สมาคมคาร์โบนารี

คาร์โบนารี หรือคาร์โบนีเรีย (Carboneria) เป็นชื่อสมาคมลับของชาวอิตาลีซึ่งยึดหลักอุดมการณ์เสรีนิยมสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและเน้นความรักชาติ สมาคมนี้เริ่มต้นจากขบวนการต่อต้านการปกครองฝรั่งเศสในรัฐเนเปิลส์ระหว่างสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ.1803-1815) และต่อมาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบบอนุรักษนิยมตลอดจนอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรียในคาบสมุทรอิตาลี เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการรวมชาติ

สมาคมคาร์โบนารี
ก่อตั้งต้นคริสต์ทศวรรษ 1800
ประเภทองค์กรสมคบคิด
วัตถุประสงค์การรวมชาติอิตาลี
ที่ตั้ง
บุคลากรหลัก
Gabriele Rossetti
Napoléon Louis Bonaparte
Giuseppe Garibaldi
Silvio Pellico
Aurelio Saffi
Antonio Panizzi
Giuseppe Mazzini
Ciro Menotti
Melchiorre Gioia
Piero Maroncelli

การก่อตั้งสมาคม แก้

คาร์โบนารีเป็นคำในภาษาอิตาลีแปลว่าคนเผาถ่าน โดยสมาคมได้จัดการชุมนุมครั้งแรกขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลีประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็ขยายบทบาทไปทางตอนเหนือสู่แคว้นมาร์เชส (Marches) และโรมัญญา (Romagna) ใน ค.ศ.1814 ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกจะต้องผ่านพิธีกรรมและมีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สลับซับซ้อน ตลอดจนใช้คำพูดที่เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารกัน สมาชิกส่วนใหญ่มาจากชนชั้นขุนนาง ข้าราชการ และเจ้าของที่ดินรายย่อย หลัง ค.ศ.1815 สมาคมฯขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะกลุ่มชนชั้นกลางที่ได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างที่อยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสไม่พอใจกับสภาพทางการเมือง ที่เป็นผลจากข้อตกลงของการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) โดยเฉพาะหลักการการชดใช้แก่ผู้ชนะ (Compensation for the Victors) และหลักการการสืบสันตติวงศ์ (Legitimacy)

หลักการดังกล่าวทั้ง 2 เปิดโอกาสให้จักรวรรดิออสเตรียได้กลับมามีอำนาจเหนือรัฐต่างๆในตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีอีกครั้งหนึ่ง และทำให้เจ้าผู้ครองรัฐ ซึ่งสูญเสียราชบัลลังก์ในระหว่างสงครามได้กลับมาปกครองรัฐในอิตาลีหลายรัซ เช่น เนเปิลส์ (Naples) โมเดนา (Modena) ปีดมอนต์ (Piedmont) รวมทั้งอาณาจักรพระสันตะปาปาด้วย

การปฏิบัติการ แก้

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1821 พวกคาร์โบนารีพยายามก่อการปฏิวัติในรัฐปีดมอนต์เพราะต้องการขับพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 1 (Victor Emmanuel I) ออกจากบัลลังก์ และให้พระญาติของพระองค์คือเจ้าชายชาลส์ อัลเบิร์ต (Charles Albert) ขึ้นครองราชย์แทน แม้เจ้าชายเจ้าชายชาลส์ อัลเบิร์ต จะทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พวกปฏิวัติ แต่ผู้แทนประเทษศมหาอำนาจจากกลุ่มพันธไมตรีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เข้าร่วมในการประชุมใหญ่แห่งไลบัค ได้ลงมติส่งกองทัพออสเตรียมาปราบการปฏิวัติ และปราบได้หมดในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1821 เจ้าชายชาลส์ เฟลิกซ์ (Charles Felix) พระอนุชาของพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 1 ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่

และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1831 พวกคาร์โบนารีได้ทำการลุกฮือในรัฐโมดีนาและปาร์มา (Parma) โดยได้รับแรงดลใจมาจากผลสำเร็จของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1830 โดยได้เตรียมการประสานการก่อการ กับพวกคาร์โบนารีในรัฐอื่นๆ เพื่อปลดปล่อยดินแดนตอนเหนือของอิตาลีให้หลุดพ้นจากอำนาจของออสเตรีย ในเวลาเดียวกันก็เกิดการลุกฮือขึ้นในแคว้นโบโลญญา (Bologna) ของรัฐสันตปาปา พวกคาร์โบนารีสามารถปิดล้อมรัฐสันตปาปา ออสเตรียจึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปรามอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1832

ความล้มเหลว แก้

ความล้มเหลวหลายครั้งของสมาคมแสดงถึงความอ่อนแออันเนื่องมาจากขาดผู้นำที่มีความสามารถผนึกอุดมการณ์และกำลังของสมาชิก ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้สมาชิกเกิดความผิดหวัง ดังนั้น ชาวเจนัวชื่อ จูเซปเป มาซซินี (Giuseppe Mazzini) ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมคาร์โบนารีแต่เห็นว่าสมาคมมีลักษณะเป็ฯพวกเจ้าขุนมูลนาย ทั้งอุทิศพลังและเวลาให้กับพิธีกรรม การรักษาความลับต่างๆ มากเกินไป จึงสถาปนาขบวนการอิตาลีหนุ่ม (Young Italy) ขึ้นในปี ค.ศ.1831 สมาชิกของสมาคมฯจำนวนมากจึงหันมาสังกัดขบวนการอิตาลีหนุ่ม สมาคมคาร์โบนารีจึงค่อยๆสลายตัวลงในที่สุด แม้ว่าสมาคมคาร์โบนารีจะไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมาย แต่การเคลื่อนไหวของสมาคมฯ ก็นับว่าเป็นขั้นแรกของความพยายามในการรวมชาติของชาวอิตาลี

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

  • Birmingham, David (2003), A Concise History of Portugal, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 9780521536868
  • Daraul, Arkon (1961), "The Charcoal Burners", A History of Secret Societies, Secaucus NJ: Citadel Press, pp. 100–110, ISBN 0-8065-0857-4
  • Duggan, Christopher (2008), The Force of Destiny
  • Frost, Thomas (2003), Secret Societies of the European Revolution, Kessinger Publishing, ISBN 978-0-7661-5390-5
  • Galt, Anthony (December 1994), "The Good Cousins' Domain of Belonging: Tropes in Southern Italian Secret Society Symbol and Ritual, 1810-1821", Man, New Series, vol. 29, Wiley, Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland, pp. 785–807, doi:10.2307/3033969, JSTOR 3033969
  • McCullagh, Francis (1910), "Some Causes of the Portuguese Revolution", The Nineteenth Century and After, vol. LXVIII
  • Rath, John (January 1964), "The Carbonari: Their Origins, Initiation Rites, and Aims", The American Historical Review, 69 (2): 353–370, doi:10.2307/1844987, JSTOR 1844987
  • "The Life of a Conspirator", The Rambler, New Series, I, May 1854
  • Reinerman, Alan. "Metternich and the Papal Condemnation of the" Carbonari", 1821." Catholic Historical Review 54#1 (1968): 55-69. in JSTOR
  • Shiver, Cornelia. "The Carbonari." Social Science (1964): 234-241. in JSTOR
  • Smith, Denis Mack (1988) [1958], The Making of Italy
  • Spitzer, Alan Barrie. Old hatreds and young hopes: the French Carbonari against the Bourbon Restoration (Harvard University Press, 1971).
  • สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์ สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม C-D

แสดงที่มา: