สมเกียรติ พ่วงทรัพย์
พลตำรวจโท สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ เป็นตำรวจไทยที่มีชื่อเสียงจากการติดตามคดีตี๋ใหญ่เป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ เขายังเป็นนักเขียน รวมถึงเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือตอนบนและจังหวัดลำปาง[3]
สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล | |
ผู้บังคับการตำรวจภูธร 7 | |
ผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรบ้านไผ่ | |
ผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2481[1] ประเทศไทย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจโท[2] |
บังคับบัญชา | ตำรวจสันติบาล[3] |
สงคราม/การสู้รบ | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย[3] การล้อมตี๋ใหญ่[3] |
การศึกษา
แก้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.รุ่นที่ 16) พ.ศ. 2505
ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2524[4]
ประวัติ
แก้เมื่อครั้งศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจปีสุดท้าย สมเกียรติได้มีโอกาสฝึกงานที่สถานีตํารวจนครบาลสําราญราษฎร์ โดยได้รับมอบหมายให้จับกุมโสเภณี แต่ไม่สามารถจับได้เลยในขณะนั้น กระทั่งก่อนรับตําแหน่งผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร เขาได้ไปจับกุมโสเภณี ณ สถานที่เดิมที่สารวัตรปราบปรามเคยสั่งให้ไปจับ ซึ่งครั้งนี้เขาสามารถจับกุมได้กว่า 10 คน และสมเกียรติได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าประเทศใดในโลก อาชีพโสเภณีจะไม่มีวันหมดไป รวมถึงเรียนรู้งานของตำรวจอีกหลายอย่าง[3] ได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2506 รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอกยงยุทธ เทพจำนงค์ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีต ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชานิยม[5]
ประมาณปี พ.ศ. 2510 สมเกียรติได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจโท โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และพบการซื้อเสียงของกำนันในตำบลที่เขาประจำการ ตลอดจนความอยุติธรรมในการจับกุมการพนันของผู้ต้องหาที่มีฐานะ[3]
สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลคดีสำคัญหลายคดี รวมถึงเป็นผู้นำตำรวจในการตามล่าตี๋ใหญ่[6][7][8] ซึ่งนับเป็นคดีที่มีชื่อเสียงอย่างมาก โดยคดีนี้มีตำรวจที่ทำงานด้วยกันถูกยิงเสียชีวิต ก่อนจบคดีจากการเสียชีวิตของตี๋ใหญ่[3]
นอกจากนี้ สมเกียรติยังเป็นผู้สอนวิชาความรู้ด้านการสืบสวนสอบสวนแก่มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง[3]
การเมือง
แก้พ.ศ. 2543 พลตำรวจโท สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตจังหวัดลำปาง จากพรรคประชาธิปัตย์[9] แต่สอบไม่ผ่านการสมัครทั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องด้วยมีการซื้อเสียงกันมากในพื้นที่ ซึ่งภายหลัง เขาได้เป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือตอนบนและจังหวัดลำปาง[3] โดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานตำรวจที่ต้องการเข้าร่วมขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งในประจำการและนอกประจำการ[10]
งานเขียน
แก้สิ่งสืบทอด
แก้สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ ได้จัดตั้งศูนย์ปราบมือปืน ที่สถานีตํารวจนครบาลประชาชื่น โดยให้วิชัย สังข์ประไพ (เจ้าของฉายา "มือปราบหูดำ") เป็นคณะทำงานเรื่องการสอบสวน[12]
เรื่องราวจากแฟ้มคดีของพลตำรวจโท สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ ได้รับการนำมาร้อยเรียงเป็นนิยายอาชญากรรมเรื่องตี๋ใหญ่ โจรระห่ำเมือง เรียบเรียงโดยโรจนา นาเจริญ[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้การสมเกียรติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ Untitled - ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 “มือปราบตี๋ใหญ่:ตำรวจ พธม.”ปลุกสำนึก“ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” - ผู้จัดการ
- ↑ "ประวัติผู้การสมเกียรติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 36)
- ↑ เปิดเผย...หน้าประวัติศาสตร์ที่ถูกฉีก !!! การตายของ "ตี๋ใหญ่" กับ "ความจริงที่หายไป" !?! จากบทสัมภาษณ์...ของผู้อยู่ในเหตุการณ์ตรง
- ↑ ตำนานโจรที่ไม่มีวันตาย ตี๋ใหญ่ กับ ความจริง ที่หายไป
- ↑ *เรื่องจริงผ่านจอ!!! เปิด "10 คดีฆาตกรรม" สุดสะเทือนขวัญของไทย ที่ถูกตีแผ่บนภาพยนตร์!!! (รายละเอียด)
- ↑ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตจังหวัดลำปาง
- ↑ ได้ตำตอบแล้ว ว่าเสื้อหลากสีมาเพื่ออะไร - MThai Talk[ลิงก์เสีย]
- ↑ นวนิยายแนวอาชญากรรม
- ↑ ย้อนอดีตมือปราบหูดำ “พลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ” ตอนที่ 2
- ↑ แนะนำหนังสือ 20/09/53 - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๖, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๖๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