สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

(เปลี่ยนทางจาก สมศ.)

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. (อังกฤษ: Office of Nation Education Standards and Quality Assessment (Public Organisation) : ONESQA) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งของประเทศไทย ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน)
Office of Nation Education Standards and Quality Assessment (Public Organisation)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (23 ปี)
สำนักงานใหญ่128 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี754.011 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ดร.นันทา หงวนตัด, ผู้อำนวยการ
  • ดร.วรวิชช ภาสาวสุวัศ, รองผู้อำนวยการ
  • ดร. ขนิษฐา ตั้งวรสิทธิ​ชัย, รองผู้อำนวยการ
  • นาวาตรีหญิง ดร.กิตติยา เอ็ฟฟานส, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารหลัก
เว็บไซต์ONESQA.or.th

ประวัติ แก้

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 6 ซึ่งกำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยให้ประเมินประเมินคุณภาพภายนอกแก่สถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ 5 ปี [2] จากพระราชบัญญัตินี้จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่นั้นมา

สมศ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[3]

อำนาจหน้าที่ แก้

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ในมาตรา 8 กำหนดให้สำนักงานฯ มีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้

  1. พัฒนา ระบบการประเมินคุณภาพภายนอก กำหนดกรอบแนวทางและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
  2. พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  3. ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก
  4. กำกับ ดูแลและกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกที่ดำเนินการโดยผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งให้การรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประเมิน คุณภาพภายนอก สำนักงานอาจดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกเองก็ได้
  5. พัฒนา และฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. เสนอ รายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และสำนักงบประมาณ เพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา และการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา รวมทั้งเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้