สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี

สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี (อาหรับ: ملعب أحمد بن علي, อักษรโรมัน: Malʿab ʾAḥmad bin ʿAliyy;[3][4] อังกฤษ: Ahmad bin Ali Stadium) หรือรู้จักกันแพร่หลายในชื่อ สนามกีฬาอัรร็อยยาน (ملعب الريان) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในเมืองอัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์ โดยใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลเป็นหลัก และเป็นที่ตั้งของสโมสรกีฬาอัรร็อยยานและสโมสรกีฬาอัลเคาะร็อยฏียาต สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตามอะห์มัด บิน อะลี อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2515[5] สนามกีฬาเดิมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2546 มีความจุที่นั่ง 21,282 ที่นั่ง เป็นหนึ่งในสนามที่ใช้จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006[6] ซึ่งถูกรื้อถอนในปี พ.ศ. 2558[7] เพื่อสร้างสนามกีฬาอัรร็อยยานแห่งใหม่ที่มีความจุ 45,000 ที่นั่ง[2]

สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี
สนามกีฬาอัรร็อยยาน
Map
ชื่อเต็มสนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี
ที่ตั้งอุมมุลอะฟาอี อัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์
พิกัด25°19′47″N 51°20′32″E / 25.329640°N 51.342273°E / 25.329640; 51.342273พิกัดภูมิศาสตร์: 25°19′47″N 51°20′32″E / 25.329640°N 51.342273°E / 25.329640; 51.342273
ขนส่งมวลชนสถานีอัรริฟาอ์
ความจุ45,032 ที่นั่ง[2] (ฟุตบอลโลก 2022)
21,000 ที่นั่ง (หลังฟุตบอลโลก)
พื้นผิวหญ้า
ป้ายแสดงคะแนนมี
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 2001–2002, 2016–2018
ก่อสร้างค.ศ. 2003
เปิดใช้สนามค.ศ. 2003 (สนามกีฬาเดิม),
18 ธันวาคม ค.ศ. 2020
สร้างใหม่ค.ศ. 2016–2020
สถาปนิกBDP Pattern[1]
ผู้จัดการโครงการAECOM
ผู้รับเหมาหลักอัลบะลาฆ และลาร์เซน แอนด์ ทูวโบร
การใช้งาน
สโมสรกีฬาอัรร็อยยาน
ฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ (บางนัด)

สนามอยู่ห่างจากโดฮาเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร[8]

การก่อสร้าง แก้

สนามกีฬาอัรร็อยยานเป็นหนึ่งในแปดสนามที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์[9][10]

สนามกีฬาอะห์มัด บิน อะลี หลังเดิมถูกรื้อลงในปี พ.ศ. 2558[11] เพื่อดำเนินการสร้างสนามกีฬาอัรร็อยยานแห่งใหม่ โดยร้อยละ 90 ของเศษหินหรืออิฐที่เกิดจากการรื้อถอนสนามเดิมคาดว่าจะถูกนำมาใช้ซ้ำสำหรับการสร้างสนามใหม่ หรือใช้ในโครงการศิลปะสาธารณะ[12]

การก่อสร้างสนามแห่งใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2559[13] ดำเนินการโดยการร่วมทุนระหว่างบริษัทอัลบะลาฆ (Al-Balagh) และบริษัทลาร์เซน แอนด์ ทูวโบร (Larsen & Toubro) หลังฟุตบอลโลกจบลง สนามจะปรับลดจำนวนที่นั่งเหลือ 21,000 ที่นั่ง[12] สนามกีฬาแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งกาตาร์เป็นเจ้าภาพ[14]

การปรับปรุงใหม่รวมถึงเปลือกอาคารที่เป็นสื่อการจัดแสดง (media facade) ขนาดใหญ่พร้อมแผ่นผืนสังเคราะห์ที่จะทำหน้าที่เป็นหน้าจอสำหรับการฉายภาพ ข่าว โฆษณา แจ้งผลข้อมูลการแข่งขันกีฬาตามเวลาจริง ความจุของสนามเพิ่มขึ้นเป็น 40,740 ที่นั่ง[15] โดยอัฒจันทร์มีหลังคาคลุมทุกที่นั่ง

พิธีเปิดสนามกีฬามีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวันชาติกาตาร์ และตรงกับสองปีก่อนที่ประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565[16] ซึ่งสนามแห่งนี้เป็นหนึ่งในสองสนามที่ใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2020[17][18]

สนามกีฬาแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลอาหรับคัพ 2021 ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนสี่นัด[19]

ฟุตบอลโลก 2022 ในสนามอะห์มัด บิน อะลี แก้

สนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 จำนวนเจ็ดนัด

วันที่ เวลา ทีมที่ 1 ผล ทีมที่ 2 รอบแข่งขัน จำนวนผู้ชม
21 พฤศจิกายน 2565 22:00   สหรัฐ 1–1   เวลส์ กลุ่มบี 43,418
23 พฤศจิกายน 2565 22:00   เบลเยียม 1–0   แคนาดา กลุ่มเอฟ 40,432
25 พฤศจิกายน 2565 13:00   เวลส์ 0–2   อิหร่าน กลุ่มบี 40,875
27 พฤศจิกายน 2565 13:00   ญี่ปุ่น 0–1   คอสตาริกา กลุ่มอี 41,479
29 พฤศจิกายน 2565 22:00   เวลส์ 0–3   อังกฤษ กลุ่มบี 44,297
1 ธันวาคม 2565 18:00   โครเอเชีย 0–0   เบลเยียม กลุ่มเอฟ 43,984
3 ธันวาคม 2565 22:00   อาร์เจนตินา 2–1   ออสเตรเลีย 16 ทีมสุดท้าย 45,032

อ้างอิง แก้

  1. "Al-Rayyan Stadium". stadiumdb.com. 9 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2021.
  2. 2.0 2.1 "Ahmad bin Ali Stadium". fifa.com. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022.
  3. "Ahmad Bin Ali Stadium". Supreme Committee for Delivery & Legacy. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  4. "Ahmad bin Ali Stadium". FIFA. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  5. "Qatar inaugurates fourth stadium for the 2022 World Cup in Al Rayyan". Goal. 18 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2022.
  6. "Al-Rayyan Sports Club". DAGOC 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2007.
  7. "New stadium: Ahmad bin Ali Stadium, the desert dune". stadiumdb.com. 26 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022.
  8. "Ahmad Bin Ali Stadium". qatar2022.qa. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022.
  9. "2022 Qatar World Cup: Al Rayyan stadium achieves major sustainability rating". goal.com. 12 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2021.
  10. "Al Rayyan Stadium achieves prestigious sustainability ratings". thepeninsulaqatar.com. 11 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2021.
  11. "Ahmed bin Ali Stadium (Al-Rayyan Stadium) – until 2014". stadiumdb.com. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022.
  12. 12.0 12.1 "Qatar Unveils Fifth World Cup Venue: Al Rayyan Stadium by Pattern Architects". archdaily.com. 23 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2021.
  13. "Qatar 2022: Al Rayyan Stadium sees first concrete pouring". StadiumDB. 17 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2017.
  14. Neha Bhatia (13 สิงหาคม 2015). "Revealed: The firms behind the construction Qatar's World Cup stadiums". Arabian Business. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2015.
  15. "Construction: Al-Rayyan Stadium". stadiumdb.com. 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2019.
  16. "Al Rayyan stadium to open on Qatar National Day". Gulf Times. 3 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
  17. "Education City and Ahmad Bin Ali stadiums to host FIFA Club World Cup 2020™". FIFA. 18 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2021.
  18. "Doha all set to host 2020 FIFA Club World Cup". iloveqatar.net. 23 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2021.
  19. "2021 FIFA Arab Cup: Participating teams, fixtures and all you need to know". goal.com. 18 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้