สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์

สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ (มลายู: Stesen Keretapi Kuala Lumpur) เป็นสถานีรถไฟหลักแห่งหนึ่งในเขตกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1910[1] เพื่อใช้งานแทนที่สถานีเก่าก่อนหน้านั้น สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์เคยเป็นสถานีรถไฟหลักของรถไฟระหว่างเมือง เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ในปี ค.ศ. 2001 สถานีรถไฟแห่งนี้โดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างตะวันออกกับตะวันตก

KA02
สถานีรถไฟกลางกัวลาลัมเปอร์
Stesen Komuter Kuala Lumpur
吉隆坡火车总站
สถานีรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
สถานีรถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม
มุมมองด้านหน้าสถานี มองจากฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุลต่านจาลันฮีชามุดดิน กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย
พิกัด3°8′22″N 101°41′36″E / 3.13944°N 101.69333°E / 3.13944; 101.69333
เจ้าของเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู
สายสายเซอเริมบัน และ สายพอร์ตกลัง (รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม) (ค.ศ. 1995–ปัจจุบัน)
สายเหนือ–ใต้ และ สายเซ็นตัล–อีโปะฮ์ (รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม)
เคทีเอ็ม อีทีเอส
ชานชาลาชานชาลาด้านข้าง 2 แห่ง
ชานชาลาเกาะกลาง 1 แห่ง
ราง4
โครงสร้าง
ที่จอดรถมี
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการค.ศ. 1886
สร้างใหม่ค.ศ. 1910
ติดตั้งระบบไฟฟ้าค.ศ. 1995

สถานีรถไฟแห่งนี้ตั้งอยู่บน ถนนสุลต่านจาลันฮีชามุดดิน หรือ "ถนนแห่งชัยชนะ" และตั้งอยู่ใกล้กับอาคารการรถไฟ, มัสยิดแห่งชาติ, อาคารดายาบูมิ และสถานีรถไฟฟ้า ปาซาร์ เซอนิ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำกลัง

ประวัติ แก้

สถานีเก่า แก้

ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ เคยมีสถานีรถไฟหลักอยู่ 2 แห่ง ในกัวลาลัมเปอร์

สถานีรถไฟแห่งแรก มีชื่อว่า สถานีเรสซิเดนต์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับย่านที่พักอาศัยของชาวอังกฤษ และตั้งอยู่ตรงข้ามกับเซอลาโงร์คลับ ตัวอาคารทำมาจากไม้ และหลังคาทำมาจากใบจาก สถานีรถไฟแห่งนี้ เป็นสถานีรถไฟแห่งในกัวลาลัมเปอร์ มีรถไฟเชื่อมต่อระหว่างกัวลาลัมเปอร์ กับเมืองกลัง ซึ่งเปิดทำการครั้งแรกวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1886

สถานีรถไฟแห่งที่สอง มีชื่อว่า สถานีถนนสุลต่าน ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1892 บนถนนฟอช (ปัจจุบันคือถนนตุนตันเชิงลอก) ตั้งอยู่ใกล้กับเมย์แบงกก์ทาวเวอร์ และสถานีขนส่งผู้โดยสารปุตุรายา รูปแบบอาคารสถานีค่อนข้างกับของสถานีเรสซิเดนต์ สถานีนี้ตั้งอยู่บนสายปุดุ ซึ่งเป็นทางรถไฟยังย่านอัมปัง

สถานีเรสซิเดนต์ถูกรื้อทิ้ง หลังจากที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ก่อสร้างเสร็จ และสถานีถนนสุลต่าน ก็ถูกรื้อทิ้งในปี ค.ศ. 1960 ส่วนทางรถไฟสายอัมปังในอดีตนั้น ก็ได้กลายมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา สายอัมปัง ในปัจจุบัน

การก่อสร้าง และการเปิดใช้งาน แก้

 
บริเวณด้านหน้าอาคารสถานี มีสถาปัตยกรรมคล้ายกับมัสยิดยาเม็ก

อาเธอร์ เบนิสัน ฮับแบค สถาปนิกชาวอังกฤษ ได้ทำการออกแบบอาคารสถานีนี้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบแองโกล-เอเชีย ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่ใช้สร้างมัสยิดยาเม็ก การก่อสร้างใช้เงิน 23,000 ดอลลาร์ช่องแคบ ตัวสถานีก่อสร้างเสร็จในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1910 ภายหลังจากที่มีการรื้อสถานีเรสซิเดนต์ กับสถานีถนนสุลต่านแล้ว สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ จึงกลายเป็นสถานีรถไฟหลักของกัวลาลัมเปอร์ สถานีรถไฟแห่งนี้ มีโรงแรมอยู่ภายในตัวสถานี ชื่อว่า โรงแรมสถานี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสถานีมรดก) ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 ได้มีการเปิดใช้งานรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม ซึ่งได้ผ่านสถานีนี้ด้วย

ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2001 ได้มีการย้ายสถานีรถไฟหลักไปที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) ทำให้สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ถูกลดความสำคัญลง สถานีนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการปรับระดับชานชาลาให้สูงพอดีกับประตูรถ

การปรับปรุงและพัฒนา แก้

 
แบบจำลองตู้โดยสารรถไฟในอดีต ภายในอาคารสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์

ตัวสถานีได้มีการปรับปรุงหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีกอาคารฝั่งเหนือถูกใช้เป็นที่ทำการสถานีในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งต่อมาได้ปิดตัวลง ในปี ค.ศ. 1986 ตัวอาคารสถานีได้ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมถึงการปรับปรุง "โรงแรมสถานีมรดก" ด้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการสร้างส่วนต่อขยายจากปีกอาคารฝั่งใต้ด้วย

ในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นปีที่รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน และสายพอร์ตกลัง) เปิดใช้งาน ทางสถานีได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจบัตรโดยสาร และได้การถมชานชาลาให้สูงขึ้น เพื่อให้พอดีกับระดับประตูรถไฟฟ้า

ในปี ค.ศ. 2001 หลังจากที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์เปิดใช้งาน รถไฟระหว่างเมืองทุกขบวน ได้ถูกยกเลิกการหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์แห่งนี้

ชานชาลา แก้

 
ชานชาลาสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ รูปแบบเก่า

สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ มีชานชาลาอยู่ 3 แห่ง แบ่งเป็นชานชาลาเกาะกลาง 2 แห่ง (ชานชาลาที่ 1 และ 4) และชานชาลาเกาะกลาง 1 แห่ง (ชานชาลาที่ 2 และ 3) ก่อนที่จะเปิดใช้งานสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) รายละเอียดของชานชาลา เป็นดังต่อไปนี้

สถาปัตยกรรม แก้

สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ ประกอบด้วยอาคารสถานี 1 หลัง ชานชาลา 3 แห่ง และทางรถไฟ 4 ทาง

อาคารสถานี ประกอบไปด้วย โถงที่พักผู้โดยสาร, ห้องจำหน่ายตั๋ว และที่ทำการสถานี ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ "ราจ" (Raj) เป็นการนำศิลปะแบบตะวันตกกับศิลปะแบบมุสลิมมาผสมกัน สถาปัตยกรรมแบบนี้ ได้รับความนิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ตัวอาคารสถานี มีทั้งหมด 3 ชั้น ทาสีอาคารด้วยสีครีม

ชานชาลาถูกเคลือบด้วยเหล็กกล้า แต่ละชานชาลาสามารถเชื่อมกันได้โดยใช้ทางเดินใต้ดิน ส่วนหลังคาถูกฉาบด้วยกระเบื้อง และมีถ่ายเทอากาศ เนื่องจากในอดีต ต้องถ่ายเทควันจากรถจักรไอน้ำออกไป

มุมมองด้านข้างของสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์

สถานีรถไฟใกล้เคียง แก้

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
ราวัง
มุ่งหน้า ชุมทางหาดใหญ่
  รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม
สายเหนือ–ใต้
(เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู)
  เคแอลเซ็นทรัล
มุ่งหน้า วุดแลนด์
ธนาคารเนอการา
มุ่งหน้า ราวัง
  รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
สายเซอเริมบัน
(เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู)
  เคแอลเซ็นทรัล
มุ่งหน้า เริมเบา
ธนาคารเนอการา
มุ่งหน้า บาตูเคฟส์
  รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
สายพอร์ตกลัง
(เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู)
  เคแอลเซ็นทรัล
มุ่งหน้า พอร์ตกลัง
เกอปงเซ็นทรัล
มุ่งหน้า อีโปะฮ์
  รถไฟฟ้าอีทีเอส
(เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู)
  เคแอลเซ็นทรัล
สถานีปลายทาง

อ้างอิง แก้

  1. "Kuala Lampur Railway Station". keretapi.com. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้