สถาปัตยสวนศาสตร์
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
สถาปัตยสวนศาสตร์ (อังกฤษ: Architectural Acoustics) ศาสตร์ด้านเสียงที่เกี่ยวข้องในสถาปัตยกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้เสียงภายในอาคารมีคุณภาพที่ดี เนื้อหาโดยรวมจะเกี่ยวข้อง การป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกอาคาร, การป้องกันเสียงจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่อยู่ภายในอาคาร, การปรับปรุงเพื่อลดเสียงก้อง-เสียงสะท้อนภายในอาคาร, การป้องกันเสียงกระแทก เสียงเดินจากชั้นบน, การปรับปรุงคุณภาพเสียงภายใน หอประชุม ห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องบันทึกเสียง ห้องเรียน สำนักงาน โรงภาพยนตร์ และห้องอื่นๆภายในอาคาร
การป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารแก้ไข
การป้องกันเสียงจากภายนอก (External Noise)[1] เสียงภายนอกได้แก่ ฝนตก, รถยนต์, เสียงจราจร, เสียงเครื่องบิน สามารถแก้ไขได้ โดยการ เสริมผนังเพื่อกันเสียง, ติดตั้งฉนวนกันเสียงใต้หลังคา, การติดตั้งฝ้าเพดานกันเสียง, การติดตั้งประตูกันเสียง, การติดตั้งหน้าต่างกันเสียง, การใช้ กระจกกันเสียง เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกอาคาร
การป้องกันเสียงรบกวนจากภายในอาคารแก้ไข
การป้องกันเสียงจากภายใน (Interior Noise) เสียงรบกวนจากภายในอาคารเอง เช่น เสียงพูดคุยจากห้องอื่นๆ สามารถแก้ไขได้โดยการทำ ผนังกันเสียง, ประตูกันเสียง
การป้องกันเสียงเดิน เสียงกระแทกจากชั้นบนแก้ไข
การป้องกันเสียงกระแทก (Impact Noise)[2] สามารถทำได้โดยการแก้ไขพื้นชั้นบน ลดเสียงกระแทก โดยการปูพรม หรือ เสริมพื้นชั้นบน หรือ ทำฝ้าเพดานกันเสียงที่ชั้นล่าง ฯลฯ
การป้องกันเสียงจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่อยู่ภายในอาคารแก้ไข
เสียงจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Mechanical Noise) สามารถทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือน ประเภทสปริง (Spring Isolator, Noise Isolator) หรือ ยางรองสั่นสะเทือน ใต้เครื่องจักร
การปรับปรุงเพื่อลดเสียงก้อง-เสียงสะท้อนภายในอาคารแก้ไข
การปรับปรุงเพื่อลดเสียงก้อง-เสียงสะท้อนภายในอาคาร (Reverberation) เสียงก้อง-เสียงสะท้อน เกิดจากพื้นที่ผิวของห้องนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นวัสดุสะท้อนเสียง การแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น กรุ แผ่นซับเสียง หรือ ปูพรมในห้อง หรือ ปรับลดปริมาตรห้องให้เล็กลง ฯลฯ
การปรับปรุงคุณภาพเสียงภายในห้องแก้ไข
คุณภาพเสียงในห้อง นั้น มีความเกี่ยวข้อง กับ หลายๆองค์ประกอบของห้อง ดังนั้น การแก้ไขจึงต้องทำในหลายๆส่วน เช่น การเลือกวัสดุที่มีความสามารถในการดูดซับเสียง, การออกแบบรูปทรงห้อง, การใช้ประตูกันเสียง ผนังกันเสียง, การใช้วัสดุสะท้อนเสียงในบางจุด รวมถึงการเลือกระบบปรับอากาศที่มีเสียงเบา
อ้างอิงแก้ไข
- Anna Demming (Physics World), "Acoustics in architecture", สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม 2564
- CSR Bradford Insulation, "Acoustic Insulation Design Guide", สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม 2564
- ↑ Exterior Noise, Noise control in the building envelope.
- ↑ dB Cover, What is The Impact Sound Noise.