ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย

(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟตลาดหนองคาย)

ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย หรือ สถานีรถไฟหนองคาย (เก่า) อดีตเป็นที่หยุดรถไฟ และสถานีรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีขบวนรถไฟมายังสถานนีนี้แล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณย่านสถานีรถไฟหนองคาย (เดิม) ริมฝั่งแม่น้ำโขง ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 (ถนนแก้วรวุฒิ)

ป้ายหยุดรถไฟตลาดหนองคาย
ที่หยุดรถไฟ
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ทางทิศตะวันตก ในปี พ.ศ. 2561
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งทางหลวงหมายเลข 242 (แก้ววรวุฒิ) บ้านมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลาที่หยุดรถไฟ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี2209 (ตง.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2501
ปิดให้บริการพ.ศ. 2551 (50 ปี)
ชื่อเดิมหนองคาย
ผู้โดยสาร
ปัจจุบัน0
ตลาดหนองคาย
Talat Nong Khai
กิโลเมตรที่ 623.58
หนองคาย
Nong Khai
–2.48 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย อดีตเคยมีชื่อว่าสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคายในขณะนั้น และเป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 - 2551[1]

ประวัติที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย แก้

การก่อสร้างเส้นทาง แก้

จากการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากสถานีรถไฟขอนแก่นขึ้นไป ถูกระงับไว้ชั่วคราว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตย ต่อมาจึงลงมือก่อสร้าง ต่อ จนกระทั่งเปิดเดินรถ ระหว่างขอนแก่น-อุดรธานี ระยะทาง 120 กิโลเมตร ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 จากนั้น การสร้างทางรถไฟสายนี้ ก็ถูกระงับเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มการก่อสร้าง ต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 49 กิโลเมตร โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านบาท เพื่อให้สร้างเสร็จภายใน 7 เดือน ตามความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ การก่อสร้างเสร็จตามกำหนด สามารถเปิดเดินรถได้ถึง สถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบันใช้ชื่อสถานีรถไฟนาทา) ระยะทาง 49 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2498 ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ขยายการก่อสร้างต่อระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านไปยังประเทศลาว จากสถานีรถไฟหนองคายเดิม (สถานีรถไฟนาทาในปัจจุบัน) ไปถึงสถานีหนองคายแห่งใหม่(ที่หยุดรถตลาดหนองคายในปัจจุบัน) ในขณะนั้น[2]

การเปลี่ยนชื่อ แก้

ซึ่งในการตั้งชื่อสถานีรถไฟสร้างใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ติดต่อกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแล้วเห็นควรตั้งชื่อว่า"หนองคาย" ใน ก.ม.623+588.11 โดยใช้ชื่อย่อว่า "นค." อภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เนื่องจากตั้งอยู่ในตัวเมืองหนองคาย ส่วนสถานีหนองคายเดิมเห็นควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นสถานี"นาทา" ใน ก.ม. 617+840 ใช้อักษรย่อเพื่อมิให้พ้องกับแห่งอื่นว่า "ยน." ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Na Tha" เพราะเนื่องจากสถานีรถไฟอยู่ติดกับตำบลนาทา[3]

การเปิดเดินรถไฟ  แก้

หลังจาการก่อสร้างทางรถไฟ แล้วมีการตั้งชื่อและเปลี่ยนชื่อ ช่วงสถานีนาทา-สถานีหนองคายเสร็จแล้ว จึงเปิดเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่เนื่องจากก่อสร้างอาคารสถานีหนองคายที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเปิดสถานีหนองคายเป็นที่หยุดรถไปพลางก่อน ที่ก.ม. 623+588 (บริเวณย่านสถานีหนองคาย ริมฝั่งแม่น้ำโขง) โดยใช้ชื่อว่า "ที่หยุดรถหนองคาย" มีอักษรย่อว่า "นค." ให้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เป็นการชั่วคราวแทนสถานีหนองคาย ตามคำสั่งที่ ก.112/7599 ที่ลงวันที่ 16 กันยายน 2500 ซึ่งให้ใช้ความเร็วในการเดินรถในทางตอนสถานีนาทา-ที่หยุดรถไฟหนองคาย โดยใช้ความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง หลังจากก่อสร้างสถานีรถไฟหนองคายเสร็จครบถ้วน จึงเปลี่ยนชื่อกลับจากที่หยุดรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟหนองคาย แล้วเปิดการเดินรถได้ตลอดทาง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 โดยความยาวของทางรถไฟสายนี้ ตั้งแต่สถานีชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ยาว 359 กิโลเมตร[4]

การถูกลดระดับ และยุบสถานี แก้

จากเปิดใช้งานสถานีรถไฟหนองคายมาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2543 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสายหนองคาย(ใหม่)ท่านาแล้ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ จึงย้ายสถานีรถไฟหลักจากสถานีรถไฟหนองคาย ไปยังสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่ และลดระดับจากสถานีรถไฟหนองคายเดิมเป็นที่หยุดรถไฟ แล้วใช้ชื่อใหม่เป็น ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย เป็นที่หยุดรถไฟบริเวณ กม.623+580 ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 จนในที่สุดวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟและปิดที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายอย่างถาวร โดยมีขบวนรถท้องถิ่น 415/418 นครราชสีมา - หนองคาย - นครราชสีมา เป็นเที่ยวสุดท้ายก่อนที่จะตัดเส้นทางย้ายไปท่านาแล้ง โดยให้ไปใช้สถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(สถานีรถไฟหนองคายในปัจจุบัน)แทน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้

อ้างอิง แก้

  1. ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ(สายอีสาน) สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562.
  2. สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562
  3. คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๑๒/๗๕๙๙ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.
  4. คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๕๑/๑๐๑๘๐ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง เปิดการเดินรถต่อจากสถานีนาทาถึงสถานีหนองคาย ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.