สตีวี เรย์ วอห์น

สตีเฟน "สตีวี" เรย์ วอห์น (อังกฤษ: Stevie Ray Vaughan) (เกิด 3 ตุลาคม 1954 - 27 สิงหาคม 1990) เป็นนักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์เพลง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องและนักกีตาร์ ดนตรีเขานำแนวบลูส์มาผสมกับจังหวะโซโลกีตาร์แบบฮาร์ดร็อกและเอกลักษณ์การแต่งตัวที่ชอบสวมหมวกคาวบอย ถึงแม้ว่าเขาจะโลดแล่นในวงการอาชีพดนตรีเพียง 7 ปี วอห์นก็มักได้รับการสรรเสริญในฐานะหนึ่งในผู้มีที่มีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์ไฟฟ้าในประวัติศาสตร์เพลงบลูส์ และหนึ่งในผู้ฟื้นฟูแนวบลูส์ให้กับมาโดดเด่นอีกครั้งในช่วงยุค 80 ออลมิวสิก (AllMusic) ได้บรรยายเขาว่า "นักกีตาร์ผู้กระตุ้นบลูส์แห่งยุค 80 กับทักษะที่ยังคงสัมผัสได้แม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม"[1]

สตีวี เรย์ วอห์น

วอห์นเกิดและเติบโตในดัลลัส รัฐเท็กซัส เขาได้หัดเล่นกีตาร์ตั้งแต่อายุเพียง 7 ปี ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพี่ชายของเขา จิมมี ในปี 1971 เขาได้ออกจากโรงเรียนมัธยมและย้ายไปอยู่ที่อัสตินในปีต่อมา ที่ซึ่งเขาได้เล่นดนตรีกับอีกหลายๆวง ทั้งร่วมกับวงของมาร์ก เบนโน (Marc Benno), เดอะไนท์คราวเลอรส์ (The Nightcrawlers) และในเวลาต่อมาร่วมกับเดนนี ฟรีแมน (Denny Freeman)ในคอบลัส ซึ่งเขาได้ร่วมงานกันในช่วงปลาย 1977 วอห์นได้ก่อตั้งวงของเขาขึ้นเองในชื่อ ทริปเปิลทรีดรีวิว(Triple Threat Revue) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ดับเบิลทรัพเบิล (Double Trouble) ภายหลังการจ้างมือกลองคริสต์ เลย์ตัน (Chris Layton) และมือเบสทอมมี แซนนอน (Tommy Shannon) เขาเริ่มได้รับชื่อเสียงภายหลังจากการแสดงที่เทศกาลดนตรีแจ๊สมองโทรซ์ (Montreux Jazz Festival) ในปี 1982 และในปี 1983 เขาก็ได้เปิดตัวสตูดิโออัลบั้ม เท็กซัสฟลัด (Texas Flood) ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ทในอันดับที่ 38 10 ซิงเกิลจากอัลบั้มประสบความสำเร็จในทางตลาดนับตั้งแต่เปิดตัวซึ่งสามารถจำหน่ายได้มากกว่าครึ่งล้านก็อปปี้ ในช่วงปลาย 1986 วอห์นได้คิดที่จะจัดทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับเจฟฟ์ เบคในปี 1989 และโจ ค็อกเกอร์ในปี 1990 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกในวันที่ 27 สิงหาคม 1990 ด้วยอายุเพียงแค่ 35 ปี

วอห์น ได้รับแรงบันดาลทางดนตรีมาจากวงบลูส์ร็อกทั้งจากอังกฤษและอเมริกัน ดนตรีของเขามักจะใช้แอมป์ขยายเสียงสูงและนำกระแสสไตล์วินเทจเข้าใช้ในงาน วอห์นมักจะนำแอมป์ที่องค์ประกอบแตกต่างเข้าด้วยกันและใช้คันเหยียบเพื่อเล่นเอฟเฟกต์เล็กๆ คริส กิล (Chris Gill) จากกีตาร์เวิร์ดได้พรรณนาไว้ว่า "โทนกีตาร์ของสตีวี เรย์ วอห์น ใช้เสียงแห้งราวกับช่วงหน้าร้อนในเมืองซานอันโตนิโอและระยิบระยับอย่างสดใสดั่งงานเปิดตัวแฟชันของนางแบบแห่งดัลลัส ผลิตภัณฑ์ของเสียงธรรมชาติแห่งแอมป์ราวกับอยู่บนเฮดรูมที่แสนสะอาด ถึงอย่างไรก็ดีวอห์นใช้คันเหยียบแค่ครั้งคราวเพื่อเสริมแต่งเสียงของเขา โดยหลักเพื่อเร่งให้เด่นชัด บางครั้งเขายังได้ปรับโทนลำโพงและคันเหยียบเพื่อเพิ่มเนื้องาม"[2]

วอห์นได้รับรางวัลทางดนตรีมากมายในช่วงชีวิตของเขาและภายหลังจากนั้น ในปี 1983 ได้มีการทำผลโพลจากกีตาร์เพลเยอร์ (Guitar Player) ได้โหวตให้เขาในฐานะ "ผู้มีพรสวรรค์ใหม่" (Best New Talent) และ "มือกีตาร์ไฟฟ้าเพลงบลูส์ที่ดีที่สุด" (Best Electric Blues Guitar Player) ในปี 1984 มูลนิธิเพลงบลูส์ได้ใส่ชื่อเขาในฐานะ "เอนเตอร์เทนเนอร์แห่งปี" (Entertainer of the Year) และ "นักดนตรีเพลงบลูส์แห่งปี" (Blues Instrumentalist of the Year) และในปี 1987 นิตยสารเพอร์ฟอร์แมนซ์ได้ยกย่องเขาในฐานะผู้เล่น "ริทึมและบลูส์แห่งปี" (Rhythm and Blues Act of the Year) เขายังได้รับ 6 รางวัลแกรมมี และรางวัลดนตรีอัสติน 10 รางวัล เขาได้รับการยกย่องเข้าสู่หอเกียรติยศบลูส์ในปี 2000 และหอเกียรติยศนักดนตรีในปี 2014 นิตยสารโรลลิงสโตนได้จัดอันดับให้เขาอยู่อันดับที่ 12 ในหัวข้อ "นักกีตาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[3] ในปี 2015 เขาก็ได้ถูกบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล[4]

อัลบั้ม แก้

  • Texas Flood (1983)
  • Couldn't Stand the Weather (1984)
  • Soul to Soul (1985)
  • In Step (1989)
  • Family Style (with Jimmie Vaughan) (1990)
  • The Sky Is Crying (1991)

อ้างอิง แก้

  1. "Biography of Stevie Ray Vaughan". Allmusic. สืบค้นเมื่อ March 23, 2014.
  2. Gill 2013a.
  3. "Stevie Ray Vaughan – 100 Greatest Guitarists". Rolling Stone. November 23, 2011. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
  4. "2015 Rock Hall Of Fame Class Includes Lou Reed, Joan Jett, Green Day". NPR.org. 16 December 2014.