สถานีกลาง
สถานีกลาง (อังกฤษ: central station; ฝรั่งเศส: gare centrale; เยอรมัน: Hauptbahnhof, แปลว่า สถานีหลัก) เริ่มมีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสถานีรถไฟที่เดิมสร้างขึ้นบริเวณขอบของใจกลางเมือง ได้ถูกโอบล้อมด้วยการขยายตัวของเมืองและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางเมืองไปโดยปริยาย[1] [2] ด้วยเหตุนี้ "สถานีกลาง" จึงมักเป็นส่วนหนึ่งของชื่อที่ถูกต้องของสถานีรถไฟที่เป็นศูนย์กลางหรือศูนย์กลางรถไฟหลักของเมือง แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีสถานีกลางคือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ [ก่อนหน้านี้สถานีกลางคือสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)]
การพัฒนา
แก้การเกิดขึ้นและการเจริญเติบโต
แก้สถานีกลางเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในช่วงที่เรียกกันว่า "ยุครถไฟ"[1][3] ในช่วงแรก สถานีรถไฟถูกสร้างขึ้นที่บริเวณขอบของใจกลางเมือง แต่ในเวลาต่อมา เมื่อเมืองขยายตัว สถานีรถไฟก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางเมืองไปโดยปริยาย[1][2]
ตัวอย่างเช่น สถานีรถไฟกลางแห่งแรกในเยอรมนีคือ สถานีกลางฮันโนเฟอร์ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2422 อันเป็นแบบอย่างให้กับนครใหญ่อื่น ๆ ในเยอรมนี แฟรงก์เฟิร์ตสร้างสถานีกลางตามมาใน พ.ศ. 2431 และโคโลญก็สร้างสถานีกลางในช่วง พ.ศ. 2433 สถาปัตยกรรมสถานีรถไฟกลางแบบคลาสสิกของเยอรมนี "บรรลุถึงจุดสูงสุด" ด้วยการสร้างสถานีกลางฮัมบวร์คอันเป็นที่เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2449 และสถานีกลางไลพ์ซิชอันเป็นที่เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2458[4]
ในยุโรป ที่หน่วยงานต่าง ๆ มักจะมีอำนาจควบคุมการพัฒนาระบบรางรถไฟมากกว่าในอังกฤษ[5] นี่ทำให้การวางผังเมืองมักจะพุ่งความสนใจไปที่สถานีกลาง "อันที่จริง ในนครใหญ่ ๆ ในยุโรปภาคพื้นทวีปโดยส่วนใหญ่ มีการจงใจออกแบบให้สถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ด้านหน้าดูโดดเด่น"[6] ในคริสต์ทศวรรษ 1880 "ความเป็นผู้นำระดับโลกในการออกแบบสถานีขนาดใหญ่ตกไปอยู่ในมือของเยอรมนี ซึ่งเงินทุนของรัฐช่วยให้สามารถสร้างสถานีกลางได้อย่างโอ่โถง" [7] ในทางกลับกัน ความที่อังกฤษเน้นไปที่ผู้ประกอบการ ทำให้สิทธิ์กระจัดกระจายออกไป ทำให้การก่อสร้างสถานีใหญ่ ๆ เป็นไปอย่างทุลักทุเล[8]
เมื่อเวลาผ่านไป การขยายตัวของเมืองทำให้สถานีต่าง ๆ เหล่านี้ก็อยู่ในใจกลางเมืองไปด้วย ทำให้สถานีเหล่านี้ล้อมจากตัวเมือง ทำให้สถานีเหล่านี้มักอยู่ห่างไกลจากสนามบินหรือศูนย์กลางการขนส่งอื่น ๆ เช่น สถานีรถประจำทาง ส่งผลให้ขาดความสอดคล้องและการเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kellerman, Aharon. "Central railway stations" in Daily Spatial Mobilities: Physical and Virtual, Oxford: Routledge, 2012. pp. 159-161. ISBN 9781409423621
- ↑ 2.0 2.1 Bán, D. The railway station in the social science. The Journal of Transport History, 28, 289-93, 2007.
- ↑ Richards, Jeffrey and John M. MacKenzie, The Railway Station, Oxford: OUP, 1986.
- ↑ Solomon, Brian. Railway Depots, Stations and Terminals, Minneapolis: Voyageur, 2015. p. 152. ISBN 978-0-7603-4890-1.
- ↑ Haywood, Russell. Railways, Urban Development and Town Planning in Britain: 1948-2008, 2009. ISBN 9780754673927.
- ↑ Biddle, 1986, 37.
- ↑ Fawcett, Bill, Railway Architecture, Oxford/New York: Shire, 2015.
- ↑ Jenkins, Simon, Britain's 100 Best Railway Stations, 2017.
- ↑ Bruinsma, Frank, Eric Pels, Hugo Priemus, Piet Rietveld and Bert van Wee. Railway Development: Impacts on Urban Dynamics. Amsterdam: Physika-Verlag, 2008. p.4. ISBN 978-3-7908-1971-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Main train stations