สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125[1] (อังกฤษ: Franco–Siamese Treaty of 1907; ฝรั่งเศส: Traité français–siamois de 1907) เป็นสนธิสัญญาระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในสมัยของประธานาธิบดีอาร์ม็อง ฟาเลียร์ (Armand Fallières) ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (ตรงกับ ร.ศ. 125 และ ค.ศ. 1906) และรัฐสภาฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2450 (ตรงกับ ร.ศ. 126 และ ค.ศ. 1907) สนธิสัญญาฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ:

สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
ร.ศ. 125
สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125
สำเนาสนธิสัญญาฯ ฉบับภาษาไทย
ประเภทสนธิสัญญา
บริบท
วันลงนาม23 มีนาคม พ.ศ. 2449
ที่ลงนามกรุงเทพมหานคร
วันมีผล21 มิถุนายน พ.ศ. 2450
ผู้ลงนามไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
ฝรั่งเศส วิกตอร์ คอลแลง เดอ ปลังซี
ภาคีไทย ราชอาณาจักรสยาม
ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
ภาษาภาษาไทย
ภาษาฝรั่งเศส
ข้อความทั้งหมด
หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 ที่ วิกิซอร์ซ
ฝรั่งเศสยึดครองเมืองตราด‎ ระหว่าง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ถึง 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450
  • สยามยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือมณฑลบูรพาอันได้แก่เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส
  • ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด‎และเกาะทั้งหลาย ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดให้กับสยาม (แต่ไม่คืนปัจจันตคิรีเขตรให้กับสยาม)
  • ฝรั่งเศสได้ทำพิธีส่งมอบคืนเมืองตราด‎และเมืองด่านซ้ายให้กับสยามในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 (ตรงกับ ร.ศ. 126 และ ค.ศ. 1907)[2]

การลงนาม

แก้

ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายสยามซึ่งลงลายมือชื่อในสนธิสัญญา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศส คือ วิกตอร์ คอลแลง เดอ ปลังซี (Victor Collin de Plancy) ผู้แทนฝรั่งเศส ซึ่งลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ตรงกับ ค.ศ. 1907 และ พ.ศ. 2449)

 
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส (ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส) ลงนามโดย วี. คอลแลง เดอ ปลังซี กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907

ผลที่ตามมา

แก้

ที่ประชุมสภาจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สภาจังหวัดตราดได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถือวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของจังหวัดตราด และให้เรียกว่า "วันตราดรำลึก"[3][4]

ถึงแม้ประเทศไทยจะเปลี่ยนธงชาติไทยมาเป็นธงไตรรงค์ แต่เมื่อถึงเดือนมีนาคมของทุกปี จังหวัดตราดจะประดับประดาธงช้างแดงขึ้นทั่วทั้งเมืองตราด เพื่อแสดงถึงความเป็นอิสรภาพของจังหวัดตราดแต่นั้นมา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้