สถานีรถไฟท่าม่วง
ท่าม่วง เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 และเป็นสถานีรถไฟแห่งล่าสุดของการรถไฟแห่งประเทศไทย เคยเป็นสถานีสำคัญในช่วงก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ มีค่ายเชลยศึกใหญ่ เนื่องจากเป็นทุ่งกว้าง มีแหล่งน้ำ และไม่ไกลไม่ใกล้แหล่งชุมชนจนเกินไป ห่างสถานีรถไฟธนบุรี 100.34 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง[1] หมู่ 2 บ้านท่าม่วง กับเขตเทศบาลตำบลวังขนาย หมู่ 3 บ้านมะกอกหมู่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันเป็นลานกองคอนเทนเนอร์ (CY)[2] บนเส้นทางสายตะวันตก
สถานีรถไฟท่าม่วง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟท่าม่วง ปัจจุบันเป็นลานกองคอนเทนเนอร์ (CY) บนเส้นทางสายตะวันตก และยกฐานะมาจากที่หยุดรถไฟท่าม่วงในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | หมู่ที่ 2 บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง และหมู่ที่ 3 บ้านมะกอกหมู่ ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | ทางรถไฟสายใต้ | ||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
ในสมัยที่ทางรถไฟนี้เริ่มสร้างก็มีการก่อสร้างสถานีรถไฟท่าม่วง เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2[3] ได้เริ่มปรับปรุงทางปรากฎว่าสถานีนี้ห่างชุมชน จึงได้ยุบเป็นที่หยุดรถในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504[4] และสุดท้ายยกเลิกใช้งานไป แต่ด้วยที่ตั้งใกล้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 สายหนองตะแคง–เจดีย์สามองค์ (ถนนแสงชูโต) ไม่ไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม ที่หยุดรถไฟท่าม่วงนี้จึงถูกใช้พื้นที่อีกครั้ง ก่อสร้างเป็น container yard รองรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มทางหลีก ทางตัน และเครนสำหรับยกตู้สินค้าขึ้นลง พร้อมใส่รถบรรทุกวิ่งเข้าโรงงานต่อไป แต่ไม่ได้เป็นสถานีทางสะดวกอย่างเป็นทางการ รวมถึงไม่มีรถโดยสารจอดให้บริการ แต่รายได้ค่าขนส่งรถไฟต่อเที่ยวหลายหมื่น ด้วยจำนวนสินค้าต่อเที่ยวในรอบเดือน และค่าเช่าพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟท่าเรือน้อยช่วยกำกับ[5]
ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 นั้น ที่หยุดรถไฟท่าม่วงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารสถานี บ้านพักสถานี จำนวน 1 หลัง บ้านพักผู้ช่วยนายสถานีและเสมียนแบบแบ่งห้องพัก 2 ห้อง จำนวน 1 หลัง บ้านพักพนักงานคุมประแจ และบ้านพักรันนิ่งรูมที่ย่านที่หยุดรถไฟท่าม่วง แขวงบำรุงทางกาญจนบุรี กองบำรุงเขตหัวหิน ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง ฝ่ายการช่างโยธา[6] เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า และการเดินรถให้ราบรื่นขึ้นและใช้งานจริงในปลายปี พ.ศ. 2564
ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่หยุดรถไฟท่าม่วง ได้ยกฐานะโดยเปิดใช้เป็นสถานีรถไฟ ตั้งแต่เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป อยู่ระหว่างสถานีรถไฟท่าเรือน้อยและสถานีรถไฟกาญจนบุรี และเป็นสถานีรถไฟลำดับที่ 441[7] มีทางหลีก 499.70 เมตร ทางตัน 490.80 เมตร และเดินรถโดยระเบียบตอนสมบูรณ์ ระหว่างสถานีท่าเรือน้อย-ท่าม่วง และท่าม่วง-กาญจนบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 112-113. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
- ↑ "แผนบูรณาการการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก". สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: 1–114. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก)". -. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2504)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504
- ↑ "เรื่องเล่าจากที่หยุดรถเงินล้าน (จากผู้เขียน คุณ Banpong Station)". -.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566
- ↑ "งานจ้างก่อสร้างอาคารสถานีท่าม่วงบ้านพักสถานี จำนวน 1 หลัง บ้านพักผู้ช่วยนายสถานีและเสมียนแบบแบ่งห้องพัก 2 ห้อง จำนวน 1 หลัง บ้านพักพนักงานคุมประแจและบ้านพักรันนิ่งรูม ที่ย่านสถานีท่าม่วง แขวงบำรุงทางกาญจนบุรี กองบำรุงเขตหัวหิน ศูนย์บำรุงทางภาคกลาง ฝ่ายการช่างโยธา". การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 และเริ่มใช้ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563
- ↑ "เปิดใช้ "สถานีท่าม่วง" ตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป อยู่ระหว่างสถานีท่าเรือน้อยกับสถานีกาญจนบุรี เป็นสถานีรถไฟลำดับที่ 441". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566