สนทะเล
สนทะเล | |
---|---|
C. equisetifolia subsp. incana | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fagales |
วงศ์: | Casuarinaceae |
สกุล: | Casuarina |
สปีชีส์: | C. equisetifolia |
ชื่อทวินาม | |
Casuarina equisetifolia L. | |
Subspecies | |
C. e. subsp. equisetifolia |
สนทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Casuarina equisetifolia) เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณตั้งแต่พม่าถึงเวียดนาม และออสเตรเลีย [1] พบในมาดากัสการ์ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณนั้นหรือไม่[2][3] มีการนำไปปลูกในสหรัฐและแอฟริกาตะวันตก[4]และเป็นพืชรุกรานในฟลอริดา[5][6]
สนทะเล เป็นพืชมีดอก ส่วนปลายกิ่งเปลี่ยนไปทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงจึงมีสีเขียว ใบจริงติดเป็นวงรอบข้อ ผลขนาดเล็กคล้ายลูกทุเรียน แข็ง แห้งแตก ปล่อยเมล็ดกระจายออกไป เมล็ดมีปีก ปลิวตามลมได้ดี ลำต้นลู่ลมได้ดี ลดแรงต้านจากพายุ เปลือกลำต้นขรุขระทำให้น้ำฝนไหลผ่านได้ช้า สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำฝนได้ดี มีเห็ดอาศัยร่วมกับรากสนช่วยย่อยสลายเศษซากพืชเพื่อให้สนใช้เป็นปุ๋ย เปลือกไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าได้
การจัดจำแนก
แก้สนทะเลแบ่งเป็นสปีชีส์ย่อย 2 ชนิดคือ:[7][8]
- Casuarina equisetifolia subsp. equisetifolia. ต้นใหญ่ สูง 35 เมตร (115 ฟุต) กิ่งก้านมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–0.7 มิลลิเมตร (0.020–0.028 นิ้ว) ไม่มีขน พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียเหนือ[9]
- Casuarina equisetifolia subsp. incana (Benth.) L.A.S.Johnson. ต้นขนาดเล็ก สูง 12 เมตร (39 ฟุต) กิ่งก้านมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7–1 มิลลิเมตร (0.028–0.039 นิ้ว)มีขนเป็นปุย พบในออสเตรเลียตะวันออก วานูอาตู[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Boland, D. J.; Brooker, M. I. H.; Chippendale, G. M.; McDonald, M. W. (2006). Forest trees of Australia (5th ed.). Collingwood, Vic.: CSIRO Publishing. p. 82. ISBN 0643069690.
- ↑ "Casuarina equisetifolia L., Amoen. Acad. 143 (1759)". Australian Biological Resources Study. Australian National Botanic Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
- ↑ http://www.worldagroforestrycentre.org/sea/Products/AFDbases/AF/asp/SpeciesInfo.asp?SpID=477
- ↑ "Plant for the Planet: Billion Tree Campaign" (PDF). United Nations Environment Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-25. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
- ↑ "Biological control of Australian native Casuarina species in the USA". Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation. 16 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 16 September 2010.
- ↑ Masterson, J. "Casuarina equisetifolia (Australian Pine)". Fort Pierce: Smithsonian Marine Station. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
- ↑ "Australian Plant Name Index (APNI)". Australian National Botanic Gardens. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Taxon: Casuarina equisetifolia L." Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture Agricultural Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
- ↑ "Casuarina equisetifolia L. subsp. equisetifolia". Australian Biological Resources Study. Australian National Botanic Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
- ↑ "Casuarina equisetifolia subsp. incana". Australian Biological Resources Study. Australian National Botanic Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.