สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (อังกฤษ: Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดรา[1]

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์
ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน
ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก

แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกัน[2]

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น[2] ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จ[3]

ที่มา แก้

ประวัติ แก้

 
มุขมณฑลแคนเทอร์เบอรีก่อตั้งในปี ค.ศ. 597 โดยนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี
 
มหาวิหารรอเชสเตอร์บริหารโดยแคนันประจำมุขมณฑลหว่างปี ค.ศ. 604 ถึงปี ค.ศ. 1076 ต่อมาเป็นอารามคณะเบเนดิกตินจนกระทั่งปี ค.ศ. 1540 จึงเปลี่ยนกลับมาเป็นของนักบวชประจำมุขมณฑลอีกครั้ง
 
ฉากกางเขนของมหาวิหารเซนต์อัลบันถูกรื้อทิ้ง และมาสร้างใหม่ในปี ค.ศ. 1888
 
ช่องทางเดินกลางของมหาวิหารซัดเดิร์กสร้างโดยอาร์เธอร์ โบลมฟิลด์ในคริสต์ทศวรรษ 1890

โรมันเป็นผู้นำคริสต์ศาสนาเข้ามาในอังกฤษ และมาเผยแพร่ไปทั่วอังกฤษจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ความนิยมก็ลดถอยลงพร้อมกับการจากไปของโรมัน และการรุกรานของแซ็กซอน ในปี ค.ศ. 597 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ก็ทรงส่งนักบุญออกัสตินมาเผยแพร่ศาสนาที่แคนเทอร์เบอรี ออกัสตินมาก่อตั้งโบสถ์ของแคนันประจำมุขมณฑล ต่อมากลายเป็นอารามคณะเบเนดิกติน ระหว่างปลายสมัยแซกซันจนถึงปี ค.ศ. 1540 มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีปัจจุบันก็เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษทั้งหมด[1][3]

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงริเริ่มการรวมตัวของอังกฤษในปี ค.ศ. 871 และต่อมาพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้เข้ามายึดอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 อังกฤษจึงกลายเป็นชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมืองก่อนประเทศอื่นใดในยุโรป ซึ่งเป็นผลทำให้หน่วยการบริหารของอาณาจักรและคริสตจักรเป็นสถาบันใหญ่ อังกฤษแบ่งออกเป็นสองมุขมณฑลหลัก คือ มุขมณฑลแคนเทอร์เบอรีและมุขมณฑลยอร์กโดยต่างก็มีอาร์ชบิชอปเป็นของตนเอง ระหว่างสมัยกลางอังกฤษมีบิชอปไม่เกิน 17 องค์ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับฝรั่งเศสหรืออิตาลี[2]

ชีวิตอารามวาสีแบบเบเนดิกตินเข้ามาในอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่มาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายหลังจากการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในปี ค.ศ. 1066 นอกจากอารามเบเนดิกตินแล้วก็ยังมีแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียนบ้างแต่มักจะเป็นแอบบีย์ที่นิยมก่อตั้งอยู่ห่างไกลจากผู้คน และไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิหาร ขณะเดียวกันสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ของนอร์ม็องดีก็เข้ามาแทนสถาปัตยกรรมแซกซัน สิ่งก่อสร้างใหม่มีขนาดใหญ่และโล่งกว่าเดิม และมักจะเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้าง (Complex) ตามแบบการสร้างอารามเช่นที่อารามกลูว์นี สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่มารู้จักกันในอังกฤษว่าสถาปัตยกรรมนอร์มันเริ่มวิวัฒนาการมามีลักษณะท้องถิ่นที่เป็นของตนเอง[1][3]

 
เรลิกของอาร์ชบิชอปทอมัส เบ็กเก็ตนำความมีชื่อเสียงและความมั่งคั่งเป็นอันมากมาสู่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี

สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในยุคกลางของการเป็นคริสต์ศาสนิกชนคือการสักการบูชานักบุญ ที่ทำได้โดยการแสวงบุญยังสถานที่ที่มี[เรลิก]]ของนักบุญที่ใดก็ได้ตามแต่จะต้องการ ฉะนั้นการได้ครอบครองเรลิกจึงเป็นวิธีหลักในการทำรายได้ให้แก่โบสถ์ ผู้มาแสวงบุญมักจะทำการบริจาคโดยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางใจหรือการช่วยให้หายจากความเจ็บไข้จากเรลิกของนักบุญดังกล่าว

ในบรรดามหาวิหารที่ได้ประโยชน์จากเรลิกก็ได้แก่มหาวิหารเซนต์อัลบันที่เป็นเจ้าของเรลิกของนักบุญอัลบันปฐมมรณสักขีของอังกฤษ มหาวิหารริพพอนที่มีเรลิกของนักบุญวิลฟริดผู้ก่อตั้งมหาวิหาร มหาวิหารเดอรัมที่สร้างสำหรับเป็นที่บรรจุร่างของนักบุญคัธเบิร์ตแห่งลินดิสฟาร์นและนักบุญไอดัน มหาวิหารอีลีมีเรลิกของนักบุญเอเธลเรดา เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เป็นที่ฝังพระศพพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี และมหาวิหารชิกเชสเตอร์มีเรลิกของนักบุญริชาร์ดแห่งชิกเชสเตอร์

การมีเรลิกนักบุญต่าง ๆ ที่กล่าวเป็นการนำนักแสวงบุญมายังมหาวิหารเหล่านี้แต่เรลิกที่สำคัญที่สุดคือเรลิกนักบุญทอมัส เบ็กเก็ต อดีตอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีที่ถูกลอบสังหารโดยข้าราชสำนักในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1170 ที่ทำให้เบ็คเค็ทได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจึงกลายเป็นจุดหมายที่ดึงนักแสวงบุญมาเป็นลำดับสองรองก็แต่การเดินทางไปแสวงบุญที่ซานติอาโกเดอคอมโพสเตลาในสเปน

ในคริสต์ทศวรรษ 1170 สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศสโดยเริ่มที่แคนเตอร์บรีและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ และเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมกันในอังกฤษต่อมาอีก 400 ปีบางครั้งก็จะมีการวิวัฒนาการที่คล้ายคลึงกับลักษณะของยุโรปภาคพื้นทวีป แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นลักษณะที่แตกหน่อออกไป ตามความแตกต่างของท้องถิ่นของสิ่งก่อสร้างและที่มา[2][4]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การปฏิรูปศาสนานำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบการปกครองของมหาวิหาร คริสต์ศาสนสถานบางแห่งที่มีอยู่แล้วก็ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นมหาวิหาร แต่บางแห่งก็ถูกทำลายหรือถูกทิ้งร้างเพราะการยุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ระหว่างปี ค.ศ. 1537 ถึงปี ค.ศ. 1540 แอบบีย์เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ไกลจากชุมชนถูกปล้นล้าง เผา และ/หรือถูกละทิ้ง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นสมัยของการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลืออยู่หรือที่รอดมาจากการถูกทำลาย[2][5]

ระหว่างสมัยเครือจักรภพแห่งอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1660 เป็นสมัยของการทำลายรูปสัญลักษณ์ และสิ่งตกแต่งต่าง ๆ ภายในคริสต์ศาสนสถาน เช่น รูปปั้นรูปสลัก ภาพเขียน อนุสรณ์ผู้ตาย และอื่น ๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกทำลายไปหรือทำให้เสียหายไปเป็นจำนวนมาก หน้าต่างประดับกระจกสีจากยุคกลางถูกทุบแตก รูปปั้นถูกทุบทิ้งหรือทำให้เสียหาย ภาพเขียนจากยุคกลางแทบหายไปจากคริสต์ศาสนสถานทุกแห่งในอังกฤษ อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปักอย่างงดงามก็ถูกเผา ถ้วยที่ใช้ทำพิธีศาสนาที่หลงเหลือมาจากสมัยการยุบอารามถูกหลอมเอาโลหะ ที่ทำให้ถ้วยที่สร้างก่อนหน้าการปฏิรูปศาสนาเหลืออยู่เพียง 50 ใบเท่านั้น[2][6]

เมื่อมาถึงสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษในปี ค.ศ. 1660 ก็มีการฟื้นฟูคริสต์ศาสนสถานบ้างเช่นมหาวิหารลิชฟิลด์โดยเซอร์วิลเลียม วิลสัน[1] และการตกแต่งและการสร้างอนุสรณ์อันหรูหราเพิ่มเติม การสูญเสียมหาวิหารเซนต์พอลเก่าไปในเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1666 ก็เท่ากับเป็นการสร้างมหาวิหารใหม่ทั้งหมด มหาวิหารเซนต์พอลปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมบาโรกที่ออกแบบโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เรน[2]

โดยทั่วไปแล้วตั้งแต่การปฏิรูปศาสนาเป็นต้นมา นอกจากการบูรณปฏิสังขรณ์ที่จำเป็น และการก่อสร้างอนุสรณ์ส่วนบุคคลแล้ว ก็แทบจะไม่มีความก้าวหน้าแต่อย่างใดในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในอังกฤษ การหยุดยั้งการวิวัฒนาการเกิดขึ้นเป็นเวลาราว 250 ปีที่เป็นผลทำให้สิ่งก่อสร้างเสื่อมโทรมเป็นอันมากลงจากการถูกละเลย ที่สร้างความเสียหายให้แก่โครงสร้างเช่นเมื่อยอดมหาวิหารชิเชสเตอร์พังทลายลงมาในปี ค.ศ. 1861[1][2]

เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 สถาปัตยกรรมสมัยกลางก็กลับมาเป็นที่นิยมกันอีกครั้งหนึ่ง ความซาบซึ้งในคุณค่าของสถาปัตยกรรมของยุคกลางของอังกฤษเริ่มขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เป็นผลทำให้มีการเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารหลายแห่งโดยสถาปนิกเจมส์ ไวแอ็ทท์ ความกระตือรือร้นของการบูรณปฏิสังขรณ์ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1840 เมื่อกลุ่มนักวิชาการสองกลุ่มที่เรียกตนเองว่าสมาคมออกซฟอร์ด (Oxford Society) และสมาคมเคมบริดจ์แคมเดน (Cambridge Camden Society) ทั้งสองสมาคมประกาศว่าสถาปัตยกรรมแบบเดียวที่เหมาะสมในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานคือกอทิก จอห์น รัสคิน นักวิจารณ์ศิลปะเป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนและเผยแพร่ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับสมัยกลางอย่างเต็มตัว สถาปนิกออกัสตัส พิวจินผู้ออกแบบส่วนใหญ่ให้กับคริสตจักรโรมันคาทอลิกสร้างงานที่ไม่แต่เป็นโครงสร้างของคริสต์ศาสนสถานของสมัยกลางแต่ยังใช้การตกแต่งอันวิจิตรและเต็มไปด้วยสีสรรค์ภายในสิ่งก่อสร้างด้วย แต่ก็หายไปแทบทั้งสิ้นและเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งเช่นกระเบื้องไม่กี่แผ่นที่มหาวิหารวินเชสเตอร์ และมหาวิหารแคนเทอร์เบอรี หรือเพดานไม้ที่ทาสีอย่างละเอียดที่มหาวิหารปีเตอร์บะระ[3][7]

สมัยวิกตอเรียเป็นสมัยของการบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารและแอบบีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ สิ่งก่อสร้างบางแห่งที่ยังสร้างค้างอยู่ก็ได้รับการก่อสร้างให้เสร็จ ที่รวมไปถึงการตกแต่งภายในเช่นหน้าต่างประดับกระจกสี สถาปนิกที่มีบทบาทในยุคนี้ก็ได้แก่จอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ (George Gilbert Scott), จอห์น ลัฟบะระ เพียร์สัน (John Loughborough Pearson) จอร์จ เฟรเดอริก โบดลีย์ (George Frederick Bodley) และ จอร์จ เอ็ดมันด์ สตรีท (George Edmund Street) [2][3]

เนื้อหา แก้

 
หอประชุมนักบวชของมหาวิหารลิงคอล์นเป็นหอประชุมหลายเหลี่ยมหอแรกที่สร้างขึ้นในอังกฤษ
 
เพดานพัดภายในระเบียงฉันนบถของมหาวิหารกลอสเตอร์ที่เป็นอารามเบเนดิกตินระหว่าง ค.ศ. 1022 ถึง ค.ศ. 1539
 
ภาพพิมพ์มหาวิหารเซนต์พอลเก่า

มหาวิหารที่กล่าวถึงในบทความนี้รวมทั้ง: มหาวิหารบริสตอล, มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี, มหาวิหารคาร์ไล, มหาวิหารเชสเตอร์, มหาวิหารชิคเชสเตอร์, มหาวิหารเดอรัม, มหาวิหารอีลี, มหาวิหารเอ็กซิเตอร์, มหาวิหารกลอสเตอร์, มหาวิหารแฮรฟอร์ด, มหาวิหารลิชฟิลด์, มหาวิหารลิงคอล์น, มหาวิหารนอริช, มหาวิหารออกซฟอร์ด, มหาวิหารปีเตอร์บะระ, มหาวิหารริพพอน, มหาวิหารรอเชสเตอร์, มหาวิหารเซนต์อัลบัน, มหาวิหารซอลสบรี, มหาวิหารซัดเดิร์ก, มหาวิหารเซาท์เวล, มหาวิหารเวลล์ส, มหาวิหารวินเชสเตอร์, มหาวิหารวูสเตอร์ และมหาวิหารยอร์ก นอกจากนั้นก็ยังมีการอ้างอิงถึง เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ และมหาวิหารเดิมของกรุงลอนดอนที่รู้จักกันว่ามหาวิหารเซนต์พอลเก่า สิ่งก่อสร้างจากยุคกลางที่ในปัจจุบันเป็นมหาวิหารในอังกฤษแต่เดิมเป็นคริสต์ศาสนสถานของนิกายโรมันคาทอลิกเพราะสร้างมาก่อนการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ในปัจจุบันมหาวิหารเหล่านี้เป็นของคริสตจักรแห่งอังกฤษที่เป็นผลจากการเปลี่ยนมาเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของรัฐที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1534 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8

มหาวิหารแบ่งเป็นสามกลุ่มตามระบบการบริหารเดิม:

โบสถ์อื่น ๆ ที่อยู่ในข่ายของเนื้อหาก็ได้แก่: มหาวิหารเซนต์พอลเก่า, มหาวิหารบาธ และแอบบีย์เบเนดิกตินแห่งโคเวนทรีที่ถูกทำลายไประหว่างการยุบอาราม มหาวิหารเซนต์พอลเก่าที่ปกครองโดยเคลอจีประจำมุขมณฑลถูกทำลายระหว่างอัคคีภัยครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 และมาสร้างแทนด้วยสิ่งก่อสร้างใหม่ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นแบบบาโรกโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เรน มหาวิหารบาธเป็นมหาวิหารร่วมมุขมณฑลบาธและเวลล์สกับมหาวิหารเวลล์ส แม้ว่าจะเป็นวัดขนาดใหญ่แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมก็ไม่เทียมเท่ามหาวิหาร เช่นเดียวกับชาเปลคิงส์คอลเลจ หรือชาเปลเซนต์จอร์จในพระราชวังวินด์เซอร์ แอบบีโคเวนทรีเป็นมหารวิหารร่วมของมุขมณฑลลิชฟิลด์แต่มาถูกทำลายระหว่างการยุบอาราม โบสถ์เซนต์ไมเคิลซึ่งเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชโคเวนทรีจึงกลายมาเป็นมหาวิหารโคเวนทรี แต่ก็มาถูกทำลายในปี ค.ศ. 1918 จากการถูกระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เหลือก็แต่หอสูงที่เป็นงานสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งในอังกฤษ มหาวิหารโคเวนทรีใหม่ที่ออกแบบโดยเซอร์แบซิล สเปนซ์ได้รับการสถาปนาใหม่ในปี ค.ศ. 1962 เป็นสิ่งก่อสร้างที่ผสานซากสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือจากการถูกระเบิดกับสถาปัตยกรรมใหม่[1][2][8]

บทบาททางศาสนา แก้

 
กลุ่มนักร้องฝึกร้องเพลงสวดที่มหาวิหารยอร์ก
 
ช่องทางเดินกลางของมหาวิหารลิงคอล์น

ในทางปฏิบัติแล้วมหาวิหารเป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนาฉะนั้นการก่อสร้างจึงเป็นไปตามความต้องการทางการใช้สอย ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางของมุขมณฑลของบิชอปโดยเป็นที่ตั้งของคาเทดรา นอกจากที่นั่งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแล้วก็จะมีที่นั่งประจำตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ต่างที่รวมทั้งอธิการผู้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่มากที่สุดของมหาวิหาร ผู้อำนวยการด้านเพลงสวด (precentor) ผู้ดูแลสมบัติมีค่าของโบสถ์ (sacristan) อัครพันธบริกร (archdeacon) และนักบวชอื่น ๆ นักบวชเหล่านี้ที่เป็นนักบวชนอกระบบสำนักสงฆ์ที่เดิมเป็นสมาชิกของสำนักสงฆ์มาก่อน และมีหน้าที่ทางศาสนาทุกวัน ฉะนั้นมหาวิหารจึงมักจะมีคูหาชาเปลเล็ก ๆ หลายคูหาภายในตัวมหาวิหาร เพื่อใช้ในการทำพิธีที่เป็นการส่วนตัวหรือสำหรับกลุ่มผู้ศรัทธาย่อยๆ ในอังกฤษการสร้างชาเปลมักจะหันไปทางทิศตะวันออก ฉะนั้นแขนกางเขนของมหาวิหารในอังกฤษจึงมักจะยาวเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และบางครั้งถึงกับมีการสร้างกางเขนซ้อนเพื่อสามารถทำให้สร้างชาเปลที่หันไปทางตะวันออกได้มากขึ้น บริเวณหลักทางด้านตะวันออกสุดเป็นบริเวณสำหรับการทำพิธีและเป็นบริเวณสงฆ์[2]

พิธีศาสนาของมหาวิหารอังกฤษประกอบด้วยเพลงสวดที่เป็นเพลงสดุดีประจำวันและเพลงชาติที่ขับโดยคณะนักร้อง (Choir) ของมหาวิหารราวสามสิบคน ฉะนั้นทางด้านตะวันออกของหอกลางจึงเป็นที่ตั้งของที่นั่งนักดนตรีในบริเวณที่เรียกว่าบริเวณร้องเพลงสวด

ทางปลายด้านตะวันออกของบริเวณร้องเพลงสวดเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาซึ่งเป็นที่ทำพิธีมหาสนัท บางครั้งบริเวณร้องเพลงสวดก็จะแยกจากช่องทางเดินกลางด้วยฉากหิน[1] (Pulpitum) ที่มีออร์แกนตั้งอยู่ข้างบน[2]

