สมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย เป็นภาวะสุขภาพและความเป็นอยู่ดี สมรรถภาพทางกายจะสิ้นสุดตอนสิ้นอายุขัย (ตาย) และจะเจาะจงความสามารถดำเนินกีฬา ประกอบอาชีพและกิจวัตรประจำวันลักษณะต่าง ๆ ปกติสมรรถภาพทางกายได้มาจากโภชนาการที่เหมาะสม[1] การออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก[2] และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ[3]
ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม นิยามสมรรถภาพว่าความสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันโดยไม่ล้าเกินไป ทว่า การอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ปัจจุบันสมรรถภาพจึงถือว่าเป็นการวัดความสามารถของร่างกายในการทำหน้าที่ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในงานและกิจกรรมหย่อนใจ มีสุขภาพดี ป้องกันโรคการเคลื่อนไหวน้อย และการเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน[4]
สมรรถภาพร่างกายเพื่อสุขภาพ (Health-Related Physical Fitness) ประกอบด้วย
1. ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด (Cardiovascular system) เป็นสมรรถนะเชิงปฏิบัติของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) ในขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ระบบหัวใจและหลอดเลือดจะทำหน้าที่ส่งเลือดและออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆของร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานและออกกำลังกายได้นานขึ้น
2. สัดส่วนของร่างกาย (Body compositions) เป็นการวัดองค์ประกอบต่างๆของร่างกายประกอบด้วย กล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน
ค่าดัชนีมวลกาย ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ค่าสัดส่วนเอวต่อสะโพก เป็นต้น
3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) เป็นความสามารถในการหดตัว ของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดแรงหรือปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อสามารถออกแรงต้านทานได้
4. ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance) เป็นความทนต่อการล้าเมื่อ กล้ามเนื้อหดตัวซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
5. ความยืดหยุ่นของร่างกาย (Flexibility) เป็นความสามารถในการยืดเหยียดข้อ ต่อเอ็น และกล้ามเนื้อของร่างกายการสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness)
ความสำคัญของการตรวจสมรรถภาพทางกาย
1. เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการออกกาลังกาย
2. เพื่อวางแผนโปรแกรมการออกกาลังกายและติดตามประเมินผล
3. เพื่อตั้งเปัาหมายในการออกกาลังกาย[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Tremblay, Mark Stephen; Colley, Rachel Christine; Saunders, Travis John; Healy, Genevieve Nissa; Owen, Neville (2010). "Physiological and health implications of a sedentary lifestyle". Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism. 35 (6): 725–740. doi:10.1139/H10-079.
- ↑ de Groot, Gudrun Cathrine Lindgren; Fagerström, Lisbeth (June 14, 2010). "Older adults' motivating factors and barriers to exercise to prevent falls". Scandinavian Journal of Occupational Therapy. 18 (2): 153–160. doi:10.3109/11038128.2010.487113. PMID 20545467.
- ↑ Malina, R (2010). Physical activity and health of youth. Constanta: Ovidius University Annals, Series Physical Education and Sport/Science, Movement and Health.
- ↑ "President's Council on Physical Fitness and Sports Definitions for Health, Fitness, and Physical Activity". fitness.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2012.
- ↑ "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล". www.si.mahidol.ac.th.