สถานีรถไฟเชียงรากน้อย

สถานีรถไฟเชียงรากน้อย เป็นสถานีรถไฟประจำตำบลเชียงรากน้อย อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และย่านชานเมือง

สถานีรถไฟเชียงรากน้อย
ป้ายสถานีรถไฟเชียงรากน้อยทางทิศเหนือ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านเชียงรากน้อย หมู่ 11 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13180
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ชานชาลา5
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา2
ที่จอดรถลานว่างหน้าสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1024 (ชน.)
เขตค่าโดยสารช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟ
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ28 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ผู้โดยสาร
ไม่เกิน 100 คน /วัน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
นวนคร สายเหนือ คลองพุทรา
มุ่งหน้า เชียงใหม่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ คลองพุทรา
เชียงรากน้อย
Chiang Rak Noi
กิโลเมตรที่ 46.01
นวนคร
Nava Nakhon
–1.89 กม.
คลองพุทรา
Khlong Phutsa
+5.87 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง
ที่ตั้ง
แผนที่
อาคารสถานีรถไฟเชียงรากน้อย

สถานีรถไฟเชียงรากน้อยเป็นสถานีชั้นที่ 2 งานการเดินรถแขวงกรุงเทพ กองจัดการเดินรถเขต1 ศูนย์กรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม สถานีรถไฟเชียงรากเปิดให้บริการเดินรถทุกวันทั้งขาขึ้นและขาล่องวันละ 18 ขบวน สถานีรถไฟ มีจำนวนย่านทางรถไฟ 5 ทาง เป็นทางหลัก 3 ทาง ทางหลีก 2 ทาง ทางติดชานชาลา 5 ทาง โดยทางทิศใต้ของสถานี ห่างไป 1 โลเมตร จะมีทางแยกเพื่อรับซีเมนต์ ที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด สาขาTPI ศูนย์จ่ายเชียงราก ซึ่งสถานนีรถไฟเชียงรากน้อยอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 46.01 กิโลเมตร ทางใต้ของสถานีไป 250 เมตร มีสะพานทางรถไฟข้ามคลองเชียงราก ที่เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดปทุมธานี กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

แก้

รถไฟสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2444

ประวัติ เส้นทางเดินรถไฟสาย กรุงเทพ-โคราช สายแรกของไทย[1]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯเชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี – เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ – ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430

เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟพร้อมกันนั้นได้ เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ – นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ

ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2434

ในปี พ.ศ. 2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ – นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ – อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ – อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า

อ้างอิง

แก้
  1. ตำนานแห่งรถไฟไทย rotfaithai.com สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2562.