สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี–โปแลนด์

สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์ (เยอรมัน: Erklärung zwischen Deutschland und Polen über den Verzicht auf Gewaltanwendung; โปแลนด์: Deklaracja między Polską a Niemcami o niestosowaniu przemocy)[1] เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศระหว่างนาซีเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ลงนามที่เบอร์ลินเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1934[2] จากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาด้วยการเจรจาสองฝ่าย และประกันจะไม่มีการเผชิญหน้ากันทางทหารเป็นเวลาสิบปี ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างนาซีเยอรมนีและโปแลนด์ที่เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศจากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยเยอรมนีรับประกันแนวชายแดนของโปแลนด์ และยุติการกดดันทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น

สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี–โปแลนด์
Hans-Adolf von Moltke เอกอัครราชทูตเยอรมนี ยูแซฟ ปิวซุตสกี ผู้นำโปแลนด์ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการเยอรมนี และยูแซฟ แบ็ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบปะที่วอร์ซอในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1934 ห้าเดือนหลังลงนามสนธิสัญญา
วันลงนาม26 มกราคม ค.ศ. 1934
ที่ลงนามเบอร์ลิน, ประเทศเยอรมนี
ผู้ลงนาม
ภาคี
ภาษาโปแลนด์, เยอรมัน

จากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว โปแลนด์ยืนยันว่าสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการลบล้างผลจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งได้กระทำไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ และจากการที่ความตึงเครียดกับเยอรมนีลดน้อยลงจากการเจรจาสองฝ่าย ฐานะของฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเยอรมนีจึงด้อยลงไปเสีย

เพื่อระงับความกังวลว่าความสัมพันธ์ระหว่างโปแลนด์กับพันธมิตรตะวันตกจะขาดสะบั้นลง ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 โปแลนด์ได้ร่างสนธิสัญญาไม่รุกรานโปแลนด์-โซเวียตใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้ลงนามในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1932

สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้โปแลนด์ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนีได้อีกเป็นเวลาห้าปี ขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่สนใจนโยบายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสันนิบาติชาติ และไม่สนใจในโครงการป้องกันร่วมกันซึ่งเสนอโดยฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930

หลังจากได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์แล้ว ก็ตามด้วยข้อตกลงทางการค้ากับเยอรมนี ว่ากันว่าข้อตกลงดังกล่าวได้ทำให้ชาวเยอรมันตั้งรกรากอยู่ตามแนวชายแดนทางด้านตะวันออก และเป็นการให้เวลาแก่ฮิตเลอร์ในการเสริมสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และอีกห้าปีหลังจากนั้น กองทัพเยอรมันก็รุกรานโปแลนด์ได้สำเร็จ[3][4] ที่เป็นดังนี้เพราะ นโยบายของเยอรมนีเปลี่ยนไปในปี ค.ศ. 1938 หลังจากการผนวกซูเตเดนแลนด์ และโปแลนด์ได้กลายเป็นเป้าหมายต่อไปของฮิตเลอร์ ในเดือนตุลาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอปได้เสนอว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของสนธิสัญญาไม่รุกรานกันใหม่ และอนุญาตให้นครเสรีดานซิกผนวกเข้ากับดินแดนเยอรมนีได้ และขออนุญาตในการสร้างทางด่วนเชื่อมระหว่างเยอรมนีกับมณฑลปรัสเซียตะวันออก ผ่านทางฉนวนโปแลนด์ ซึ่งโปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยกเลิกผลของสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1938[5]

อ้างอิง แก้

  1. Kuberski, Hubert. "Hubert Kuberski: Polsko-niemiecka deklaracja o niestosowaniu przemocy". INSTYTUT PAMIĘCI NARODOWEJHUBERT KUBERSKI: POLSKO-NIEMIECKA DEKLARACJA O NIESTOSOWANIU PRZEMOCY - HISTORIA Z IPN -. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  2. Cienciala, Anna M. (1 March 1967). "The Significance of the Declaration of Non-Aggression of January 26, 1934, in Polish-German and International Relations: A Reappraisal". East European Quarterly. 1 (1). ProQuest 1297351025. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
  3. Hitler, 1936-1945: Nemesis. Ian Kershaw, 2001.
  4. The Unmaking of Adolf Hitler. Eugene Davidson, 2004.
  5. Manipulating the Ether: The Power of Broadcast Radio in Thirties America Robert J. Brown ISBN 0-7864-2066-9

ข้อมูล แก้

  • Wandycz, Piotr Stean (2001) [1988]. The Twilight of French Eastern Alliances. 1926–1936. French-Czechoslovak-Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rheinland. Princeton University Press. ISBN 1-59740-055-6..
  • Anna M. Cienciala, "The Foreign Policy of Józef Piłsudski and Józef Beck, 1926-1939: Misconceptions and Interpretations," The Polish Review (2011) 56#1 pp. 111–151 in JSTOR
  • Cienciala, Anna (1999). "The Munich Crisis, 1938". ใน Igor Lukes and Erik Goldstein (บ.ก.). The Munich crisis of 1938: Plans and Strategy in Warsaw in the context of Wester appeasement of Germany. London: Frank Cass.
  • Schuker, Stephan (1999). "The End of Versailles". ใน Gordon Martel (บ.ก.). The Origins of the Second World War Reconsidered A.J.P. Taylor And The Historians. London: Routledge.
  • "Text of German-Polish Agreement of January 26, 1934", The British War Bluebook (ภาษาอังกฤษ) – โดยทาง Avalon Project


แหล่งข้อมูลอื่น แก้