สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา/ชาวพุทธตัวอย่าง/เก็บบทความ

นี่เป็นส่วนของบทความที่จะแสดงในสถานีย่อย:พระพุทธศาสนาในส่วนคอลัมน์แนะนำชาวพุทธ ถ้าต้องการเสนอบทความให้ใส่ไว้ที่หน้าเสนอชาวพุทธตัวอย่าง


เนื้อหาประจำเทศกาลออกพรรษา พ.ศ.2553 แก้

 

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดนครปฐม4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อ่านต่อ...


เนื้อหาประจำวันพระแรม 1 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ.2553 (วันเข้าพรรษา) แก้

 

ริชาร์ด ทิฟฟานี เกียร์ (อังกฤษ: Richard Tiffany Gere) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2492 มีผลงานเป็นที่รู้จักในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และ ต่อมาถึง 1990-2000 ผลงานดังเช่น Pretty Woman, Primal Fear, และ Chicago ซึ่งจากเรื่องนี้ทำให้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากรางวัลลูกโลกทองคำ

เกียร์เป็นผู้ศึกษาธรรมกับองค์ดาไลลามะ ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา เขาได้เดินทางทั่วชมพูทวีป ทั้งอินเดีย เนปาล และทิเบต เลยไปจนถึง มองโกเลีย และจีน ทั้งยังทำหน้าที่เป็นช่างภาพในที่ที่เขาไป จนในปี พ.ศ. 2540 จึงตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มแรกชื่อ PILGRIM โดยสำนักพิมพ์ลิตเติล บราวน์ แอนด์ คัมปะนี พร้อมด้วยคำนำจากองค์ดาไลลามะ นำเสนอเรื่องราวบนเส้นทางพุทธศาสนาของเขา ที่เขาเดินทางไปกว่า 25 ปี อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำเทศกาลกฐิน 2552 แก้

 

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ โดยมี พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยจำพรรษาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

พระมหาวุฒิชัย เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันเข้าพรรษา 52 แก้

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (20 มกราคม พ.ศ. 2413 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทย ชื่อเดิมคือ "มั่น แก่นแก้ว" ท่านเกิดที่บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 22 ปี ในปี พ.ศ. 2436 เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ในพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล

เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาทแก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระสายวัดป่า หรือ พระสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนีจึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันวิสาขบูชา 2552 แก้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยรักษาการแทนพระสังฆราช และปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2508 เมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์

เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีพระอาการประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม จึงได้...อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันมาฆบูชา พ.ศ. 2552 แก้

ไฟล์:Prayudh Payutto.jpg

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (นามเดิม: ประยุทธ์ อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ.ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จักเช่นหนังสือ พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) นอกจากนี้ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อ่านต่อ...

เนื้อหาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - มกราคม พ.ศ. 2552) แก้

 


พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) หรือชื่ออันเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อชา หรือ พระอาจารย์ชา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ พัทธสีมา วัดก่อใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ท่านจึงได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเป็นรู้จักในปัจจุบันว่า "วัดหนองป่าพง"

พระโพธิญาณเถร (อ่านว่า:พระ-โพ-ธิ-ยาน-นะ-เถ-ระ) ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2551 (วันอาสาฬหบูชา) แก้

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the great - พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่าปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม (จัณฑาโศกราช) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม) และได้รับการยกย่องให้เป็น มหาราช พระองค์หนึ่งของโลกอีกด้วย อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันพระ ขึ้น15 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2551 แก้

 


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (Buddha) เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้าเพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู

ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันพระ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2551 (วันอัฏฐมีบูชา) แก้

 

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนบิดเบือนไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2551 (วันวิสาขบูชา) แก้

 


อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้ อ่านต่อ...