สนามบินทหารบกชะเอียน[2] หรือ สนามบินกองทัพภาคที่ 4[3] หรือ ท่าอากาศยานชะเอียน หรือ สนามบินชะเอียน[4] (อังกฤษ: Cha Eian Airport) ตั้งอยู่ที่ ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เคยใช้เป็นสนามบินขนส่งผู้โดยสารระหว่าง นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพมหานคร

สนามบินทหารบกชะเอียน
ส่วนหนึ่งของกองทัพบกไทย
เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
แผนที่
พิกัด08°28′16.13″N 99°57′20.25″E / 8.4711472°N 99.9556250°E / 8.4711472; 99.9556250 (สนามบินทหารบกชะเอียน)
ประเภทสนามบินทหารบก
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการ กองทัพบกไทย
ควบคุมโดยค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4
สภาพปฏิบัติการ
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2527; 40 ปีที่แล้ว (2527)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองร้อยบิน กองพลทหารราบที่ 5
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: NST, ICAO: VTSN[1]
ความสูง44 ฟุต (13 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
18/36 2,300 เมตร (7,546 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ปัจจุบัน สนามบินชะเอียน ใช้ในการทหารและใช้ในการรับเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์[5]

ประวัติ

แก้

สนามบินชะเอียน เมื่อปี 2459 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตกลงพระทัยสร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บริเวณตำบสวนจันทร์ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวรณสนามบินกองทัพภาคที่ 4 หรือ ท่าอากาศยานชะเอียน[6]

ต่อมาได้มีการผลักดันจากทั้งพ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนให้มีการสร้างอาคารผู้โดยสารสำหรับการใช้งานด้านพลเรือน และใช้งานสนามบินร่วมกันกับทหาร โดยมีการปรับปรุงทางวิ่งให้มีขนาดความยาว 1,700 เมตร (5,577 ฟุต) กว้าง 30 เมตร (98 ฟุต)[7]

เมื่อปี พ.ศ. 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้ใช้สนามบินชะเอียนในการรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้ให้ชาวนครศรีธรรมราช มีเส้นทางคมนาคมครบทั้ง 3 รูปแบบคือ ทางรถไฟ ทางรถทัวร์ และทางอากาศยาน ซึ่งทำให้ชาวนครศรีธรรมราชมีความสะดวกสบายและมีช่องทางในการเดินทางเพิ่มมากยิ่งขึ้น

หลังจากเปิดให้บริการมาหลายปี สนามบินชะเอียนเกิดความหนาแน่นและแออัด รวมถึงไม่สามารถขยายเพิ่มได้แล้ว ทำให้มีการพิจารณาย้ายที่ตั้งของสนามบินแห่งใหม่คือในพื้นที่ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช[7]

1 ธันวาคม 2541 ท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ของนครศรีธรรมราช หรือ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้เปิดให้บริการครั้งแรก ทำให้ต้องมีการย้ายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไปยังท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชดูแลแทนทั้งหมด ท่าอากาศยานชะเอียดจึงใช้เป็นสนามบินของมลฑลทหารบกที่ 41 กองทัพภาคที่ 4 ใช้ในกิจการด้านการทหารและรับเสด็จและส่งเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์[5]

บทบาทและปฏิบัติการ

แก้

สนามบินชะเอียน อยู่ในความดูแลของค่ายวชิราวุธ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพภาคที่ 4 มีหน่วยเฉพาะกิจคือหน่วยบินทหารบกยุทธวิธีที่ 4 อยู่ภายใต้การควบคุมทางยุทธการกับกองทัพภาคที่ 4 ในการสนับสนุนการปฏิบัติการภาคพื้นดินให้กับกองทัพบก รวมถึงการสนับสนุนปฏิบัติการต่าง ๆ ของพลเรือนตามที่ได้รับการร้องขอ[8] โดยเฉพาะในภารกิจในยามสงบคือการช่วยเหลือลำเลียงผู้ป่วยและการบรรเทาสาธารณภัย[9]

นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของกองร้อยบิน กองพลทหารราบที่ 5 ซึ่งเป็นหน่วยประจำฐานบิน มีหน่วยหลักตั้งอยู่ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช[9]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้สนามบินชะเอียนในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคใต้ หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน[10]

หน่วยในฐานบิน

แก้

กองทัพบกไทย

แก้

กองทัพภาคที่ 4

แก้

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

แก้

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

สนามบินชะเอียน ตั้งอยู่ภายในค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน ดังนี้

ลานบิน

แก้

ฐานบินอุบลราชธานีประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 2,300 เมตร (7,546 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 44 ฟุต (13 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[2]

สายการบิน

แก้

สายการบินระหว่างประเทศ

แก้

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินภายในประเทศ

แก้

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินที่เคยทำการบิน

แก้

เหตุการณ์ที่สำคัญ

แก้
  • 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เปิดเส้นทางบินตรงจาก กรุ่งเทพมหานคร สู่ นครศรีธรรมราช เป็นครั้งแรก โดยใช้สนามบินชะเอียน เป็นการชั่วคราว[11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. 2.0 2.1 "Aedrome/Heliport VTSN". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-11-16.
  3. "สอบยาว45วัน หาเหตุ ฮ.ตกที่เมืองคอน". www.thairath.co.th. 2014-02-04.
  4. ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๑/๒๔๙๘ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต
  5. 5.0 5.1 "การเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดนครศรีธรรมราช". www.nstru.ac.th.
  6. "กองทัพภาคที่ 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  7. 7.0 7.1 "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช". www.airports.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "กองทัพภาค 4 ฝึกซ้อมแผนการปฏิบัติช่วยชีวิตอากาศยานประสบอุบัติเหตุ". www.banmuang.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 "กองทัพภาคที่ 4 สั่งเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติภาคใต้". bangkokbiznews. 2017-10-29.
  10. 10.0 10.1 ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำเดือนตุลาคม 2566 (PDF). กรมฝนหลวงและการบินเกษตร.
  11. พิพิธภัณฑ์ เมืองนครศรีธรรมราช[ลิงก์เสีย]