สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระญาณสังวร เป็นราชทินนามที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีเพียง 2 องค์ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนา พระญาณสังวร (สุก) มีความหมายว่า ผู้ที่ความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง (ญาณ หมายถึง ความรู้ และ สังวร หมายถึง สำรวม)[1]
สมเด็จพระญาณสังวร | |
---|---|
การเรียกขาน | ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ |
จวน | พระอารามหลวง |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดพระชีพ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | สมเด็จพระญาณสังวร (สุก ญาณสังวร) |
สถาปนา | พ.ศ. 2359 |
ตำแหน่งที่มาแทน | สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก |
รายพระนาม
แก้ลำดับที่ | รายนาม | วัด | ดำรงสมณศักดิ์ | สมณศักดิ์สุดท้าย |
---|---|---|---|---|
1 | สมเด็จพระญาณสังวร (สุก ญาณสังวร) | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ | 2359 – 2363 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) |
2 | สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | 2515 – 2532 | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร |
อ้างอิง
แก้- ↑ ""ญาณสังวร" มีที่มาและความหมายอย่างไร?". โพสต์ทูเดย์. 16 ธันวาคม 2558.
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |