยู่บริเวณใจกลางสวนมีสระน้ำตามแบบสวนจีน รายล้อมด้วยหอสูง ศาลา ถัดไปเป็น "the Old Hermit Scholars' House" "the Small Court of Stone Forest" และส่วนจัดแสดง "Scholar stones (หินลักษณะสวยงามที่ได้รับการยอมรับจากบรรดาบัณฑิต)"

ด้านสวนตะวันตกซึ่งมีลักษณะเป็นธรรมชาติมากกว่าเพราะมีอาคาร ศาลาต่างๆ เป็นจำนวนน้อยกว่า มีเขาจำลองใหญ่ และสวนถาดหรือบอนไซ (Penzai) อยู่ในส่วนนี้

บริเวณโดยรอบสวนประกอบด้วยห้องและโถงต่างๆ 42 ห้อง มีหน้าต่างลูกกรงลวดลายสวยงามมากกว่า 200 หน้าต่าง หินแกะสลัก 44 แท่ง หินจารึกถึง 373 แท่ง ต้นไม้โบราณสูงค่ามากกว่า 8 ชนิด รวม 17 ต้น เช่น ต้นแปะก๊วย ต้นวิสเทอเรีย เป็นต้น[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Yuan (袁), Xuehan (2004). "The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林)". CIP. p. 217. ISBN 7-214-03763-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-13. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. 2.0 2.1 (Map) (2003 ed.). UNESCO http://whc.unesco.org/en/list/813. สืบค้นเมื่อ 2009. {{cite map}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 Ministry of Culture, P.R. China (2003). "Lingering Garden". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Official website of Lingering Garden". 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

อ่านเพิ่ม แก้

บรรณานุกรม แก้

  • Garden Visit, 2008, สืบค้นเมื่อ 2009 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • Terebess LLC (June 24, 2004), The Lingering Garden, สืบค้นเมื่อ 2009-02-30 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD, The Lingering Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009-02-30 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

31°19′03.10″N 120°35′17.20″E / 31.3175278°N 120.5881111°E / 31.3175278; 120.5881111