สถาบันการเมือง (อังกฤษ: Political Institution) คือ รูปแบบของการบริหารจัดการทางการเมืองที่ถูกจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มีความเป็นทางการ สถาบันการเมืองเป็นมโนทัศน์ (concept) หนึ่งที่มักถูกสอนในวิชาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Compartive Politcs) และวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของวิชารัฐศาสตร์

"สถาบัน" ในทางรัฐศาสตร์ แก้

กำเนิดของการใช้คำว่า “สถาบัน (institution)” ในทางรัฐศาสตร์นั้น เกิดจากการที่นักวิชาการ [1]

  • ความคิดที่ว่า “เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในสังคมการเมือง” ที่นำเสนอโดยนักรัฐศาสตร์สายมาร์กซ์ (marxists)
  • ความคิดที่ว่า “พฤติกรรมในทางสังคม และพฤติกรรมทางการเมืองถูกกำหนดมาจากมุมมองในทางจิตวิทยาสังคม (socio-psychological perspectives)” ของนักรัฐศาสตร์สายวัฒนธรรมศึกษา (culturalists)

นักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้จะเรียกตัวเองว่านักรัฐศาสตร์สายสถาบัน (institutionists) ได้เสนอค้านความคิดทั้งสองข้างต้นว่าการทำความเข้าสังคมการเมืองนั้น จะต้องเข้าใจว่าบทบาท และหน้าที่ของสถาบันต่างๆของรัฐและสังคมนั้นมีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง

คุณลักษณะของสถาบันในทางการเมือง แก้

การทำให้กฎเกณฑ์และโครงสร้าง ของภาคส่วนใดๆของสังคมเป็นสถาบัน หรือทำให้เกิดสภาวะการกลายเป็นสถาบัน (institutionalization) กลายเป็นตัวชี้วัดใหญ่ของการเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆในทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์สายสังคมศาสตร์ ในอีกภาษาหนึ่งหากสังคมการเมืองใดยิ่งมีสภาวะความเป็นสถาบันสูงเท่าใดก็เท่ากับว่าระบบการเมืองจะเป็นระเบียบทางการเมือง (political order) ซึ่งก็คือสังคมการเมืองนั้นมีเสถียรภาพทางการเมือง (political stability) และความสามารถสูงในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในสังคม[2]

ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Phillipe Huntington) นักรัฐศาสตร์สายสังคมศาสตร์คนสำคัญ นำเสนอเงื่อนไขของสภาวะความเป็นสถาบันการเมืองว่าจะประกอบไปด้วย [3]

  • ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ซึ่งดูได้จากความยืนยาวในการทำหน้าที่ของกฎเกณฑ์และโครงสร้างองค์การ นั่นก็คือถึงแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่กฎเกณฑ์และองค์การก็ยังคงอยู่ โดยมีการปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อม
  • ความสลับซับซ้อน (complexity) ซึ่งดูจากความหลากหลายและการทำหน้าที่อย่างประสานงานของกฎเกณฑ์และองค์การ
  • ความเป็นอิสระ (autonomous) หมายถึง ความสามารถในการทำหน้าที่โดยไม่ถูกครอบงำจากองค์การอื่น และ
  • ความเป็นเอกภาพ (coherence) ซึ่งพิจารณาได้จากความเห็นพ้องต้องกันในกฎเกณฑ์ ความสำนึกร่วมกลุ่มและการเข้าไปมีส่วนร่วมตามที่กฎเกณฑ์ระบุเอาไว้

ดังกล่าว่าการศึกษาสถาบันการเมืองเป็นมโทัศน์ของวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งต้องศึกษาว่าสังคมการเมืองใดที่จะพัฒนาหรือไม่นั้น ต้องมีการการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการสร้างสถาบันการเมือง และรูปแบบต่างๆของสถาบันการเมือง กล่าวอีกภาษาหนึ่งการศึกษาสถาบันการเมืองคือความพยายามของนักพัฒนาการเมืองที่จะแสวงหารูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาการเมืองของสังคมการเมืองเพื่อให้กลายเป็นสังคมการเมืองประชาธิปไตย สถาบันการเมืองในสายตาของนักพัฒนาการเมืองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสมาชิกในสังคมการเมืองให้มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่สังคมการเมืองต้องการ หรือก็คือสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองขึ้นมา ในขณะเดียวกันสถาบันการเมืองก็ต้องสนองตอบต่อความต้องการทางการเมืองการปกครองของสมาชิกในทางการเมืองด้วย กล่าวอีกภาษาหนึ่งสถาบันการเมืองและสมาชิกทางการเมืองต้องพันผูกซึ่งกันและกัน (interplay) ต่อกัน[4] ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมหมายความว่าถ้าสถาบันการเมืองไม่สามารถสนองตอบวัฒนธรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมการเมืองได้ สถาบันการเมืองก็ต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้แล้วการทำความเข้าใจกระบวนวิชาการพัฒนาการเมืองจึงหลีกเลี่ยงการศึกษาวัฒนธรรมการเมืองไปไม่พ้น[5]

รูปแบบ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Damien Kingsbury. Political Development. New York : Routledge, 2007, p. 145
  2. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.
  3. Samuel Huntington. Political Order in Changing Societies. (Second edition). Connecticut: Yale University Press, 1969
  4. Olle Törnquis. Politics and Development: a critical introduction. London • Thousand Oaks • New Delhi : SAGE Publication, 1999, p. 93 - 103.
  5. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.

ดูเพิ่ม แก้