สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (10 มกราคม พ.ศ. 2456 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2550) เป็นผู้ประพันธ์คำร้องในเพลงพระราชนิพนธ์ ค่ำแล้ว, มหาจุฬาลงกรณ์, เมื่อโสมส่อง, ลมหนาว, พณิชยการพระนคร
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ผลชีวิน) เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นธิดาคนโตของพระพิสัณห์พิทยาภูณ (โชติ ผลชีวิน) และหม่อมหลวงสมบุญ ผลชีวิน (ราชสกุลเดิม เดชาติวงศ์) มีพี่น้อง 10 คน น้องชายของเธอคนหนึ่ง คือสุภร ผลชีวิน
เธอจบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจึงเริ่มรับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยดำรงตำแหน่งสุดท้าย เป็นผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเทคนิค
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2507) โอรสในหม่อมเจ้าชายมงคลประวัติ สวัสดิกุล มีบุตรธิดา 2 คน คือหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล (ถึงแก่กรรม) และหม่อมหลวงดารัตน์ สวัสดิกุล
ท่านผู้หญิงสมโรจน์มีความสามารถด้านการประพันธ์ ด้านภาษาไทย และวรรณกรรม เคยถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้านามว่าท่านผู้หญิง
ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550 สิริอายุ 94 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2526" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 (ตอนที่ 84ง ฉบับพิเศษ): หน้า 13. 20 พฤษภาคม 2526.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 108 (ตอนที่ 166ง ฉบับพิเศษ): 2. 9 กันยายน 2534. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)