สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ

สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้งบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. 2545) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ สุริโยไท และ องค์บาก[3]

สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
เกิด31 มีนาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อาชีพนักธุรกิจ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
องค์การบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
คู่สมรสเตือนใจ เตชะรัตนประเสริฐ[1]
บุตรอวิกา เตชะรัตนประเสริฐ
จาตุศม เตชะรัตนประเสริฐ
ชมศจี เตชะรัตนประเสริฐ
อัครพล เตชะรัตนประเสริฐ
นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ[2]

ประวัติ แก้

สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เกิดและโตในย่าน เวิ้งนาครเขษม ในครอบครัวค้าขายของลายคราม พออายุได้ 10 ขวบได้หัดค้าขายโดยซื้อ การ์ตูน มาให้เช่าหน้าโรงหนัง ขายตั๋วผี จนอายุได้ 19 ปี ได้เป็นผู้จัดการโรงหนัง ใช้ยุทธวิธีฉายหนังใหม่ 2 เรื่องควบให้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยพอหนังออกจากโรงหนังชั้นหนึ่งก็รีบนำมาฉายตัดหน้าโรงหนังคู่แข่ง ทำรายได้จากเดือนละ 80,000 บาทพุ่งไปเป็น 200,000 บาท

ต่อมาเช่าโรงหนังศรีนครธนย่าน ตลาดพลู เปิดกิจการโรงหนังของตัวเองต่อมาย้ายมาเปิดโรงหนังมงคลรามาย่าน สะพานควาย โดยฉายเฉพาะหนังฝรั่งพากย์ไทย จนมาก่อตั้งบริษัทสหมงคลฟิล์ม ขึ้นในปี 2513 ภาพยนตร์เรื่อง คิงคอง ได้ช่วยทำให้เขามีรายได้ถล่มทลายจนมีเงินทุนสะสม จากนั้นเป็นตัวแทนนำเข้า ภาพยนตร์จีน จาก ประเทศฮ่องกง อย่างเช่นเรื่อง โหด เลว ดี และตามมาด้วยหนังภาคต่ออย่าง แรมโบ้ และ คนเหล็กฯ

บริษัทสหมงคลฟิล์ม แตกเครือข่ายออกมาเป็น ‘มงคลภาพยนตร์’ และ ‘มงคลเมเจอร์’ เพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าหนังจากฮ่องกง และฮอลลีวู้ด โดยบริษัทแม่ ‘สหมงคลฟิล์ม’ หันมาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ไทยจนกระทั่งประสบความสำเร็จ มีผลงานสร้างชื่ออย่าง สุริโยไท, องค์บาก, ต้มยำกุ้ง, ช็อคโกแลต ฯลฯ

ปัจจุบันเสี่ยเจี่ยงเป็นผู้นำองค์กรในฐานะ “ประธาน” ของ “สหมงคลกรุ๊ป” เครือข่ายที่เกี่ยวพันกับธุรกิจภาพยนตร์ และโรงภาพยนตร์ถึง 8 บริษัทหลัก และยังเป็น“นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ” ที่ดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน

ผลงานแสดงภาพยนตร์ แก้

  • เซ่อบริสุทธิ์ (2522)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ""เสี่ยเจียง" ปลอดภัยแล้ว แต่ยังอยู่ห้องไอซียู". นิตยสารผู้จัดการ (Press release). 14 กรกฎาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2558. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. I-ON MEN[ลิงก์เสีย]
  3. “เสี่ยเจียง” ฟัดทะลุโลก positioningmag.com
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 2014-04-28.