สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช)
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี นามเดิม ธงชัย ฉายา ธมฺมธโช เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น เจ้าคณะใหญ่หนกลาง[1] กรรมการมหาเถรสมาคม[2] ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร ประธานมูลนิธิอี๋ ไต้ อี๋ ลู่ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และประธานคณะกรรมการบริหารห้องเรียนขงจื่อโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย[3]
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ชื่ออื่น | เจ้าประคุณ สมเด็จธงชัย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 (71 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2510 |
อุปสมบท | 19 เมษายน พ.ศ. 2517 |
พรรษา | 50 |
ตำแหน่ง | ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง |
ประวัติ
แก้สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี มีนามเดิมว่า ธงชัย เอี่ยมสอาด เกิดเมื่อวันวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ภูมิลำเนาอยู่บ้านแหลมแค ตำบลหน้าประดู่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี[4]
ต่อมาได้บวชบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมีพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมีพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุวรรณธีราจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสุนทรคุณธาดาเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ธมฺมธโช[4]
การศึกษา/วิทยฐานะ
แก้- แผนกนักธรรม-บาลี
- พ.ศ. 2514 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม
- พ.ศ. 2528 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม
- แผนกสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2522 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนผู้ใหญ่วัดไตรมิตรวิทยาราม
- พ.ศ. 2528 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยมศึกษา (พ.ม.)
- พ.ศ. 2546 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2553 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ประเทศฟิลิปปินส์
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
แก้- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
- โดยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกมีพระบัญชาแต่งตั้ง[5]ให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น เจ้าคณะใหญ่หนกลาง[6] (เข้ารับพระบัญชาแต่งตั้ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563)
- เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะ วาระที่1 (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม[7] วาระที่2 (14 ตุลาคม พ.ศ. 2562),วาระที่3 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
รางวัล
แก้- รางวัลผู้นำที่มีผลงานด้านการศึกษาโดดเด่นเป็นพิเศษ (The Best of the Best) จากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญาตรีกิตติมศักดิ์ ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สภาสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
- พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาจีน) สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- พ.ศ. 2553 รับมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และเกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2553 รับโล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ห้องเรียนขงจื่อแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2553 รับโล่เกียรติคุณห้องเรียนขงจื่อดีเด่นประเทศไทย จากสำนักงานฮั่นปั้น ประจำประเทศไทย
- รางวัลผู้บริหารและสนับสนุนสถานศึกษาภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาดีเด่นของโลก ประจำปี พ.ศ. 2554
- พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- พ.ศ. 2555 ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธบริหารการศึกษา สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลห้องเรียนขงจื่อดีเด่นระดับโลกจากสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้นในการประชุมใหญ่สถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 7 ณ มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2556 ได้รับโล่รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2557 รับรางวัลห้องเรียนขงจื่อดีเด่นระดับโลกจากสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้นในการประชุมใหญ่สถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 9 ณ นครเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2557 ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2557 ประกาศเกียรติคุณผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ จากคุรุสภา
- พ.ศ. 2558 รับรางวัลบุคคลดีเด่นของสถาบันขงจื่อจากสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น ในการประชุมใหญ่สถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 10 ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2558 ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- พ.ศ. 2558 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและเป็นบุคคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2559 ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- พ.ศ. 2560 Certificate of Appreciation for his invaluable service as Commentcement Speaker During the College Graduation Program of the College of Teacher Education From University of Northern Phillippines
- พ.ศ. 2560 ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2562 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
- พ.ศ. 2562 ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- พ.ศ. 2562 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- พ.ศ. 2562 โล่รางวัล สถาบันขงจื้อดีเด่นประจำปี ในการประชุม การศึกษาภาษาจีนนานาชาติ 2019 ณ เมืองฉางชา สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2563 ปริญญาการจัดการดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- พ.ศ. 2563 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ. 2565 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2566 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2566 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยบูรพา
- พ.ศ. 2567 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- พ.ศ. 2567 รางวัล “ผู้จุดประกายแห่งสถาบันขงจื่อ” (Brillance of Confucius Insitute) ของกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุมภาษาจีนโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ มหานครปักกิ่ง
สมณศักดิ์
แก้- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรีวิสุทธานุวัตร[8]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิสุทธาจารย์[9]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาวิกรม ธำรงสมถวิปัสสนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุสิฐ โสภิตศาสนกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุยุต วิสุทธิศาสนกิจวิธาน ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมังคลาจารย์ ภาวนากิจวิธานโกศล วิมลศีลาจารนิวิฐ พิพิธธรรมปฏิภาณ ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ศรีศาสนกิจโกศล วิมลภาวนาวิกรม อุดมธรรมปฏิญาณ ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[14]
ผลงานที่ทำคุณประโยชน์
แก้ศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาโลก
แก้- พ.ศ.2558 รางวัลผู้นำพุทธโลก จากองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
- พ.ศ.2564 เป็น “ปวรธรรมาจารย์” ประจำองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล)
งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา
แก้- พ.ศ.2525 เป็นทูตประจำสำนักผู้ตรวจการงานพระธรรมทูต
- พ.ศ.2535 เป็นกรรมการจัดงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช
- พ.ศ.2556 เป็นรองแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ.2566 ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอ านวยการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ขยายผลสู่หมู่บ้านศีลธรรม”
งานการศึกษาสงเคราะห์
แก้- พ.ศ.2535 ริเริ่มการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย โดยก่อตั้งกองทุนภาษาจีนและได้รับ ความร่วมมือสนับสนุนจากโรงเรียนมัธยมสาธิตเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ.2541 จัดตั้งและเป็นประธานอุปถัมภ์โครงการเพชรยอดมงกุฎ
- พ.ศ.2541 จัดโครงการการแข่งขันเพชรยอดมงกุฎทุกปีใน 14 สาขาวิชาพร้อมมอบรางวัลให้ผู้ชนะ ครู บิดา มารดา ตลอดจนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
- พ.ศ.2546 จัดตั้งศูนย์การศึกษาภาษาจีน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และจัดทำหนังสือตำราเรียนภาษาจีน จำนวน 18 เล่ม
- พ.ศ.2546 จัดตั้งและเป็นประธานมูลนิธิร่มฉัตรเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษาและการศาสนา
- พ.ศ.2547 จัดโครงการแข่งขัน “ภาษาจีนเพชรยอดมงกุฎ” นานาชาติ ครั้งที่ 1 ผู้ชนะเลิศจะได้รับ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษาของสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
- พ.ศ.2549 จัดตั้งและเป็นประธานห้องเรียนขงจื่อเค่อถัง โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (แห่งแรกของโลก) และสนับสนุนการสอนภาษาจีนหลักสูตรไทย-จีน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 โรงเรียน
- พ.ศ. 2549 สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรตำราเรียนภาษาจีน “ท่องเที่ยวเมืองจีนอย่างสุขสันต์” ทั้งหมด 32 เล่ม
- พ.ศ. 2554-65 จัดหาทุนการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-ปริญญาโท สาขาแพทย์แผนจีน (2554-2565) จำนวน 1 ทุน คิดเป็นมูลค่าทุน 2,875,000 บาท ณ มหาวิทยาลัยเทียนจิน แพทย์แผนจีน
- พ.ศ. 2554 กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม
- พ.ศ. 2557 ที่ปรึกษาของฝ่ายการปฏิรูปการศึกษาระดับอาชีวศึกษานานาชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2557-66 จัดหาทุนการศึกษาระดับ ปวส. ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2566 จำนวน 10 รุ่น รวม 304 ทุน คิดเป็นมูลค่าทุน 158,000,000 บาท ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาแล้ว 223 คน
- พ.ศ. 2558 จัดตั้งและเป็นประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล
- พ.ศ. 2558 มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวน 2 เล่ม คือ Confucius Institute of Maritime Silk Road: A Diplomatic Strategy for World Peace and Development และ Traimit Educational Model for the First Confucius School in Thailand
- พ.ศ. 2559 มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวน 1 เล่ม คือ One Belt One Road - พ.ศ. 2559 จัดหาทุนการศึกษาจากรัฐบาลจีน (ทุน CSC) ให้ผู้สมัครเรียนต่อระดับปริญญาเอก จำนวน 1 ทุน และระดับปริญญาโท จำนวน 5 ทุน คิดเป็นมูลค่าทุน 4,400,000 บาท
- พ.ศ. 2559 จัดหาทุนจากสำนักงานใหญ่ฮั่นปั้น (Hanban) สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ผู้สมัครเรียนต่อระดับ ปริญญาโท จำนวน 9 ทุน คิดเป็นมูลค่าทุน 5,400,000 บาท
- พ.ศ. 2559 จัดหาทุนให้ผู้สมัครเรียนต่อระดับมัธยมปลาย จำนวน 2 คนและเรียนภาษาจีนจำนวน 4 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 1,500,000 บาท
- พ.ศ. 2559-62 จัดอบรมภาษาจีนให้แก่ข้าราชการ ปปช. ระดับ HSK 1-5 จำนวน 17 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรม 362คน และพ.ศ.2565-67 คิดเป็นมูลค่าทุน 647,000 บาท และจัดให้ไปเข้าค่ายภาษาจีน (Chinese Camp) จำนวน 97คน ณ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นมูลค่าทุน 1,865000,000 บาท
- พ.ศ. 2559-62 จัดอบรมภาษาจีนแก่อาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 6 รุ่น รวม 200 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 400,000 บาท
- พ.ศ. 2559 จัดอบรมภาษาจีนให้แก่คณะผู้พิพากษาสมทบข้าราชการและเจ้าหน้าที่ศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง รวม 120 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 100,000 บาท
- พ.ศ. 2559 จัดหาทุนจากสภาการศึกษานครเทียนจินจัดตั้งสถาบันฝึกอาชีพ Luban พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือ คิดเป็นมูลค่าทุน 40,000,000 บาท ณ วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2560 มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 1 เล่ม คือ Belt and Road Initiative of the Maritime Silk Road Confucius Institute - พ.ศ. 2560 จัดหาทุนการศึกษาจากรัฐบาลจีน (ทุน CSC) ให้ผู้สมัครเรียนต่อระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน ระดับปริญญาโท และปริญญาตรีประเภทละ 2 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 3,400,000 บาท
- พ.ศ. 2560 จัดตั้งและเป็นประธานมูลนิธิ อี๋ไต้อี๋ลู่ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมด้านการศึกษา พัฒนาเยาวชนและ เสริมสร้างวัฒนธรรมอันดีงาม
- พ.ศ. 2560 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในการประชุมใหญ่สถาบันขงจื่อโลก ครั้งที่ 12 ณ เมืองซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2561 จัดหาทุนการศึกษาอบรมหลักสูตรการให้บริการทางการบิน ณ วิทยาลัยการบินและการท่องเที่ยว มณฑลไหหลำ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 30 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 2,000,000 บาท
- พ.ศ. 2561 จัดอบรมภาษาจีนแก่ข้าราชการ EEC จำนวน 1 รุ่น รวม 23 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 60,000 บาท
- พ.ศ. 2561 มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 1 เล่ม คือ Sport Karma : A Nirvana of Physical Consciousness for World Peace
- พ.ศ. 2561-62 จัดอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนแก่บุคลากรอาชีวศึกษา รวม 100 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 200,000 บาท
- พ.ศ. 2561 จัดหาทุนอบรมทักษะภาษาจีนให้แก่บุคลากรอาชีวศึกษา จำนวน 1 รุ่น รวม 15 คน ณ มหาวิทยาลัย ครุศาสตร์เทียนจิน คิดเป็นมูลค่าทุน 500,000 บาท
- พ.ศ. 2562 จัดหาทุนอบรมค่ายภาษาจีน (Chinese Camp) นักเรียน นักศึกษาระยะเวลา 15 วัน จำนวน 29 คน ณ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน คิดเป็นมูลค่าทุน 500,000 บาท
- พ.ศ. 2562 จัดหาทุนศึกษาดูงานด้านการศึกษาของผู้บริหารสถาบันการศึกษา ณ นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 5 วัน จำนวน 10 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 200,000 บาท
- พ.ศ. 2562 จัดอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนแก่อาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 รุ่น รวม 45 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 100,000 บาท
- พ.ศ. 2564-2566 จัดอบรม HSK 1-3 ออนไลน์แก่ บุคลากร ประชาชนและนักศึกษามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 3 รุ่น รวม 245 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 294,000 บาท
- พ.ศ. 2564 มีบทความ “ความปรารถนาที่จะดำเนินงานด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” ได้รับการตีพิมพ์ใน หนังสือบทความฉลองครบรอบ 70 ปีการศึกษาภาษาจีนนานาชาติของศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริม ความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ : CLEC กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2566 จัดหาทุนการศึกษาจากรัฐบาลจีน (ทุน CSC) ให้ผู้สมัครเรียนต่อระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน คิดเป็นมูลค่าทุน 500,000 บาท
- พ.ศ. 2566 เป็นประธานคณะกรรมการสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ สำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
งานสังคม
แก้- กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2564-2567
- ประธานคณะทำงานสนับสนุนการวิจัยในเรื่องการจัดกิจกรรมเผยแพร่ศาสนธรรม
- กรรมการกิตติมศักดิ์โรงเรียนนานาชาติSt.Stephen จังหวัดนครราชสีมา
- กรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์กองทุนบริหารโรงเรียนประชามงคล จังหวัดกาญจนบุรี
- กรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์กองทุนบริหารโรงเรียนโครงการห้วยองคต อันเนื่องจากพระราชดำริ
- รองประธานกรรมการศึกษา โรงเรียนมหาวีรานุวัตร
- รองประธานกรรมการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
งานสาธารณูปการ
แก้- ซุ้มประตูวัดแหลมแค ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 2,300,000 บาท
- ศาลาการเปรียญวัดแหลมแค ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 25,000,000 บาท
- หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2554 ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 2,800,000 บาท
- อาคารเรียนวัดแหลมแค ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 10,000,000 บาท
- ตึกสงฆ์อาพาธเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลพานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 7,000,000 บาท
- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนเงิน 12,693,000 บาท
งานสาธารณสงเคราะห์
แก้- พ.ศ.2546 เป็นกรรมการและเลขานุการ สาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม
- พ.ศ.2564 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำเดือนสิงหาคม ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง จำนวน 23 จังหวัด มูลค่า 841,405.50 บาท
- พ.ศ.2564 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำเดือนกันยายน ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง จำนวน 23 จังหวัด มูลค่า 841,405.50 บาท
- พ.ศ.2564 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในเขตปกครอง คณะสงฆ์หนกลาง จำนวน 5 จังหวัด (สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี) มูลค่า 841,405.50 บาท
- พ.ศ.2564 มอบสเปรย์แอลกอฮอล์ และเจลแอลกอฮอล์สำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และวัดที่ได้รับผลกระทบ จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 23 จังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง มูลค่า 130,000 บาท
- พ.ศ.2564 มอบอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (หน้ากากอนามัย, ชุด PPE) สำหรับ ถวายพระภิกษุ สามเณรและวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 23 จังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง และวัดอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
อ้างอิง
แก้- ↑ "สมเด็จธงชัย วัดไตรมิตร รับพระบัญชา เจ้าคณะใหญ่หนกลาง". 2020-10-31.
- ↑ "เปิดโครงสร้าง ใครเป็นใครใน "กรรมการมหาเถรสมาคม" ชุดปัจจุบัน ปกครองสงฆ์ไทย". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-11-30.
- ↑ ""ห้องเรียนขงจื่อ" ห้องเรียนของคนรักภาษาจีน". mgronline.com. 2008-12-05.
- ↑ 4.0 4.1 "ทำเนียบพระเถรานุเถระ : พระพรหมมังคลาจารย์". วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-06. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตั้ง "สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี" เป็น "เจ้าคณะใหญ่หนกลาง"". www.thairath.co.th. 2020-10-12.
- ↑ "แต่งตั้ง'สมเด็จธงชัย' เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง". dailynews. 2020-10-18.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมใหม่ จำนวน 20 รูป หลังครบวาระ". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 108, ตอนที่ 213 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2534, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ง ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 112, ตอนพิเศษ 47 ง, 13 ธันวาคม 2538, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 17 ข, 15 กันยายน 2547, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 129, ตอนที่ 6 ข, 15 กุมภาพันธ์ 2555, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ , เล่ม 131, ตอนที่ 2 ข, 21 มกราคม 2557, หน้า 3-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 2