สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (28 เมษายน พ.ศ. 2406 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2490) เป็นพระราชวงศ์สยาม อภิรัฐมนตรี นายพล นักปราชญ์ และพหูสูต นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม"[3]เนื่องจากพระปรีชาสามารถด้านงานช่างของพระองค์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าชั้นโท | |||||||||
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 12 มกราคม พ.ศ. 2477[1][2] - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] | ||||||||
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา | ||||||||
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2435 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ | ||||||||
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2435 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2436 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนากระทรวง | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ | ||||||||
ดำรงตำแหน่ง 2 กันยายน พ.ศ. 2444 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2450 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ | ||||||||
ถัดไป | พระยาสุริยานุวัตร | ||||||||
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2437 – 2 กันยายน พ.ศ. 2442 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาพลเทพ (ในฐานะ สมุหพระกลาโหม) | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม | ||||||||
เสนาบดีกระทรวงวัง | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ | ||||||||
อภิรัฐมนตรี | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
องคมนตรี | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 – พ.ศ. 2435 | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ผู้บัญชาการกรมยุทธยาธิการ | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง มีนาคม พ.ศ. 2439 – เมษายน พ.ศ. 2442 | |||||||||
เสนาบดี | พระองค์เอง | ||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ||||||||
ถัดไป | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ||||||||
ประสูติ | 28 เมษายน พ.ศ. 2406 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) | ||||||||
สิ้นพระชนม์ | 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 (83 ปี) วังคลองเตย จังหวัดพระนคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน กรุงเทพมหานคร) | ||||||||
พระราชทานเพลิง | 19 เมษายน พ.ศ. 2493 พระเมรุ ท้องสนามหลวง | ||||||||
หม่อม | หม่อมราชวงศ์ปลื้ม ศิริวงศ์ มาลัย เศวตามร์ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ | ||||||||
| |||||||||
พระบุตร | 9 องค์ | ||||||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||||||
ราชสกุล | จิตรพงศ์ | ||||||||
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
พระมารดา | พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย | ||||||||
ศาสนา | เถรวาท | ||||||||
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง ศิลปิน นักวิชาการ | ||||||||
ลายพระอภิไธย | |||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||
รับใช้ | สยาม | ||||||||
แผนก/ | กองทัพสยาม | ||||||||
ชั้นยศ | พลเอก | ||||||||
บังคับบัญชา | รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ | ||||||||
พระประวัติ
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 แรกประสูติมีสกุลยศเป็นพระองค์เจ้า และได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถโดยมีพระราชหัตถเลขา ดังนี้[4]
"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรชายที่ประสูติจากหญิงแฉ่พรรณรายผู้มารดา ในวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนเบญจศกนั้นว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ สิงหนาม ขอจงมีความเจริญชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ สุวรรณหิรัญรัตนยศบริวารศฤงคารศักดานุภาพ ตระบะเดชพิเศษคุณสุนทรศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลพิบุลยผลทุกประการ เทอญ"
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถสวรรคต พระองค์มีพระชันษาเพียง 5 ปี แต่ทรงจำถึงตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระราชบิดาทรงประทับนั่งที่เก้าอี้ที่หมุนได้ ทรงฉลองพระองค์สีแดงสด"
ในปี พ.ศ. 2428 ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ[5] นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชดำริว่า หม่อมเจ้าพรรณราย พระมารดาในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษนั้น นับเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดังนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษจึงมีพระอัยการ่วมกับพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ ขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ พร้อมกันนี้ทรงสถาปนาพระเชษฐภคินีในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ ขึ้นเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา ด้วย[6]
นอกจากนี้พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[7][8] เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
หลังจากที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[9] เสนาบดีกระทรวงพระคลัง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการทหารเรือ จนกระทั่งได้รับพระราชทานพระยศเป็น พลโท เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศที่ "กรมหลวง" ได้ กอปรกับการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นพระโสทรานุชา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงษ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2448[10]
เมื่อ พ.ศ. 2452 พระองค์ประชวรด้วยโรคพระหทัยโตขณะที่ยังทรงรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ทรงขอ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ด้วยพระโรคที่พระองค์เป็นอยู่นั้นไม่เอื้ออำนวยให้พระองค์ทรงสามารถรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ได้ แต่พระองค์ก็ยังคงรับราชการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงออกแบบงานต่าง ๆ ตามพระราชประสงค์ เช่น พระโกศพระบรมอัฐิและพระวิมานทองคำลงยาราชาวดีสำหรับประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการเลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงษ์ ขึ้นเป็นกรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[11] สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศ์นฤบดินทร ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรราชปิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นอภิรัฐมนตรี[12] ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[13]
