สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (สจด.) (อังกฤษ: Chitralada Technology Institute, CDTI) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[3] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 ดำเนินการโดยมูลนิธิสยามบรมราชกุมารีเพื่อโรงเรียนจิตรลดา

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ชื่อย่อสจด. / CDTI
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา (เอกชน)
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (10 ปี)
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (ในกำกับของรัฐ)
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (5 ปี)
นายกสภาฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[1]
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
ผู้ศึกษา1,144 คน (2566)[2]
ที่ตั้ง
สี████ สีเหลือง สีฟ้า
เว็บไซต์https://www.cdti.ac.th/

ประวัติ

แก้

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยมีรากฐานความเป็นมาจากโรงเรียนจิตรลดา ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องด้วยขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เจริญพระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวายการสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ดร.ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา

         ต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ทรงเจริญพระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก 4 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่ง คือ ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 1400 ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนอนุบาล 2 ระดับ ระดับละ 8 คน

    จนเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จ พระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร เรียนถาวร ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานนาม โรงเรียนว่า "โรงเรียนจิตรลดา" ต่อจากนั้นก็เพิ่มระดับชั้นขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละชั้น จนนักเรียน จิตรลดารุ่นที่ 3 คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิตติวัฒนาดุลโสภาคย์ เริ่มทรงพระอักษรเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 5 คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ รวมถึงพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 9 ทุกพระองค์

         นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราโชบายเพื่อให้คณะครูโรงเรียนจิตรลดาดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามพระราชประสงค์ พอสรุปกระแสพระราชดำรัสได้ว่า มีพระราชประสงค์ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงพระอักษรร่วมกับนักเรียนอื่นซึ่งมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน เพื่อจะได้เข้าพระทัยในสิ่งแวดล้อมและปัญหาของคนอื่น ตลอดจนทรงรู้จักวางพระองค์ได้ถูกต้อง และทรงเมตตากรุณากับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ทรงให้มีระเบียบวินัย และทรงประหยัด อดออม ทั้งด้านอุปกรณ์และการทรงเครื่อง (การแต่งกาย)

         ในปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนจิตรลดา ได้เปิดสายวิชาชีพเพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์บริหารโรงเรียนจิตรลดา มีพระราชประสงค์จะขยายโอกาสทางการศึกษา จากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และต่อยอดขึ้นมาเป็นภาคอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยจัดตั้งเป็นวิทยาลัยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา” เปิดการเรียนการสอนใน 2 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ ใน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาธุรกิจอาหาร และคณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ซึ่งมี 2 สาขาวิชา ได้แก่สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง

         ในปี พ.ศ. 2560 วิทยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีของทั้ง 2 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ ในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจ บริการอาหาร และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แขนงวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สำหรับระบบอาคารอัจฉริยะ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติ

         และเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561 โดยทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ให้วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา เปลี่ยนสถานะจาก “วิทยาลัย” สู่การเป็น “สถาบัน” พร้อมควบรวมโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) และวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา มาดำเนินงานร่วมกันในชื่อ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตาม พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ภายใต้การบริหารงานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และมี รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ดำเนินงานตามปรัชญาสถาบันที่ว่า รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำความรู้ สู้งานหนัก พร้อมจัดหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย “เรียนคู่งาน-งานคู่เรียน”

หลักสูตร

แก้

ระดับปริญญาตรี

แก้
  1. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง)
  2. คณะบริหารธุรกิจ
    • บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร
    • บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
  3. คณะเทคโนโลยดิจิทัล
    • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี

ระดับประกาศนียบัตร

แก้

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

แก้
  1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์
    • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขางานเครื่องมือกล
    • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง
    • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว สาขางานเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว
  2. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการตลาด สาขางานการตลาด
  3. ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย สาขางานการสร้างเครื่องดนตรีไทย
  4. ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขางานอาหารและโภชนาการ
  5. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรนวัต (ทวิศึกษา)

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

แก้
  1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ระบบปกติ/ระบบทวิภาคี) และสาขางานเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ (ระบบทวิภาคี)
    • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขางานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (ระบบทวิภาคี)
    • สาขาวิชาไฟฟ้า สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ระบบทวิภาคี)
    • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (ระบบปกติ/ระบบทวิภาคี)
    • สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (ระบบทวิภาคี/ทวิวุฒิ)
  2. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด สาขางานการตลาด
  3. ประเภทวิชาคหกรรม
    • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขางานเชฟอาหารนานาชาติ (ระบบทวิภาคี)
    • สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร สาขางานอุตสาหกรรมอาหาร
    • สาขาวิชาเชฟอาหารไทย สาขางานเชฟอาหารไทย
  4. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย

ทำเนียบนายกสภาสถาบัน

แก้
นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา
รายพระนามนายกสภาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
รายพระนามนายกสภาสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

ทำเนียบอธิการบดี

แก้
อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 21 กันยายน พ.ศ. 2562 (รักษาการในตำแหน่ง)
22 กันยายน พ.ศ. 2562[4] - 21 กันยายน พ.ศ. 2566
22 กันยายน พ.ศ. 2566[5] - ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 39ง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ)]
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้