สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี)

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อดีตเจ้าคณะภาค 1 และ ภาค 15 และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม

สมเด็จพระธีรญาณมุนี

(สนิธ เขมจารี)
ส่วนบุคคล
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2453 (81 ปี 217 วัน ปี)
มรณภาพ23 ตุลาคม พ.ศ. 2534
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท6 มิถุนายน พ.ศ. 2474
พรรษา60
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา
เจ้าคณะภาค 1 และ ภาค 15

ประวัติ แก้

วัยเยาว์ แก้

สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีนามเดิมว่า สนิธ ทั่งจันทร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2453 แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ เวลา 15:15 น. ชาติภูมิอยู่บ้านเบิกไพร ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อผล ทั่งจันทร์ เป็นชาวเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง โยมมารดาชื่อหลวน นามสกุลเดิมผลาภิรมย์ เป็นชาวตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา[1]

ท่านได้ศึกษาที่โรงเรียนบุรคามบำรุง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2460 ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 โยมยายได้นำท่านมาฝากกับพระวิเชียรธรรมคุณาธาร (ยัง ปุญฺญวฑฺฒโน) ขณะยังเป็นมหาเปรียญ เพื่อให้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[2]

อุปสมบท แก้

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีพระเทพมุนี (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2474 แรม 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสรกิจ (ฟัก ปุญฺญสิริ) วัดทำเลไทย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่าเขมจารี[2]

การศึกษาพระปริยัติธรรม แก้

การสอบตั้งแต่ชั้นนักธรรมชั้นตรีถึงเปรียญธรรม 8 ประโยค ท่านสอบสำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ ส่วนเปรียญธรรม 9 ประโยคสอบได้ที่สำนักเรียนวัดเพชรสมุทร[3]

เป็นเจ้าอาวาส แก้

หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโป่งและเจ้าคณะอำเภอบ้านโป่งแทนรูปเดิมที่ขอลาสิกขาและลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นมาอีก 12 ปี พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) เจ้าคณะภาค 1 ได้ย้ายให้ท่านไปอยู่วัดเพชรสมุทรเพื่อจัดการคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงครามในปี พ.ศ. 2491

ปี พ.ศ. 2513 พระเทพปริยัติบัณฑิต (ดำ อาภารํสี) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ถึงแก่มรณภาพ และสถานการณ์ในวัดไม่เรียบร้อย ท่านได้รับไว้วางใจจากมหาเถรสมาคมให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน ท่านทำให้ทุกฝ่ายกลับมาสามัคคีปรองดองกัน และจัดการปกครอง การสาธารณูปการ การศึกษา และการเผยแผ่พระศาสนา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองสืบมา[1]

ลำดับสมณศักดิ์ แก้

มรณภาพ แก้

สมเด็จพระธีรญาณมุนี มรณภาพเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 สิริอายุได้ 81 ปี 217 วัน พรรษา 60[3] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. สมเด็จพระธีรญาณมุนี. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2535. 108 หน้า. หน้า 101-8.
  2. 2.0 2.1 "ชีวประวัติ สมเด็จพระธีรญาณมุนี". วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3, หน้า 158-162
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณสักดิ์, เล่ม ๖๕, ตอนที่ ๓๔, ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๑, หน้า ๑๘๘๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๔, ตอนที่ ๑๐๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐, หน้า ๒๙๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๘, ตอนที่ ๑๐๔ ฉบับพิเศษ, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔, หน้า ๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๘๙, ตอนที่ ๒๐๒ ฉบับพิเศษ, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕, หน้า ๑๖-๑๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๓, ตอนที่ ๑๖๕ ฉบับพิเศษ, ๒๕ กันยายน ๒๕๒๙, หน้า ๓-๖