ช่องทางเดินกลางของมหาวิหารตามปกติแล้วเป็นบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่ใช้โดยและเปิดให้แก่ประชาชนผู้ศรัทธาและสาธารณชนอื่น ๆ ในมหาวิหารใหญ่ ๆ โดยเฉพาะมหาวิหารที่แบ่งด้วยฉากหินเช่นที่มหาวิหารยอร์ก ก็อาจจะมีแท่นบูชาอีกแท่นบูชาหนึ่งนอกบริเวณสงฆ์ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของช่องทางเดินกลางก่อนจะถึงบริเวณบริเวณร้องเพลงสวดที่ถือว่าเป็นเพรสไบเทอรี เพื่อที่จะให้เป็นที่ทำพิธีสำหรับผู้มีศรัทธาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแล้วช่องทางเดินกลางก็ยังใช้ในการเดินขบวนพิธี (procession) ภายในวัดด้วย

อุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งสำหรับการทำพิธีคือแท่นอ่าน (lectern) ที่เป็นที่ตั้งคัมภีร์ไบเบิล แท่นเทศน์ซึ่งเป็นที่สำหรับอธิการหรือนักบวชให้การเทศนาจากพระคัมภีร์ ทางด้านตะวันตกจะเป็นที่ตั้งของอ่างศีลจุ่มที่ใช้สำหรับพิธีบัพติศมาโดยเฉพาะสำหรับเด็กที่เป็นสัญลักษณ์ในการรับเข้ามาเป็นคริสต์ศาสนิกชน อ่างบัพติศมามักจะทำด้วยหินและมักจะเป็นสิ่งที่เก่าที่สุดในมหาวิหารที่อาจสร้างมาตั้งแต่สมัยนอร์มัน

สถาปัตยกรรม แก้

ข้อสังเกต: สัดส่วนที่อ้างมาจากจอห์น ฮาร์วีย์นอกจากจะอ้างอิงเป็นอย่างอื่น[1] สมัยและลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นศัพท์ที่ใช้โดยแบนนิสเตอร์ เฟล็ทเชอร์ (Banister Fletcher) และผู้อื่นที่มีรากฐานมาจากริคแมนและชาร์พ[3]

ลักษณะโดยทั่วไปของมหาวิหารอังกฤษ แก้

แผนผัง แก้

 
แผนผังมหาวิหารของมหาวิหารซอลสบรีแสดงลักษณะสถาปัตยกรรมหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของอังกฤษ
 
มหาวิหารวินเชสเตอร์เป็นมหาวิหารที่ยาวที่สุดในยุคกลางของโลกที่ยาว 169 เมตร (554 ฟุต)
 
ช่องทางเดินกลางของมหาวิหารวินเชสเตอร์ดูทั้งลึกและสูงแต่ความสูง 23.7 เมตรก็เป็นเพียงครึ่งเดียวของมหาวิหารโบเวส์ในฝรั่งเศสเท่านั้น

มหาวิหารอังกฤษก็เช่นเดียวกับมหาวิหารในประเทศอื่นที่เป็นทรงกางเขนละติน (Latin Cross) โดยมีแขนกางเขน (transept) ทางขวางแขนเดียวเป็นส่วนใหญ่แต่ก็มีบ้างที่มีแขนกางเขนซ้อนเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี มหาวิหารลิงคอล์น มหาวิหารเวลล์ส และมหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในอังกฤษ นอกจากนั้นแขนกางเขนของอังกฤษก็มักจะยาวออกไปอย่างเด่นชัดกว่าของฝรั่งเศส มหาวิหารไม่ว่าจะเป็นมหาวิหารระบบสำนักสงฆ์หรือนอกระบบมักจะมีสิ่งก่อสร้างรองจากตัวมหาวิหารหลักโดยเฉพาะหอประชุมสงฆ์ และระเบียงคด

มหาวิหารส่วนใหญ่จะมีช่องทางเดินข้างข้างละหนึ่งช่องขนาบช่องทางเดินกลางที่จะมีระดับต่ำกว่า ที่ทำให้สามารถสร้างหน้าต่างชั้นบนเหนือช่องทางเดินกลางเพื่อให้แสงสาดเข้ามาในวัดได้มากขึ้น ข้อยกเว้นคือที่มหาวิหารบริสตอลที่ช่องทางเดินข้างมีความสูงเท่ากับช่องทางเดินกลางเช่นเดียวกับวัดโถง[2] (Hall church) ของวัดทางตอนเหนือของเยอรมนี และที่มหาวิหารชิเชสเตอร์ที่มีช่องทางเดินข้างข้างละสองคล้ายกับมหาวิหารในฝรั่งเศสบางมหาวิหาร มหาวิหารบางมหาวิหารที่มีแขนกางเขนกว้างก็อาจจะมีช่องทางเดินข้างทางด้านตะวันออกของแขนกางเขนเช่นที่มหาวิหารปีเตอร์บะระ, มหาวิหารเดอแรม, มหาวิหารลิงคอล์น และมหาวิหารซอลสบรี หรืออาจจะมีทั้งสองข้างเช่นที่มหาวิหารวินเชสเตอร์ มหาวิหารเวลส์ มหาวิหารอีลี และมหาวิหารยอร์ค[2][3]

ความยาว แก้

ช่องทางเดินกลางหรือบางครั้งทางมุขตะวันออกมักจะยาวกว่ามหาวิหารในประเทศอื่น[3] มหาวิหาร 7 มหาวิหารในบรรดา 25 มหาวิหารอังกฤษ: มหาวิหารแคนเตอร์บรี, เดอแรม, อีลี, ลิงคอล์น, เซนต์อัลบัน, วินเชสเตอร์ และ ยอร์คมีช่องทางเดินกลางที่ยาวกว่า 150 เมตร (ราวระหว่าง 155 ถึง 169 เมตร) จะเทียบได้ก็แต่มหาวิหารมิลาน และมหาวิหารฟลอเรนซ์เท่านั้น อีก 9 มหาวิหาร นอริช, ปีเตอร์บะระห์, ซอลสบรี, วูสเตอร์, กลอสเตอร์, เวลล์ส, เอ็กซิเตอร์, ชิคเชสเตอร์ และ ลิชฟิลด์มีความยาวระหว่าง 120 ถึง 150 เมตร เมื่อเทียบกับมหาวิหารยาวๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสเช่น มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส มหาวิหารอาเมียง มหาวิหารโนเทรอดามแห่งรูอ็อง มหาวิหารแร็งส์ และมหาวิหารชาร์ตร์ ก็มีความยาวระหว่าง 135 ถึง 140 เมตร เช่นเดียวกับมหาวิหารโคโลญในเยอรมนี มหาวิหารที่ยาวที่สุดในสเปนที่รวมทั้งมหาวิหารเซวิลล์ที่มีเนื้อที่ใช้สอยมากที่สุดในบรรดามหาวิหารในยุคกลางมีความยาวเพียง 120 เมตร[3] ห้ามหาวิหารอังกฤษ: เชสเตอร์, แฮรฟอร์ด, รอเชสเตอร์, เซาท์เวล และ ริพพอนมีความยาวระหว่าง 90 ถึง 115 เมตร อีกสี่มหาวิหารจะด้วยเหตุผลใดก็ตามไม่มีช่องทางเดินกลางหรือเหลืออยู่เพียงช่วงระหว่างทางเดินเท่านั้น ช่องทางเดินกลางของมหาวิหารบริสตอลและซัทเธิคมาสร้างในสมัยวิคตอเรีย ที่ทำให้คาร์ไลและออกซฟอร์ดที่มีช่องทางเดินกลางเพียงสองช่วงยาว 73 เมตร และสี่ช่วงยาว 57 เมตรตามลำดับ[1]

ความสูง แก้

มหาวิหารอังกฤษเน้นความยาวแต่เมื่อมาถึงความสูงแล้วเพดานของมหาวิหารอังกฤษมักจะต่ำเมื่อเทียบกับมหาวิหารที่พบในประเทศอื่น ความสูงของเพดานหินที่สูงที่สุดในอังกฤษคือเพดานของแอบบีเวสต์มินสเตอร์ที่สูง 55 เมตร[3] เท่ากับมหาวิหารยอร์คแต่ของมหาวิหารยอร์คเป็นเพดานไม้ มหาวิหารอังกฤษส่วนใหญ่แล้วสูงประมาณระหว่าง 20 ถึง 26 เมตร[1] ซึ่งตรงกันข้ามกับมหาวิหารโบเวส์, อาเมียงส์, และโคโลญที่ความสูงภายในต่างก็สูงกว่า 42 เมตร[4]

หอ แก้

 
หอเหนือจุดตัดของมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่สูง 71.5 เมตร

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญทางสถาปัตยกรรมของมหาวิหารอังกฤษที่ไม่พบที่อื่นคือหอสี่เหลี่ยมเหนือจุดตัดของแขนกางเขนกับทางเดินกลาง[3] หอที่ใหญ่ ๆ ก็ได้แก่หอของมหาวิหารเวลส์ที่สูง 55 เมตร และที่มหาวิหารลิงคอล์นที่สูง 82.5 เมตร[1] หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็นจุดเด่นของสิ่งก่อสร้างจุดเดียวเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี กลอสเตอร์ วูสเตอร์ นอริช และชิเชสเตอร์ หรืออาจจะรวมทั้งหอคู่ทางมุขด้านตะวันตกของโบสถ์เช่นที่มหาวิหารยอร์ก ลิงคอล์น แคนเทอร์เบอรี เดอแรม และเวลส์ ถ้ามีหอสามหอ หอเหนือจุดตัดก็มักจะเป็นหอที่สูงที่สุด หอสองหอของมหาวิหารเซาท์เวลเป็นด้วยยอดแหลมทรงปิรามิดที่มุงด้วยแผ่นตะกั่ว

มหาวิหารซอลสบรีและมหาวิหารนอริชมีหอกลางที่เป็นหอยอดแหลม (spire) ที่ยังคงตั้งอยู่ แต่หอของมหาวิหารชิคเชสเตอร์มาสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากหอเก่าพังทลายลงมา หอของมหาวิหารซอลสบรีสูง 123 เมตรซึ่งเป็นหอที่สูงที่สุดในอังกฤษ และเป็นหอหินตันที่สูงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 14 (ตรงข้ามกับหอหินโปร่งของเยอรมนีและฝรั่งเศส) และเป็นหอที่สูงที่สุดจากยุคกลางหอเดียวที่ยังไม่ได้รับการสร้างใหม่ แต่หอที่สูงกว่าต่อมาคือหอของมหาวิหารลิงคอล์นและมหาวิหารเซนต์พอลเก่า หอของมหาวิหารลิงคอล์นสร้างเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงปี ค.ศ. 1548 เหนือหอกลางเป็นยอดแหลมที่สูงที่สุดในโลกในขณะนั้นที่สูงราว 170 เมตร มหาวิหารลิชฟิลด์มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในอังกฤษตรงที่มีหอยอดแหลมหินสามหอ

แม้ว่าการสร้างหอทางตะวันตกเพียงหอเดียว (แทนที่จะเป็นสองหอขนาบทางเข้า) จะเป็นลักษณะที่นิยมกันในการก่อสร้างวัดประจำท้องถิ่นในอังกฤษ แต่มหาวิหารอีลีก็เป็นเพียงมหาวิหารเดียวที่สร้างในลักษณะที่ว่านี้โดยมีหอที่เตี้ยกว่าขนาบสองข้าง แต่หอทางด้านซ้ายพังทลายลงมาแล้ว[9] มหาวิหารอีลีเป็นมหาวิหารในอังกฤษแห่งเดียวที่มีสิ่งก่อสร้างเหนือจุดตัดที่ดูคล้ายหอตะเกียง [3] หลายเหลี่ยมที่นิยมสร้างกันในสเปน หอที่สร้างอย่างงดงามที่คล้ายโคมนี้เรียกว่า “ตะเกียงแปดเหลี่ยม” (The Octagon) ที่คร่อมทั้งช่องทางเดินกลางและช่องทางเดินข้างที่เชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อการออกแบบโดมของมหาวิหารเซนต์พอลโดยคริสต์โตเฟอร์ เร็น ด้านบนรับด้วยคานแฮมเมอร์ (hammer-beam) ที่ซ่อนไว้ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมกอธิคแบบอังกฤษ[2]

ด้านหน้า แก้

ลักษณะการก่อสร้างด้านหน้าของมหาวิหารของอังกฤษแตกต่างกันออกไปมากแทนที่จะค่อย ๆ วิวัฒนาการเช่นมหาวิหารทางตอนเหนือของฝรั่งเศสหรือในบริเวณอื่นในยุโรปที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส[3] ในหลายกรณีด้านหน้าของมหาวิหารไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมยุคใดมักจะใช้เป็นฉากตกแต่งที่มีช่องเล็กช่องน้อยสำหรับวางรูปสลัก ซึ่งมาถูกดึงลงมาทำลายไปมากในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จะยังเหลืออยู่ก็เพียงไม่กี่แห่งเช่นบน “ระเบียงกษัตริย์” ของมหาวิหารลิงคอล์นยังคงเหลืออยู่เพราะตั้งอยู่สูงเกินเอื้อม หรือระเบียงรูปสลักที่ถูกกัดกร่อนไปตามกาลเวลาของมหาวิหารเอ็กซิเตอร์[2]

ด้านหน้าของมหาวิหารอังกฤษส่วนใหญ่แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ แต่ละกลุ่มก็มีรายละเอียดที่ต่างกันไป กลุ่มแรกเป็นมหาวิหารที่มีหอคู่อยู่ทางมุขตะวันตกเช่นที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี, มหาวิหารเดอแรม, มหาวิหารเซาท์เวล, มหาวิหารเวลล์ส, มหาวิหารริพพอน และมหาวิหารยอร์ค ระหว่างหอก็อาจจะเป็นหน้าต่างที่มีลวดลายตกแต่งของสมัยกอธิควิจิตรเช่นที่มหาวิหารยอร์ค และมหาวิหารแคนเตอร์บรี หรือหน้าต่างเรียบที่ปราศจากลวดลายซี่หิน (untraceried lancet) ของกอธิคตอนต้นเช่นที่มหาวิหารริพพอน หรือมหาวิหารเวลล์ส ซึ่งจะแทบไม่มีหน้าต่างกุหลาบเช่นในมหาวิหารของฝรั่งเศส ประตูทางเข้ามักจะมีสามประตูแต่ไม่เหมือนมหาวิหารของฝรั่งเศสที่จะไม่สูงและไม่มีการตกแต่งอย่างวิจิตร และจะเน้นประตูกลางมากกว่าประตูข้าง แต่ประตูทางเข้าที่ใช้บ่อยมักจะนิยมสร้างทางด้านข้างของตัววัดที่เข้ามายังช่องทางเดินข้างแทนที่จะเข้ามาทางมุขตะวันตกหรือด้านหน้า[3]

ถ้าไม่มีหอใหญ่สองหอทางมุขตะวันตกก็มักจะมีหอที่มียอดแหลมเล็กเป็นกรอบด้านหน้ามหาวิหารหรือช่องทางเดินกลางแทนที่ คล้ายกับการใช้ค้ำยันขนาดใหญ่ เช่นที่พบที่มหาวิหารซอลสบรี, มหาวิหารวินเชสเตอร์ และ มหาวิหารรอเชสเตอร์ ด้านหน้ามหาวิหารลิงคอล์นเป็นฉากหินแบบกอธิคที่มีค้ำยันที่สร้างขวางด้านหน้าที่รวมทั้งประตูทางเข้าแบบนอร์มัน แต่ซ่อนหอนอร์มันไว้ข้างหลัง และมาสร้างเสริมให้สูงขึ้นเหนือฉากต่อมา

ด้านหน้าของมหาวิหารปีเตอร์บะระเป็นฉากแบบกอธิคที่ยื่นออกมาจากทางเดินกลางแบบนอร์มัน ฉากที่ว่านี้เป็นซุ้มโค้งขนาดใหญ่สามซุ้ม ซุ้มสองซุ้มด้านนอกที่กว้างเป็นกรอบให้ซุ้มกลางที่แคบกว่า ความใหญ่โตของประตูทำให้บดบังความเด่นของส่วนประกอบอื่น ๆ ของด้านหน้าเช่นเช่นหอสองหอที่สูงไม่เท่ากันที่สร้างอยู่หลังฉาก ลักษณะสถาปัตยกรรมด้านหน้าของของมหาวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่แปลกกว่ามหาวิหารอื่นที่ไม่มีผู้ใดทำกันมาก่อนและไม่มีผู้ใดสร้างตาม แม้ว่าจะมีข้อบกพร่อง ๆ ต่างแต่ก็ถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความมีจินตนาการของสถาปนิกอังกฤษในยุคกลาง[2]

มุขตะวันออก แก้

 
มุขตะวันออกของมหาวิหารริพพอนมีลักษณะเหมือน “ผา” ซึ่งเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ

มุขตะวันออกหรือด้านหลังของมหาวิหารอังกฤษมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปมากกว่าที่พบในประเทศอื่น มหาวิหารที่สร้างในสมัยนอร์มันจะมีมุขตะวันออกที่สูงและล้อมรอบด้วยจรมุข (ambulatory) ที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เช่นมุขตะวันออกของมหาวิหารนอริชและบางส่วนของมหาวิหารปีเตอร์บะระห์ และมีร่องรอยของทรงนี้จากสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นของมุขตะวันออกของมหาวิหารแคนเตอร์บรีแต่ในมหาวิหารอื่นๆ ส่วนนี้ได้รับการขยายเปลี่ยนแปลง[3]

มุขตะวันออกที่สร้างแบบกอทิกจะเป็นสี่เหลี่ยมและอาจจะเป็นคล้ายผาเช่นที่มหาวิหารยอร์ก, มหาวิหารลิงคอล์น, มหาวิหารริพพอน, มหาวิหารอีลี และมหาวิหารคาร์ไล หรืออาจจะมีชาเปลแม่พระใหญ่ยื่นออกไปจากมุขซึ่งก็มีด้วยกันหลายแบบเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี, มหาวิหารลิชฟิลด์, มหาวิหารแฮรฟอร์ด, มหาวิหารเอ็กซิเตอร์ และมหาวิหารชิคเชสเตอร์.

มุขตะวันออกของมหาวิหารนอริช และมหาวิหารแคนเตอร์บรีก็มีชาเปลยื่นออกไป แต่ที่นอริชเป็นส่วนที่สร้างเพิ่มเติมแบบกอธิคจากส่วนที่เดิมเป็นแบบนอร์มัน ส่วนที่แคนเตอร์บรีส่วนนี้เรียกว่า “มงกุฎ” (Corona) เป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษตอนต้นที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ตั้งของกะโหลกของนักบุญทอมัส เบ็กเก็ตที่ถูกเฉือนออกไปโดยผู้ลอบสังหาร[2] มุขตะวันออกของมหาวิหารอื่นเช่นมหาวิหารเดอแรม, มหาวิหารปีเตอร์บะระห์ และมหาวิหารกลอสเตอร์ได้รับการขยายเปลี่ยนแปลงและไม่เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถบอกลักษณะที่สำคัญได้

ลักษณะภายนอก แก้

มหาวิหารอังกฤษมักจะล้อมรอบด้วยลานหญ้ากว้างใหญ่ที่สามารถทำให้มองเห็นลักษณะโครงสร้างได้อย่างชัดเจนซึ่งไม่เหมือนกับมหาวิหารในยุโรปที่มักจะล้อมรอบด้วยบ้านเรือนหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างของอาราม[3] ภาพพจน์ของมหาวิหารแบบอังกฤษคือสิ่งก่อสร้างที่มีแขนขาแผ่ออกไป ส่วนที่ยื่นออกไปตามแนวนอนได้รับความสมดุลจากหอใหญ่เหนือจุดตัดและ/หรือด้านหน้าที่ตั้งตามแนวดิ่ง มหาวิหารหลายมหาวิหารโดยเฉพาะที่มหาวิหารวินเชสเตอร์, มหาวิหารเซนต์อัลบัน และมหาวิหารปีเตอร์บะระห์ที่หอไม่ค่อยสูงเท่าใดนักจนทำให้ได้รับคำบรรยายว่าดูคล้าย “เรือบรรทุกอากาศยาน

นอกจากมหาวิหารแทบทุกมหาวิหารจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประทับตาประทับใจแล้วก็ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญในการเป็นที่หมายตาและเป็นองค์ประกอบของภูมิทัศน์ที่มองเห็นได้แต่ไกลจากทุ่งโล่ง เช่นมหาวิหารอีลีที่สูงเด่นขึ้นมาเมื่อมีน้ำท่วมในบริเวณนั้นจนได้รับฉายาว่า “เรือแห่งเฟ็นส” (The Ship of the Fens) [2] หรือหอสามหอของมหาวิหารลิชฟิลด์ที่ได้รับฉายาว่า “สามสาวแห่งเวล” (The Ladies of the Vale) [2] หรือ “หออันงดงาม”[2] ของมหาวิหารวูสเตอร์สามารถมองเห็นจากอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเซเวิร์น[8] มหาวิหารลิงคอล์นที่มีหอสามหอด้านหน้ามหาวิหาร หอที่สูงที่สุดสูงถึง 80 เมตรตั้งเด่นสง่าอยู่บนเนินสูงเหนือตัวเมือง มหาวิหารซอลสบรีที่มี “ยอดแหลมอันไม่มีที่ติ” (faultless spire) [2] ที่กลายเป็นภาพสัญลักษณ์ของทิวทัศน์ของอังกฤษ และยิ่งทำให้แพร่หลายยิ่งขึ้นไปอีกจากภาพเขียนของจอห์น คอนสตาเบิล (John Constable) ทางด้านเหนือของอังกฤษ มหาวิหารเดอแรมก็ตั้งเด่นบนเนินชันเหนือแม่น้ำเวียร์ราวกับเป็น “กึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และกึ่งปราสาทที่สร้างความยำเกรงแก่ชาวสกอต”[2][10]

ลักษณะภายใน แก้

 
มหาวิหารเวลล์สเน้นความงามของแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง
เน้นแนวนอน แก้

ความที่ลักษณะการก่อสร้างของมหาวิหารอังกฤษแตกต่างจากกันเป็นอันมากทำให้ลักษณะภายในก็ต่างกันมากเช่นกัน ภายในมหาวิหารแบบอังกฤษมักจะสร้างความประทับตาว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยาวหรือลึก และตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยาวจริงๆ นอกจากนั้นแล้วการก่อสร้างของสถาปัตยกรรมของยุคกลางก็ยังแตกต่างกับมหาวิหารในประเทศอื่นที่เน้นความประทับตาตามแนวนอนมากกว่าที่จะเน้นแนวตั้งเช่นในฝรั่งเศส โดยเฉพาะในกรณีของมหาวิหารเวลล์สที่ไม่มีผนังแนวตั้งที่ต่อเนื่องกันตลอดแนวให้เห็น แต่มีระเบียงแนบที่ตั้งตลอดแนวของช่องทางเดินกลางที่ดูสุดลูกหูลูกตา

มหาวิหารซอลสบรีก็เช่นกันที่ไม่เน้นแนวตั้งและใช้การตกแต่งภายใต้ระเบียงแนบด้วยเสาที่ทำด้วยหินเพอร์เบ็ค (Purbeck stone) ที่ช่วยเพิ่มความยาวหรือความลึกของแนวนอน มหาวิหารวินเชสเตอร์, มหาวิหารนอริช และมหาวิหารเอ็กซิเตอร์เน้นแนวนอนโดยการใช้สันบนเพดานโค้งที่ตกแต่งอย่างงดงาม[2]

เพดานโค้ง แก้

ความซับซ้อนของเพดานโค้งเป็นลักษณะสำคัญอีกลักษณะหนึ่งของมหาวิหารอังกฤษ[3] เพดานโค้งมีตั้งแต่เพดานโค้งแบบง่ายๆ ตามแบบเพดานโค้งแบบฝรั่งเศสเช่นที่มหาวิหารชิคเชสเตอร์ไปจนถึงเพดานโค้งที่ซับซ้อนขึ้นที่รวมทั้ง “เพดานโค้งซ้อน” (“tierceron”) ที่มหาวิหารเอ็กซิเตอร์ หรือ “เพดานโค้งสอดสลับ” (“lierne”) ที่มหาวิหารนอริช หรือที่ซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้นก็ที่มหาวิหารวินเชสเตอร์, หรือเพดานโค้งสอดสลับที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิหารบริสตอล, หรือเพดานโค้งเป็นแหเหนือบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารกลอสเตอร์ และมหาวิหารยอร์ก เพดานพัดหลังบริเวณร้องเพลงสวดที่มหาวิหารปีเตอร์บะระห์ และเพดานที่แต่งด้วยปุ่มหินที่ห้อยลงมาเหมือนตะเกียงในบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารออกซฟอร์ด[2] เพดานที่วิวัฒนาการขึ้นมาอย่างซับซ้อนเป็นลักษณะเฉพาะของอังกฤษ นอกไปจากเพดานดาวของสเปนและเยอรมนี[3]

ลักษณะสถาปัตยกรรม แก้

 
ภายในแบบนอร์มันของ
มหาวิหารปีเตอร์บะระห์

แซกซันและนอร์มัน แก้

แม้ว่ามหาวิหารในอังกฤษส่วนใหญ่ที่เป็นสถาปัตยกรรมนอร์มันสร้างแทนที่คริสต์ศาสนสถานเดิมที่เป็นแบบแซ็กซอน มหาวิหารริพพอนยังคงรักษาคริพท์ (crypt) ที่เป็นแบบแซ็กซอนภายใต้บริเวณร้องเพลงสวด มหาวิหารทุกมหาวิหารที่ก่อสร้างในยุคกลางยกเว้นมหาวิหารซอลสบรี, มหาวิหารลิชฟิลด์ และ มหาวิหารเวลล์สพอมีร่องรอยของสถาปัตยกรรมนอร์มันหลงเหลืออยู่บ้าง และตัวสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ของมหาวิหารปีเตอร์บะระห์, มหาวิหารเดอแรม และ มหาวิหารนอริชยังคงเป็นสถาปัตยกรรมนอร์มัน บางมหาวิหารก็มีบางส่วนที่เป็นแบบนอร์มันเช่นช่องทางเดินกลางของมหาวิหารอีลี, มหาวิหารกลอสเตอร์ และ มหาวิหารเซาท์เวลยังคงเป็นแบบนอร์มัน หรือหัวเสาแกะสลักเป็นสิงหาราสัตว์แบบนอร์มันที่มีชื่อเสียงภายในคริพท์ของมหาวิหารแคนเตอร์บรี[2]

กอธิคตอนต้น แก้

 
หน้าต่างแลนเซ็ทของมหาวิหารซอลสบรี
 
การตกแต่งแบบกอธิควิจิตรภายในมหาวิหารเอ็กซิเตอร์
 
เพดานแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์เหนือบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารยอร์ค

มหาวิหารหลายมหาวิหารมีบริเวณหลักๆ ที่สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ในสมัยสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “กอธิคตอนต้น” หรือ “กอธิคแลนเซ็ท” ที่เห็นได้จากลักษณะที่เรียบง่าย ไม่มีลวดลายตกแต่งด้วยซี่หินในบานหน้าต่าง ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมกอธิคตอนต้นที่สำคัญคือที่มหาวิหารซอลสบรี, มหาวิหารเวลล์ส และมหาวิหารวูสเตอร์, ทางแขนกางเขนด้านตะวันออกของมหาวิหารแคนเตอร์บรี, มหาวิหารแฮรฟอร์ด และมหาวิหารซัทเธิค, และแขนกางเขนของมหาวิหารยอร์ค นอกจากนั้นสมัยนี้ยังเป็นสมัยที่มีการก่อสร้างด้านหน้าอย่างบรรเจิดเช่นที่ด้านหน้าของมหาวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือที่ไม่หรูหราเท่าและกลมกลืนกว่าของมหาวิหารริพพอน[2]

กอธิควิจิตร แก้

กอธิควิจิตรจะเห็นหน้าต่างที่มีการตกแต่งด้วยซี่หินเป็นลวดลายที่อาจจะเป็นลวดลายเรขาคณิตหรือม้วนโค้ง มหาวิหารมีส่วนที่สร้างเป็นแบบเรขาคณิตระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่รวมทั้งมหาวิหารลิงคอล์น, มหาวิหารลิชฟิลด์, บริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารอีลี และหอประชุมสงฆ์ของมหาวิหารซอลสบรี และมหาวิหารเซาท์เวล เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 การตกแต่งหน้าต่างก็เริ่มรวมการตกแต่งที่ใช้เส้นม้วนโค้งที่เห็นได้จากหน้าต่างของหอประชุมสงฆ์ของมหาวิหารยอร์ค, หอประชุมสงฆ์แปดเหลี่ยมของมหาวิหารอีลี และหน้าต่างทางมุขตะวันตกของมหาวิหารเอ็กซิเตอร์.

การวิวัฒนาการต่อมาก็รวมทั้งการใช้เส้นม้วนโค้งซ้อนหรือเส้นโค้งคล้ายเปลวไฟที่มักจะพบในหน้าต่างที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1320 โดยเฉพาะหน้าต่างด้านหลังของบริเวณร้องเพลงสวดที่มหาวิหารเวลล์ส และของช่องทางเดินกลางของมหาวิหารเอ็กซิเตอร์ การตกแต่งลักษณะนี้มักจะทำร่วมกับการใช้เพดานสันที่สลับเส้นสันกันอย่างซับซ้อนเช่นในหอประชุมสงฆ์ของมหาวิหารเวลล์สและบนเพดานของมหาวิหารเอ็กซิเตอร์ที่แล่นตลอดแนวช่องทางเดินกลางโดยไม่มีหอกลางมาขัดที่ยาวถึง 91 เมตร และเป็นเพดานโค้งจากยุคกลางที่ยาวที่สุดในโลก[2]

ช่วงสุดท้ายของกอธิควิจิตรแบบโค้งม้วนเห็นได้ในงานตกแต่งเส้นโค้งม้วนที่ซับซ้อนมากขึ้น หน้าต่างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในอังกฤษสร้างในช่วงเวลานี้ระหว่าง ค.ศ. 1320 ถึง ค.ศ. 1330 ที่รวมทั้งหน้าต่างกุหลาบบนผนังของแขนกางเขนด้านใต้ที่เรียกกันว่า “ตาพระสังฆราช” ที่มหาวิหารลิงคอล์น, “หัวใจของยอร์คเชอร์” บนมุขด้านตะวันตกของมหาวิหารยอร์ค และหน้าต่างเก้าช่องของมหาวิหารคาร์ไล[1][2]

นอกจากนั้นก็ยังมีงานชิ้นเล็กๆ ภายในมหาวิหารที่สร้างแบบกอธิควิจิตรแบบโค้งม้วนที่รวมทั้งซุ้มโค้งของชาเปลพระแม่มารีที่มหาวิหารอีลีที่มีเพดานโค้งที่กว้างที่สุดในอังกฤษ, ฉากหินที่มหาวิหารลิงคอล์น และประตูที่ตกแต่งอย่างงดงามของมหาวิหารอีลี และมหาวิหารรอเชสเตอร์ ลักษณะที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของยุคนี้คือการสร้างเพดานโค้งที่ซับซ้อนที่เรียกว่า “เพดานโค้งสอดสลับ” (“lierne”) ที่สันเพดานต่อเนื่องกันโดยสันที่ไขว้สลับที่ไม่ได้พุ่งออกมาจากผนังซึ่งทำให้ไม่ใช่สิ่งที่มีความสำคัญต่อโครงสร้าง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเพดานโค้งของมหาวิหารบริสตอล หรือมหาวิหารยอร์ค[1][2]

กอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ แก้

ในคริสต์ทศวรรษ 1330 เมื่อสถาปนิกในยุโรปนิยมการตกแต่งแบบกอธิควิจิตร สถาปัตยกรรมอังกฤษก็เริ่มหันจากการตกแต่งแบบโค้งม้วนไปในแนวใหม่ที่เรียบกว่ากอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ เช่นในการก่อสร้างบริเวณร้องเพลงสวดของแอบบีนอร์มันที่ปัจจุบันเป็นมหาวิหารที่มหาวิหารกลอสเตอร์ สถาปัตยกรรมกอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ที่ใช้การไขว้สลับซี่หินแทนที่จะเป็นการแกะสลักด้วยเส้นโค้งม้วนเช่นที่ทำกันในสมัยกอธิควิจิตร ที่ทำให้ผลที่ออกมาดูกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่นในการสร้างโครงสร้างของหน้าต่างของมุขตะวันออกและหน้าต่างชั้นบนที่ผสานกับลักษณะของซุ้มโค้งภายใต้และเพดานโค้งเหนือขึ้นไป ลักษณะการก่อสร้างที่ว่านี้เป็นลักษณะที่แปรเปลี่ยนได้ง่ายและใช้ในการสร้างช่องทางเดินกลางของมหาวิหารแคนเตอร์บรีและมหาวิหารวินเชสเตอร์ และในบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารยอร์ค

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 หอของมหาวิหารในอังกฤษไม่ก็สร้างหรือต่อเติมเป็นแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์กันในสมัยนี้ ที่รวมทั้งหอของมหาวิหารกลอสเตอร์, วูสเตอร์,เวลล์ส, ยอร์ค, เดอแรม และ แคนเตอร์บรี และยอดแหลมของมหาวิหารชิชิสเตอร์ และมหาวิหารนอริช

การออกแบบภายในก็มาถึงช่วงสุดท้ายที่สร้างกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นการวิวัฒนาการการสร้างเพดานพัดที่สร้างกันเป็นครั้งแรกราวคริสต์ทศวรรษ 1370 ภายในระเบียงคดของมหาวิหารกลอสเตอร์ และต่อมาที่ด้านหลังของบริเวณร้องเพลงสวดที่มหาวิหารปีเตอร์บะระห์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 หรือที่ยิ่งหรูหรากว่านั้นในการใช้ปุ่มหินห้อยบนเพดานเหนือบริเวณร้องเพลงสวดแบบนอร์มันที่มหาวิหารออกซฟอร์ด หรือในการตกแต่งชาเปลของพระเจ้าเฮนรีที่ 7ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ในขณะที่อิตาลีอยู่ในสมัยการก่อสร้างแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาเข้าไปแล้ว[1][2][3]

ลักษณะความแตกต่างทางสถาปัตยกรรม แก้

ผังของมหาวิหารซอลสบรีที่เป็นรูปกางเขนซ้อนมักจะใช้ในการอ้างถึงในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในการเปรียบเทียบระหว่างสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษกับสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอิตาลีหรือกับในประเทศอื่นๆ[11] มหาวิหารซอลสบรีมีลักษณะหลายอย่างซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของอังกฤษ เช่นผังของมหาวิหารวูสเตอร์ที่คล้ายคลึงกับของมหาวิหารซอลสบรี ทั้งสองซอลสบรีมีแขนกางเขนซ้อนกันสองแขน, มีหอเหนือจุดตัดขนาดใหญ่, ซุ้มทางเข้า (porch) ของช่องทางเดินกลางทางด้านเหนือขนาดใหญ่ และ ระเบียงคดทางด้านใต้ที่เปิดออกไปยังหอประชุมสงฆ์หลายเหลี่ยม[1] ภายในทัศนมิติก็คล้ายคลึงกันที่ประกอบด้วยหน้าต่างแลนเซ็ทบนมุขตะวันออก และเรียงรายด้วยเสาสลับสีตัดกันที่ทำด้วยหินเพอร์เบ็ค แต่เมื่อมาถึงประวัติศาตร์แล้วสองมหาวิหารนี้ก็แตกต่างกันมาก มหาวิหารซอลสบรีใช้เวลาสร้าง 160 ปีก็เสร็จตั้งแต่การวางรากฐานในปี ค.ศ. 1220 จนเมื่อสร้างหอยอดแหลมในปี ค.ศ. 1380 ส่วนมหาวิหารวูสเตอร์ใช้เวลาถึง 420 ปีตั้งแต่การสร้างคริพท์แบบนอร์มันในปี ค.ศ. 1084 ไปจนถึงการสร้างชาเปลเจ้าชายอาร์เธอร์ในปี ค.ศ. 1504[1] แต่ประวัติการก่อสร้างของมหาวิหารวูสเตอร์เป็นประวัติที่คล้ายคลึงกับประวัติของการก่อสร้างมหาวิหารอื่นๆ ในอังกฤษในยุคก างมากกว่าประวัติของมหาวิหารซอลสบรี

การก่อสร้างมหาวิหารซอลสบรี แก้

 
มหาวิหารซอลสบรี ค.ศ. 1220-ค.ศ. 1380

ระหว่างปี ค.ศ. 1075 ถึงปี ค.ศ. 1228 มหาวิหารซอลสบรีตั้งอยู่บนเนินใกล้กับป้อมที่โอลด์เซรัม เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางมหาวิหารก็ตัดสินใจย้ายที่ตั้งจากบนเนินไปตั้งบนที่ราบไม่ไกลจากที่ตั้งเดิมนัก สิ่งก่อสร้างใหม่ออกแบบเป็นแบบกอธิคแลนเซ็ท (หรือที่เรียกว่ากอธิคอังกฤษตอนต้น) โดยนายช่างหินเอกอีไลอัสแห่งเดอแรม (Elias of Dereham) และนิโคลัสแห่งอีลี (Nicholas of Ely) โดยเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1220 ทางด้านมุขตะวันออกมาทางตะวันตกจนกระทั่งปี ค.ศ. 1258 จึงสร้างเสร็จ ส่วนที่สร้างต่อมาเป็นสถาปัตยกรรมเรขาคณิตวิจิตร (Geometric Decorated) ที่ตกแต่งด้วยลวดลายซี่หินในบานหน้าต่างและตามซุ้ม ราวห้าสิบปีหลังจากนั้นจึงได้มีการเริ่มสร้างหอกลางเหนือจุดตัดโดยสถาปนิกริชาร์ด ฟาร์ลีห์ การตกแต่งหรูหรากว่าลักษณะการก่อสร้างตอนต้น มหาวิหารทั้งหมดสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1380 การต่อเติมต่อมาก็เป็นเพียงแต่การสร้างหนุนซุ้มโค้งและหอเมื่อเสาข้างหนึ่งของหอเริ่มโก่งตัว สรุปแล้วมหาวิหารซอลสบรีแบ่งการก่อสร้างเป็นสามช่วงในระยะเวลา 160 ปีซึ่งทำให้เป็นมหาวิหารที่มีลักษณะความแตกต่างทางสถาปัตยกรรมน้อยที่สุดและดูกลมกลืนกันมากที่สุดในอังกฤษ[1][2][8]

การก่อสร้างมหาวิหารวูสเตอร์ แก้

ประวัติการก่อสร้างของมหาวิหารวูสเตอร์ไม่เหมือนกับของมหาวิหารซอลสบรี ส่วนสำคัญของมหาวิหารสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 มาจนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนที่เก่าที่สุดเป็นคริพท์รับด้วยคอลัมน์แบบนอร์มันที่มีหัวเสาแกะสลักที่เป็นของอารามที่เริ่มสร้างโดยนักบุญวูลฟสตันในปี ค.ศ. 1084 อีกส่วนหนึ่งที่เป็นสถาปัตยกรรมนอร์มันคือหอประชุมนักบวชที่เป็นหอกลมสร้างในปี ค.ศ. 1120 ที่มาเปลี่ยนเป็นทรงแปดเหลี่ยมทางด้านนอกเมื่อมาเสริมกำแพงในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ช่องทางเดินกลางสร้างแล้วสร้างซ้ำเป็นช่วงๆ เป็นหลายแบบหลายลักษณะโดยสถาปนิกหลายคนในช่วงระยะเวลาที่รวมทั้งหมดด้วยกันกว่า 200 ปีระหว่างปี ค.ศ. 1170 ถึงปี ค.ศ. 1374 ช่วงซุ้มโค้งบางช่วงก็เป็นงานกึ่งนอร์มันกึ่งกอธิค มุขตะวันออกแบบนอร์มันสร้างเหนือคริพท์เดิมโดยอเล็กซานเดอร์ เมสันระหว่างปี ค.ศ. 1224 ถึงปี ค.ศ. 1269 ที่มีลักษณะคล้ายกับลักษณะส่วนใหญ่ของมหาวิหารซอลสบรี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1360 จอห์น ไคลฟ์ก็สร้างช่องทางเดินกลางเสร็จและเริ่มสร้างเพดานโค้งเหนือช่องทางเดิน, มุขตะวันตก, ซุ้มทางเข้าทางด้านเหนือ และทางตะวันออกของระเบียงคด นอกจากนั้นแล้วไคลฟ์ก็ยังสร้างเสริมกำแพงของหอประชุมสงฆ์นอร์มันโดยเพิ่มค้ำยันและเปลี่ยนเพดานโค้ง งานชิ้นเอกของไคลฟ์คือหอกลางเหนือจุดตัดที่สร้างในปี ค.ศ. 1374 เดิมหนุนด้วยไม้และปูหลังคาด้วยตะกั่ว ระหว่างปี ค.ศ. 1404 ถึงปี ค.ศ. 1432 สถาปนิกไม่ทราบนามต่อเติมด้านเหนือและใต้ของระเบียงฉันนบถ ที่ต่อมามาต่อด้วยส่วนตะวันตกที่สร้างโดยจอห์น แช็พแมนระหว่างปี ค.ศ. 1435 ถึงปี ค.ศ. 1438 ส่วนสำคัญส่วนสุดท้ายที่สร้างคือชาเปลแชนทรีสำหรับเจ้าชายอาร์เธอร์ทางด้านขวาของบริเวณร้องเพลงสวดด้านใต้ระหว่างปี ค.ศ. 1502 ถึงปี ค.ศ. 1504[1][2][8]

ลักษณะเด่นของแต่ละมหาวิหาร แก้

ข้อสังเกต: วันที่ที่อ้างถึงข้างล่างเป็นเวลาที่กล่าวโดยจอห์น ฮาร์วีย์[1]

ภาพ ปีสร้าง/ลักษณะเด่น
  มหาวิหารบริสตอล (ปีสร้าง:ค.ศ. 1140-1888) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
หน้าต่างพระคัมภีร์คนยาก
มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี (ปีสร้าง:ค.ศ. 1070-1505 นอกจากหอที่สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1834) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ก่อตั้งเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 597 เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษมหาวิหารหนึ่งและเป็นมหาวิหารประจำตำแหน่งของอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ส่วนประกอบที่สำคัญคือ:

 
หน้าต่างประดับกระจกสีเก้าช่อง
มหาวิหารคาร์ไล (ปีสร้าง: ค.ศ. 1092 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นมหาวิหารที่เล็กที่สุดมหาวิหารหนึ่งในอังกฤษตั้งแต่ช่องทางเดินกลางถูกทำลายโดยกองทัพสกอตเพรสไบทีเรียนในปี ค.ศ. 1649 ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • หน้าต่างประดับกระจกสีเก้าช่องทางมุขตะวันออกที่ยังมีกระจกจากยุคกลางตอนบนของหน้าต่าง ที่เป็นการ “ปิดท้ายด้านตะวันออกอย่างรุ่งโรจน์”[2] และถือกันว่าเป็นหน้าต่างตกแต่งด้วยซี่หินลวดลาย (tracery) ที่งดงามที่สุดในอังกฤษหน้าต่างหนึ่ง[2][8]
 
บริเวณร้องเพลงสวด
มหาวิหารเชสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1093 -1537) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
บริเวณร้องเพลงสวด
มหาวิหารชิชิสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1088 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ก่อตั้งเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 1075 ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • ด้านหลังบริเวณร้องเพลงสวดเป็นสถาปัตยกรรมคาบสมัย
  • รูปสลักแบบนอร์มันหนึ่งคู่
  • หอระฆังที่ตั้งเป็นอิสระจากตัวมหาวิหาร (คริสต์ศตวรรษที่ 15) และยอดที่สร้างใหม่หลังจากที่ทลายลงมาในปี ค.ศ. 1860 ที่มองเห็นได้จากช่องแคบอังกฤษ[2][8]
 
ด้านบนของหอ
ที่สร้างอย่างละเอียดงดงาม
มหาวิหารเดอรัม (ปีสร้าง: ค.ศ. 1093 - 1490) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

ซี.เจย์. แสตรงค์กล่าวว่า “มหาวิหารในปัจจุบันใหญ่โตแข็งแรงแต่มีลักษณะที่สมส่วนจนไม่มีสิ่งใดที่ทำให้รู้สึกเทอะทะออกนอกรูป”[13]

 
มองจากภาพถ่ายทางอากาศ
เห็นหอแปดเหลี่ยมเหนือจุดตัด
มหาวิหารอีลี (ปีสร้าง: ค.ศ. 1090 - 1536) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
รูปสลักภายในช่องตกแต่ง
มหาวิหารเอ็กซิเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1112 - 1519) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • ลักษณะสถาปัตยกรรมของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบกอธิควิจิตร ของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14
  • เพดานโค้งของยุคกลางที่ยาวที่สุดในโลกที่แล่นตลอดหอนอร์มันสองหอเหนือแขนกางเขน[14]
  • รูปสลักภายในช่องตกแต่งด้านหน้าวัดทางมุขตะวันตก[2][8]
  • หน้าต่างตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยซี่หิน
 
หน้าต่างด้านตะวันออก
ขนาดเท่าสนามเทนนิส
มหาวิหารกลอสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1098 - 1493) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
ช่องทางเดินกลาง
รายด้วยเสาขนาดใหญ่
มหาวิหารแฮรฟอร์ด (ปีสร้าง: ค.ศ. 1079 - 1530, มุขตะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 19) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
หอยอดแหลมสามหอ
มหาวิหารลิชฟิลด์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1195 - 1400) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • มุขด้านตะวันตกตกแต่งอย่างละเอียด
  • ภายในที่ดูกลมกลืนเก้าอี้อิง
  • ช่องทางเดินกลาง ยาย 113 เมตร
  • ชาเปลพระแม่มารีมีหน้าต่างกระจกทาสีแบบเฟลมมิชจากแอบบีในเบลเยียม หน้าต่างสูงที่ทำให้ดูเหมือนลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส
  • เป็นมหาวิหารเดียวที่มีหอที่มียอดแหลมสามหอที่เรียกว่า “สามสาวแห่งเวล” หอหน้าด้านตะวันตกสูง 58 เมตร และหอกลางสูง 77 เมตร[2][3]
 
“ตาของบิชอป”

 
หอประชุมนักบวชแปดเหลี่ยม
ที่มีค้ำยันที่กางออกไป
มหาวิหารลิงคอล์น (ปีสร้าง: ค.ศ. 1074 - 1548) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นมหาวิหารที่ใหญ่เป็นที่สามรองจากมหาวิหารยอร์กและมหาวิหารเซนต์พอลเก่า ความงามของมหาวิหารทำให้จอห์น รัสคินกล่าวว่ามีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเท่ากับสองมหาวิหารรวมกัน และดร. เอ็ดเวิร์ด ฟรีแมนบรรยายว่าเป็น “งานสถาปัตยกรรมชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของมนุษยชาติที่สร้างขึ้น” [16]
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • มุขตะวันตกยังคงเป็นซุ้มโค้งที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมนอร์มันรายด้วยรูปสลักหินที่ได้รับการอนุรักษ์รอบประตูกลาง
  • หอเหนือจุดตัดเป็นหอที่สูงที่สุดในอังกฤษและเห็นได้จากแต่ไกลบนเนินสูงเหนือตัวเมือง
  • หอประชุมนักบวชแปดเหลี่ยมที่ด้านนอกมีค้ำยันที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างและเป็นหอประชุมสงฆ์แบบหลายเหลี่ยมหอแรกที่สร้างขึ้นในอังกฤษ
  • “บริเวณร้องเพลงสวดทูตสวรรค์” (Angel Choir) ถือกันว่าเป็นบริเวณร้องเพลงที่งดงามที่สุดของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มี “การตกแต่งด้วยลวดลายอย่างงดงามซ้อนกันเป็นชั้น” และรูปแกะสลักเทวดา[4]
  • มุมข้างโบสถ์สองข้างต่างก็มีหน้าต่างกุหลาบ หน้าต่าง “ตาของดีน” (Dean’s Eye) สร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1192 และมาบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมา ทางด้านเหนือ และ “ตาของบิชอป” (Bishop’s Eye) ทางด้านใต้สร้างร้อยปีต่อมา ที่ประกอบด้วยกระจกที่สรรหามาเศษกระจกจากยุคกลาง[2][8]
  • ที่บรรจุอวัยวะภายในของพระนางเอลินอร์ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ผู้เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1290
 
เพดานโค้งสันแต่งด้วยปุ่มหิน
มหาวิหารนอริช (ปีสร้าง: ค.ศ. 1096 - 1536) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 

เพดานตกแต่ง
มหาวิหารออกซฟอร์ด (ปีสร้าง: ค.ศ. 1158 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

มหาวิหารขนาดเล็กที่เป็นผลจากการทำลายช่องทางเดินกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • หอหินแหลมสร้างในปี ค.ศ. 1230 เป็นหอหินที่เก่าที่สุดหอหนึ่งในอังกฤษ
  • เพดานที่แต่งด้วยปุ่มหินที่ห้อยลงมาเหมือนตะเกียงในบริเวณร้องเพลงสวด ของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15[2][8]
 
เพดานจากปี ค.ศ. 1220
มหาวิหารปีเตอร์บะระห์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1117 - ค.ศ. 1508) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นมหาวิหารที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยครั้งที่สุด
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
ลายแกะสลักบนสันส่วนที่พับ
ได้ของเก้าอี้อิงที่กล่าวกันว่า
เป็นแรงบันดาลใจให้
หลุยส์ แคร์รอลเขียน
“Alice's Adventures in Wonderland”
มหาวิหารริพัน (ปีสร้าง: คริสต์ศตวรรษที่ 9 หรือ 10 - ค.ศ. 1522) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นคริสต์ศาสนสถานที่ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 1836
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • คริปต์ตั้งแต่สมัยแซ็กซอน
  • มุขตะวันตกที่มิได้รับการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สร้าง
  • สถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นที่กลมกลืนกันเป็นอันดี
  • บริเวณร้องเพลงสวดที่มีเก้าอี้อิงที่แกะสลักอย่างเอียดงดงามจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นรูปต่างๆ ที่น่าสนใจและมีชื่อเสียง[2][8]
 
ซุ้มทางเข้าแบบนอร์มัน
มหาวิหารรอเชสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1177 - 1512) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
จิตรกรรมฝาผนังจากยุคกลาง
มหาวิหารเซนต์อัลบัน (ปีสร้าง: ค.ศ. 1077 - 1521) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นคริสต์ศาสนสถานที่ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 1877
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • สิ่งที่ต่างจากมหาวิหารอื่นคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่รวมทั้งหอที่สร้างจากอิฐที่ไปเอามาจากเมืองโรมันเวรูลาเมียม
  • หอเหนือจุดตัดยังเป็นหอเดิมที่สร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่สูง 144 ฟุต และหนัก 5,000 ตัน
  • จิตรกรรมฝาผนังจากยุคกลาง
  • เพดานไม้ทาสีจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13.[2][8]
 
หอหินที่สูงที่สุดในอังกฤษ
มหาวิหารซอลสบรี (ปีสร้าง: ค.ศ. 1220 - 1380) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นมหาวิหารที่เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมการสร้างมหาวิหารของอังกฤษ
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • ลักษณะกลมกลืนได้สัดส่วนโดยเฉพาะจากภายนอกที่แนวนอนสมมาตรกับแนวตั้งของหอสูงแหลม
  • สิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษตอนต้นที่สมบูรณ์ที่สุดในอังกฤษ
  • หอหินเหนือจุดตัดสูง 123 เมตรที่เป็นหอหินที่สูงที่สุดในอังกฤษ
  • ระเบียงฉันนบถที่ยังอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • ที่เก็บมหากฎบัตรหนึ่งในสี่ต้นฉบับ
  มหาวิหารซัดเดิร์ก (ปีสร้าง: ค.ศ. 1208 - 1520) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ช่องทางเดินกลางถูกทำลายและสร้างใหม่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยอาร์เธอร์ โบลมฟิลด์
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
ช่องทางเดินกลางนอร์มัน
มหาวิหารเซาท์เวล (ปีสร้าง: ค.ศ. 1108 - 1450) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
การตกแต่งคล้ายป่าปาล์ม
มหาวิหารเวลล์ส (ปีสร้าง: ค.ศ. 1175 - 1490) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ได้รับการบรรยายว่าเป็นมหาวิหารที่มี “อรรถรสมากที่สุดในอังกฤษ”[2]
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบกอธิคอังกฤษตอนต้น ที่เพิ่มด้วยการแกะสลักอย่างละเอียดวิจิตรของบัวและหัวเสาของพรรณไม้ที่เรียกกันว่าการแกะสลักแบบ “ใบหิน” (stiff leaf)
  • มุขตะวันออกยังคงมีกระจกจากของเดิมซึ่งหาดูได้ยากในอังกฤษ
  • ด้านหน้าด้านตะวันตกตกแต่งด้วยรูปสลัก[2][8][18]
  • เพดานโค้งเหนือช่องทางเดินกลางที่ยาวที่สุดในโลก
 
ภายในที่ทำให้ผู้เห็นต้องตกตลึง
ด้วยความประทับใจในความงาม
มหาวิหารวินเชสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1079 - 1532) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ส่วนประกอบที่สำคัญ:

  • ภายนอกดูเหมือนมหาวิหารแบบนอร์มันซึ่งเป็นมหาวิหารที่ยาวที่สุดในโลก แต่มุขตะวันตกเป็นแบบกอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ที่มีหน้าต่างใหญ่โตที่เป็นกระจกแตกหักจากยุคกลางที่นำมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่
  • คริปต์และมุมข้างโบสถ์ยังคงเป็นแบบสถาปัตยกรรมนอร์มัน
  • ช่องทางเดินกลางที่ดูโปร่งด้วยเสาที่เพรียวและซุ้มโค้งที่เน้นแนวตั้งแกะมาจากภายในที่เดิมเป็นแบบนอร์มัน เรฟเวอเร็นด์ไซค์สกล่าวว่าทำให้เมื่อผู้เข้ามาในวัดต้องอ้าปากด้วยความตกตลึง[19]
  • เครื่องตกแต่งต่างๆ ที่แกะสลักด้วยไม้จากหลายสมัย[2][8]
 
คริพท์นอร์มัน
มหาวิหารวูสเตอร์ (ปีสร้าง: ค.ศ. 1084 - 1504) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

เป็นมหาวิหารที่มีทุกลักษณะสถาปัตยกรรมตั้งแต่นอร์มันไปจนถึงกอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

 
ปุ่มหิน
 
“หัวใจของยอร์กเชอร์”
มหาวิหารยอร์ค (ปีสร้าง: ค.ศ. 1154 - 1500) - (  ภาพที่คอมมอนส์)

ยอร์คเป็นมหาวิหารแบบกอธิคที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ส่วนประกอบที่สำคัญ:

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 John Harvey, English Cathedrals
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39 2.40 2.41 2.42 2.43 2.44 2.45 2.46 2.47 2.48 2.49 2.50 2.51 2.52 2.53 2.54 2.55 2.56 2.57 Alec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 Banister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Nikolaus Pevsner, ‘’An Outline of European Architecture’’
  5. F.H. Crossley, ‘’The English Abbey’’
  6. J.C. Cox and C.B. Ford, ‘’Parish Churches’’
  7. Phoebe Stanton, ‘’Pugin’’
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 8.21 8.22 8.23 8.24 Tim Tatton-Brown and John Crook, ‘’The English Cathedral’’
  9. Hereford Cathedral also had a single western tower, as well as its central tower. The western tower fell in 1786.
  10. Sir Walter Scott
  11. See for example- Nikolaus Pevsner, ‘’An Outline of European Architecture’’.
  12. John Shirley, ‘’ A Pictorial History of Canterbury Cathedral’’.
  13. C.J. Stranks, ‘’A Pictorial History of Durham’’
  14. The towers also occupied this position at Old Sarum and Ottery St Mary. ref. ACT
  15. H.R. Burrows, A Pictorial History of Hereford Cathedral’’
  16. D.C. Dunlop, ‘’ A Pictorial History of Lincoln Cathedral’’.
  17. J.L. Cartwright, ‘’ A Pictorial History of Peterborough Cathedral’’
  18. 18.0 18.1 Lee, Seddon and Stephens, ‘’Stained Glass’’
  19. N. Sykes,’’ A Pictorial History of Winchester Cathedral’’

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในอังกฤษในยุคกลาง