สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์

สนามกีฬาในประเทศกาตาร์

สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์ (อาหรับ: إستاد خليفة الدولي แม่แบบ:ALA-LC) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ซึ่งประกอบด้วยลู่วิ่งและสนามหญ้า ตั้งอยู่ในอัรร็อยยาน ชานเมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแอสไปร์โซน โดฮาสปอร์ตซิตีคอมเพล็กซ์ ซึ่งรวมถึงแอสไปร์อะคาเดมี ศูนย์กีฬาทางน้ำอาหมัด และแอสไปร์ทาวเวอร์[3][4] สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตามเคาะลีฟะฮ์ บิน อาหมัด อัลธานิ เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ภายใต้การเป็นเจ้าของโดยสมาคมฟุตบอลกาตาร์ และทำหน้าที่เป็นสนามเหย้าหลักของฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ ปัจจุบันมีความจุ 45,857 ที่นั่ง เป็นสนามที่ได้รับการจัดอันดับสี่ดาว จากระบบการประเมินความยั่งยืนระดับโลก (GSAS) โดยเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการจัดอันดับนี้[5]

สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์
ที่ตั้งถนนอัลวาอับ แอสไปร์โซน เขตบาเอยา อัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์
พิกัด25°15′49″N 51°26′53″E / 25.26361°N 51.44806°E / 25.26361; 51.44806
เจ้าของสมาคมฟุตบอลกาตาร์
ความจุ45,857[2]
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามค.ศ. 1976
ปรับปรุงค.ศ. 2005, 2014–2017
สถาปนิกดาร์ อเล อันดาซาฮ์[1]
ผู้รับเหมาหลักมิดมักคอนสตรัคทิง, ซิกคอนสตรัคเจวี, โปรจักส์ (บริษัท วิเคราะห์และควบคุมโครงการนานาชาติ), พีโออาร์อาร์
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ (1976–ปัจจุบัน)
ดอกไม้ไฟในสนาม ระหว่างพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ 2006

สนามแห่งนี้เคยใช้จัดพิธีเปิด และปิดเอเชียนเกมส์ 2006 ที่โดฮาเป็นเจ้าภาพ รวมถึงใช้ในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 ทั้งนัดเปิดสนาม และนัดชิงชนะเลิศ เป็นหนึ่งในแปดสนามที่ใช้จัดการแข่งขันในฟุตบอลโลก 2022

อ้างอิง แก้

  1. "Expansion of East Stand at Khalifa Stadium". dar.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
  2. "Khalifa International Stadium". fifa.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2022.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ qatar2020
  4. "Qatar celebrates legacy of sports, Olympics with 3-2-1 museum launch". gdnonline.com. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  5. Khalifa International Stadium receives four-star GSAS Sustainability rating fifa.com 23 มิถุนายน ค.ศ. 2016 สืบค้นเมื่อ5 ธัยวาคม ค.ศ. 2022