สนธิสัญญาปารีส (อังกฤษ: Treaty of Paris) ลงนามสัตยาบันที่กรุงปารีสโดยพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่ และผู้แทนฝั่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1783 ซึ่งมีผลทำให้สงครามปฏิวัติอเมริกาอันเป็นสิ้นสุด เนื้อหาของสนธิสัญญายังกันเขตพรมแดนของจักรวรรดิอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายได้เปรียบ[2] โดยรายละเอียดปลีกย่อยรวมถึงสิทธิในการหาปลาในน่านน้ำต่างๆ การซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย และเชลยศึกของทั้งสองฝ่าย

สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)
สนธิสัญญาสันติภาพขั้นสุดท้ายระหว่างราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา
หน้าแรกของสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)
วันร่าง30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1782
วันลงนาม3 กันยายน ค.ศ. 1783
ที่ลงนามกรุงปารีส, ฝรั่งเศส
วันมีผล12 พฤษภาคม ค.ศ. 1784
เงื่อนไขให้สัตยาบันโดยบริเตนใหญ่และสหรัฐ
ผู้ลงนาม
  • ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ บริเตนใหญ่
  •  สหรัฐ
ผู้เก็บรักษารัฐบาลอเมริกัน[1]
ภาษาอังกฤษ
Treaty of Paris (1783) ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาฉบับนี้ และสนธิสัญญาสันติภาพอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นระหว่างบริเตนใหญ่กับกลุ่มประเทศที่ร่วมสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ นั้นถูกเรียกรวมกันว่า "สนธิสัญญาสันติภาพปารีส[3][4]" ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงมาตรา 1 ที่ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะความเป็นประเทศเอกราชของสหรัฐอเมริกา[5]

รายละเอียด แก้

สนธิสัญญาฉบับนี้ และสนธิสัญญาสันติภาพอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นระหว่างบริเตนใหญ่กับกลุ่มประเทศที่ร่วมสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ นั้นถูกเรียกรวมกันว่า "สนธิสัญญาสันติภาพปารีส[3][4]" ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงมาตรา 1 มาตราเดียวที่ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะความเป็นประเทศเอกราชของสหรัฐอเมริกา[5] ส่วนมาตราอื่นๆ นั้นเกี่ยวข้องกับเขตแดนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา จึงถูกแทนด้วยสนธิสัญญาฉบับใหม่ฉบับอื่นๆ แทน

ในอารัมภบทได้กล่าวถึงสนธิสัญญาว่า"กระทำในนามของพระตรีเอกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุด"[6] ซึ่งกล่าวถึงสัตยาบันของทั้งสองฝ่ายที่ตกลงร่วมกันเพื่อที่จะ "ลืมความขัดแย้งและความแตกต่างทั้งหมดทั้งปวงในอดีตที่ผ่านมา" และ "เพื่อนำไปสู่สันติภาพและความปรองดองซึ่งกันและกัน"

  1. บริเตนใหญ่รับรองให้สหรัฐอเมริกา (นิวแฮมป์เชียร์ แมสซาชูเซตส์ โรดไอส์แลนด์และนิคมพรอวิเดนซ์ คอนเนกติคัต นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เพนซิลวาเนีย เดลาแวร์ แมรีแลนด์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจีย[7]) เป็นรัฐเอกราช โดยที่พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่รวมทั้งรัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์ทั้งหมดจะไม่อ้างสิทธิ์ในรัฐบาล ทรัพย์สิน และสิทธิต่อดินแดนของสหรัฐอเมริกา
  2. มีการกักกันเขตพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับดินแดนในอาณานิคมของบริเตนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งกินบริเวณตั้งแต่แม่น้ำมิสซิสซิปปีจนถึงอาณานิคมทางตอนใต้
  3. ให้สิทธิในการทำประมงต่อสหรัฐอเมริกาในบริเวณแกรนด์แบงส์ เกาะนิวฟันด์แลนด์ และอ่าวเซนต์ลอเรนซ์
  4. รับรองหนี้ที่จะต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ของทั้งสองฝ่ายอย่างถูกต้อง
  5. รัฐสภาของสหพันธ์จะต้องแนะนำอย่างเข้มงวดให้มีการตรากฎหมายสำหรับสิทธิในการถือครองที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้อง และจะต้องมีการชดใช้ให้กับสินทรัพย์ สิทธิ และทรัพย์สินต่างๆ ของชาวบริติช (และผู้นิยมกษัตริย์) ที่ถูกริบไป
  6. สหรัฐอเมริกาจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการริบหรือยึดครองสินทรัพย์ของฝ่ายผู้นิยมกษัตริย์อีก
  7. เชลยศึกของทั้งฝ่ายจะต้องได้รับอิสรภาพ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริเตนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องคงอยู่ และถูกริบ
  8. ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปีได้เสมอกัน
  9. ดินแดนที่แต่ละฝ่ายยึดครองได้ภายหลังจากการทำสนธิสัญญานี้จะต้องส่งคืนโดยปราศจากการชดใช้ค่าปรับ
  10. ให้ลงสัตยาบันในสนธิสัญญานี้ภายในหกเดือนหลังจากการลงนามแล้ว

ลงท้ายสนธิสัญญาว่า "ลงนามที่กรุงปารีส ในวันที่ 3 เดือนกันยายน ปีแห่งคริสต์ศักราชที่ 1783"

อ้างอิง แก้

  1. Miller, Hunter (บ.ก.). "British-American Diplomacy: Treaty of Paris". The Avalon Project at Yale Law School. สืบค้นเมื่อ October 19, 2014.
  2. Paterson, Thomas; Clifford, J. Garry; Maddock, Shane J. (January 1, 2014). American foreign relations: A history, to 1920. Vol. 1. Cengage Learning. p. 20. ISBN 978-1305172104.
  3. 3.0 3.1 Morris, Richard B. (1965). The Peacemakers: the Great Powers and American Independence. Harper and Row.
  4. 4.0 4.1 Black, Jeremy (April 14, 1994). British foreign policy in an age of revolutions, 1783–1793. Cambridge University Press. pp. 11–20. ISBN 978-0521466844.
  5. 5.0 5.1 "Treaties in Force A List of Treaties and Other International Agreements of the United States in Force on January 1, 2016" (PDF). United States Department of State. p. 463. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
  6. Federer, William. American Clarion (September 3, 2012). http://www.americanclarion.com/2012/09/03/holy-undivided-trinity-11934/
  7. Peters, Richard, บ.ก. (November 1963). "A Century of Lawmaking for a New Nation: U.S. Congressional Documents and Debates, 1774–1875". Buffalo, New York: Dennis & Co. สืบค้นเมื่อ February 22, 2020 – โดยทาง Library of Congress.

ดูเพิ่ม แก้