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระราชโองการให้เลื่อนเป็นกรมพระยา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ มหามกุฎพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธิวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร ทรงศักดินา 50000[14]
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการจนพระกำลังพระปัญญาเสื่อมลงทุกที ด้วยทรงพระชราด้วยโรคภัยเบียดเบียน คือ โรคพระหทัยโต หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคเส้นพระโลหิตแข็ง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 จึงสิ้นพระชนม์โดยสงบ ขณะมีพระชันษาได้ 83 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุด และเป็นพระองค์เดียวที่มีพระชนม์ชีพมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 15 วัน[15] และพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ประดับพุ่มเฟื่อง แทนพระโกศทองน้อยที่ทรงพระศพอยู่แต่เดิม เป็นการเพิ่มพระเกียรติยศขึ้นเป็นพิเศษ โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล[16]
พระกรณียกิจ
แก้ด้านราชการ
แก้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีหลายกระทรวง ประกอบไปด้วย กระทรวงโยธาธิการ[17][18] กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง[19] ทั้งยังดำรงตำแหน่งองคมนตรีและรัฐมนตรีสภา[20] และสมาชิกสภาการคลัง[21]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์ มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชวงศ์พระองค์ใดที่มีกิจที่ไม่ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ติดต่อกราบบังคมทูลต่อพระองค์แทน[22] นอกจากนี้ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476[23] จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ด้านศิลปกรรม
แก้งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า "เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น"
ด้านสถาปัตยกรรม
แก้- การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442
- การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121 (พ.ศ. 2445) หรือ ร.ศ. 121
งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"
ด้านภาพจิตรกรรม
แก้- ภาพเขียน
- ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)
- ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม
- ภาพแบบพัดต่าง ๆ
ฯลฯ
ด้านออกแบบ
แก้- ออกแบบตรากระทรวงต่าง ๆ
- อนุสาวรีย์ทหารอาสา
- อนุสาวรีย์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- อุทกทาน (องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา)
- พระปฐมบรมราชานุสรณ์เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
- พระเมรุมาศ และพระเมรุของพระบรมวงศ์หลายพระองค์
- พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐาน ห้องกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ตึกไชยันต์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส สร้างอุทิศถวายและบรรจุพระอัฐิ และพระอังคาร ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
ด้านวรรณกรรม
แก้มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี, ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่าง ๆ เช่น จดหมายเวรโต้ตอบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลายพระหัตถ์ประทานความรู้ในลักษณะจดหมายโต้ตอบพระสารประเสริฐและพระยาอนุมานราชธน เรื่องภาษาและประเพณี ลายพระหัตถ์โต้ตอบเหล่านี้ เป็นเหมือนคลังความรู้สำหรับผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าทั่วไป
ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
แก้ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ
- เพลงพระนิพนธ์
- เพลงสรรเสริญพระบารมี (คำร้อง)
- เพลงเขมรไทรโยค
- เพลงตับ เช่น ตับแม่ศรีทรงเครื่อง ตับเรื่องขอมดำดิน
ด้านบทละคร
แก้ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น
- สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
- คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง
- อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง
- รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา
พระโอรสและพระธิดา
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลจิตรพงศ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ปลื้ม (ราชสกุลเดิม: ศิริวงศ์) พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นสะใภ้หลวง
- หม่อมมาลัย (สกุลเดิม: เศวตามร์) ธิดาพระสาครสมบัติ (เผือก เศวตามร์)
- หม่อมราชวงศ์โต (ราชสกุลเดิม: งอนรถ) ธิดาในหม่อมเจ้าแดง งอนรถ กับหม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 9 พระองค์ เป็นชาย 5 พระองค์ และหญิง 4 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (ท่านหญิงเอื้อย) |
หม่อมราชวงศ์ปลื้ม | 6 มกราคม พ.ศ. 2433 | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459 | ||
2. หม่อมเจ้าอ้าย (ท่านชายอ้าย) |
ที่ 1 ในหม่อมมาลัย | ไม่ทราบปี | 5 กันยายน พ.ศ. 2446 | ||
3. หม่อมเจ้าเจริญใจ (ท่านชายยี่) |
ที่ 2 ในหม่อมมาลัย | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 | หม่อมอ่อน | |
4. หม่อมเจ้าสาม (ท่านชายสาม) |
ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์โต | พ.ศ. 2447 | พ.ศ. 2447 | ||
5. หม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร ไชยันต์ (ท่านหญิงอี่) |
ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์โต | 8 มีนาคม พ.ศ. 2448 | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ | |
ไฟล์:หม่อมเจ้าดวงจิตร.JPG | 6. หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร (ท่านหญิงอาม) |
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์โต | 26 กันยายน พ.ศ. 2451 | 6 กันยายน พ.ศ. 2548 | |
7. หม่อมเจ้ายาใจ (ท่านชายไส) |
ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์โต | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2453 | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | หม่อมจักลิน (ดูบัวส์) | |
8. หม่อมเจ้าเพลารถ (ท่านชายงั่ว) |
ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์โต | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 | หม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ (ดิศกุล) | |
9. หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา (ท่านหญิงไอ) |
ที่ 6 ในหม่อมราชวงศ์โต | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 |
พระยศ
แก้พลเอก นายกองตรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | พลเอก |
พระยศทหาร
แก้พระยศพลเรือน
แก้- 22 กันยายน พ.ศ. 2455 - มหาเสวกเอก[27]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะยะค่ะ/เพคะ |
- 28 เมษายน พ.ศ. 2406 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2428 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2428 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
- 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 : พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศ์นฤบดินทร ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรราชปิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร
- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ดังนี้[28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2481 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า) (ดาราประดับเพชร)[29]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[30]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[31] (สังวาลจุลจอมเกล้าลงยาราชาวดี)[32]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[33]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[34]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[35]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[36]
- พ.ศ. 2433 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[37]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[38]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[39]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[40]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[41]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[42]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[43]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[44]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[45]
- พ.ศ. 2450 – เข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป (เข็มทอง)[46]
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 1 (ทองคำลงยาราชาวดี)[47]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้พระสมัญญานาม
แก้การระลึก
แก้วันที่ 28 เมษายนเป็นวันครบรอบวันประสูติของพระองค์ ทุกปีจะมีงาน "วันนริศ" ณ ตำหนักปลายเนิน คลองเตย มีการแสดงละคร การบรรเลงเพลงพระนิพนธ์ การตั้งแสดงงานฝีพระหัตถ์บางชิ้น และการมอบ "ทุนนริศรานุวัดติวงศ์" แก่นักศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ
เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2506 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี พ.ศ. 2506 นับเป็นบุคคลไทยคนที่ 2 ที่ได้รับการยกย่องดังกล่าว[53]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ พระราชกฤษฎีกา ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา, 11 มกราคม 2476, เล่ม 50, หน้า 838, สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
- ↑ 2.0 2.1 นับตามปีปฏิทินสากล
- ↑ Silpakorn Channel. "Documentary of Prince Naris Official" (Video, subtitled). YouTube (ภาษาไทย และ อังกฤษ). Silpakorn University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
- ↑ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรม, เล่ม ๑, ตอน ๖๕, ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘, หน้า ๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งเจ้าฟ้ากรมขุน (พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัติยกัลยา และพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ) เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 4, ตอน 37, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2430, หน้า 293
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่าง ๆ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๒, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๗๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๐, ตอน ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๓๒๙
- ↑ "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยา, เล่ม ๖๓, ตอนที่ ๑ ก, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙, หน้า ๕-๘
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคาร ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๐ กำหนดการ พระราชกุศลทักษิณานุสรณ์พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (13 ง): 491. 18 มีนาคม 2490. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงพระศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ การดำรงตำแหน่งเสนาบดี
- ↑ ดำรงตำแหน่งกระทรวงโยธาธิการ
- ↑ ดำรงตำแหน่งกระทรวงต่างๆ
- ↑ ดำรงตำแหน่งองคมนตรีและรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศตั้งสมาชิกสภาการคลัง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้กำกับการพระราชวงศ์(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์), เล่ม ๔๔, ตอน ๐ ก, ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๐, ตอน ๐ ก, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖, หน้า ๘๓๘
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
- ↑ ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เก็บถาวร 2019-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กองทัพบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๑, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๓๖๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๓, ๒๑ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๗๐, ๗ มีนาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๙ หน้า ๔๓๔, ๒๔ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๐, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๕ หน้า ๓๕, ๑ พฤษภาคม ๑๑๑
- ↑ คนและเหตุการณ์ของไทยที่ยูเนสโกยกย่อง
- ↑ พระบิดาช่างศิลป์แห่งกรุงสยาม
- ↑ "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2018-07-13.
- ↑ พระบิดาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย
- ↑ การเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 73-74. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ | เสนาบดีกระทรวงพระคลัง (21 มีนาคม พ.ศ. 2435 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ | ||
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2442) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ||
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ | รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (27 มีนาคม พ.ศ. 2441 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2442) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ||
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (12 มกราคม พ.ศ. 2476 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477) |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ |