สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

(เปลี่ยนทางจาก สถานีชุมทางหาดใหญ่)

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เดิมชื่อ สถานีรถไฟโคกเสม็ดชุน ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็น 2 สาย คือ สายที่มุ่งหน้าไปยังปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ด้านรัฐกลันตัน และสายที่มุ่งหน้าไปบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย ส่วนสายที่ถูกยกเลิก 1 สาย คือสายที่มุ่งหน้าไปสงขลา ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ชุมทางหาดใหญ่
สถานีรถไฟทางไกล
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ใน พ.ศ. 2552
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
  สายใต้ – สายปาดังเบซาร์
ชานชาลา6
ทางวิ่ง16
ผู้ให้บริการรถไฟ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4347 (หใ.)
ประเภทชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2467; 100 ปีที่แล้ว (2467)
ชื่อเดิมโคกเสม็ดชุน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บ้านดินลาน สายใต้ นาม่วง
มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
สายใต้
สายปาดังเบซาร์
คลองแงะ
มุ่งหน้า ปาดังเบซาร์
ชุมทางหาดใหญ่
Hat Yai Junction
กิโลเมตรที่ 928.58
บ้านดินลาน
Ban Din Lan
–6.74 กม.
นาม่วง
Na Muang
+11.68 กม.
คลองแงะ
Khlong Ngae
+24.06 กม.
ที่ตั้ง
แผนที่

ประวัติ

แก้
 
หัวรถจักรแบลด์วิน หมายเลข 244 ถูกเก็บรักษาไว้บริเวณสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

ในอดีตสถานีรถไฟชุมทางตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาแต่ภายหลังประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ทำซื้อที่ดินของขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) และย้ายสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภามายังสถานีโคกเสม็ดชุน ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2460 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีชุมทางหาดใหญ่มาแต่นั้น[1] ส่วนสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาจึงกลายเป็นที่หยุดรถไฟ[2]

ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2521 ได้มีการเดินรถไปสายหาดใหญ่-สงขลา ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร

การคมนาคมในภาคใต้ในอดีตนั้น ต้องพึ่งการเดินทางด้วยรถไฟเป็นหลัก และด้วยการเป็นชุมทางสำคัญส่งผลให้อำเภอหาดใหญ่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงนับจากอดีตจนปัจจุบัน มีตัวเมืองและย่านพาณิชย์ขนาดใหญ่จนมีขนาดใหญ่กว่าตัวอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาด้วยซ้ำไป

ตารางเวลาการเดินรถ

แก้
ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

เที่ยวไป

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางหาดใหญ่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร171 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.10 05.50 สุไหงโก-ลก 10.10
ร175 ชุมทางหาดใหญ่ 06.30 ต้นทาง สุไหงโก-ลก 09.50
ดพ37 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 06.35 สุไหงโก-ลก 10.35
ดพ45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 06.35 ปาดังเบซาร์ 08.05
ดพ31 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.50 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 07.05
ท947 ชุมทางหาดใหญ่ 07.40 ต้นทาง ปาดังเบซาร์ 08.35
ท463 พัทลุง 06.00 07.45 สุไหงโก-ลก 12.08
ร169 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.30 09.18 ยะลา 11.05
ท451 นครศรีธรรมราช 06.00 10.07 สุไหงโก-ลก 14.45
ดพ41 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.50 12.03 ยะลา 13.40 งดเดินรถ
ท447 สุราษฎร์ธานี 06.20 13.02 สุไหงโก-ลก 17.35
ท949 ชุมทางหาดใหญ่ 14.00 ต้นทาง ปาดังเบซาร์ 14.55
ท455 นครศรีธรรมราช 09.38 14.20 ยะลา 17.20
ท445 ชุมพร 06.35 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 16.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางหาดใหญ่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท446 ชุมทางหาดใหญ่ 06.20 ต้นทาง ชุมพร 16.30
ท456 ยะลา 06.32 09.11 นครศรีธรรมราช 13.55
ท948 ปาดังเบซาร์ 08.55 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 09.50
ท448 สุไหงโก-ลก 06.30 10.46 สุราษฎร์ธานี 17.50
ท452 สุไหงโก-ลก 08.55 13.41 นครศรีธรรมราช 17.55
ร172 สุไหงโก-ลก 12.10 16.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ท950 ปาดังเบซาร์ 15.40 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 16.35
ดพ42 ยะลา 15.35 16.57 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 งดเดินรถ
ท464 สุไหงโก-ลก 12.20 16.55 พัทลุง 18.38
ดพ32 ชุมทางหาดใหญ่ 17.45 ปลายทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.10
ร176 สุไหงโก-ลก 14.55 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 18.00
ดพ38 สุไหงโก-ลก 14.15 18.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ดพ46 ปาดังเบซาร์ 17.00 18.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ร170 ยะลา 16.30 18.20 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

การก่อการวินาศกรรม

แก้
 
ภายในสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2552

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เคยตกเป็นเป้าการโจมตี โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดน ในปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ระเบิดแสวงเครื่อง มีผู้บาดเจ็บ 14 คน[3]
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ระเบิดแสวงเครื่อง ขบวนรถไฟหาดใหญ่-กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2532 มีการวางระเบิด 2 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 7 คน[3]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระเบิดแสวงเครื่อง จุดระเบิดด้วยสายชนวน มีผู้เสียชีวิต 4 คน รวมทั้งเด็กชายอายุ 5 ปี เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ [4]

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สมโชติ อ๋องสกุล. (11 กันยายน 2562). "ชีวิตและผลงานไทศึกษาของศาสตราจารย์เจีย แยนจอง : จากหาดใหญ่สู่กวางตุ้ง สิบสองปันนาและคุนหมิง". ศิลปวัฒนธรรม. 40:11, หน้า 31
  2. "ประวัติหาดใหญ่". เทศบาลนครหาดใหญ่. 3 มิถุนายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 พูโล กับการต่อสู้ที่เปลี่ยนไป เก็บถาวร 2007-12-26 ที่ archive.today สถาบันข่าวอิศรา
  4. “ปุระชัย” เช็กบิลตำรวจ - ฝ่ายปกครอง สังเวยระเบิดสถานีรถไฟ[ลิงก์เสีย]